svasdssvasds

ราชกิจจาฯ ประกาศลดอัตราจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ม.33 นาน 3 เดือน

ราชกิจจาฯ ประกาศลดอัตราจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ม.33 นาน 3 เดือน

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศลดอัตราจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของรัฐบาล นายจ้าง และ ผู้ประกันตน ม.33 อีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย. - พ.ย.2564 เพื่อช่วยเหลือนายจ้างลูกจ้างฝ่าวิกฤตโควิด-19

วันที่ 27 ก.ย.64  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๖๔  กำหนดการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในอัตราใหม่ ช่วยลดผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๖๔

ข้อ ๓ ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ ออกเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน ตามบัญชีอัตราเงินสมทบ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ดังต่อไปนี้

(๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ก.

(๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชี ข.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔

สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ราชกิจจาฯ ประกาศลดอัตราจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ม.33 นาน 3 เดือน

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน โดยกำหนดให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราที่เหมาะสม เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของนายจ้าง และผู้ประกันตนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสภาพการณ์ ทางสังคมในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงจำเป็นต้องออก กฎกระทรวงนี้

related