กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังพบกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ไม่ต่างจากการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ แต่ยังไม่ใช่นโยบายแนวปฏิบัติหลัก และใช้เฉพาะงานวิจัยในการบูสเตอร์โดสเข็ม 3 เท่านั้น
ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ระบุว่า การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เป็นงานวิจัยของเป็นงานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอ.กับกรมวิทย์ร่วมมือกัน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ภายใต้MOU ที่ทำกับกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งการฉีดวัคซีนโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
1. ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (เช่น วัคซีนบาดทะยัก/วัคซีนตับอักเสบบี หรือวัคซีนพิษสุนัขบ้า)
2. ฉีดวัคซีนใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนหัด วัคซีนหัดเยอรมัน วัคซีนไข้สมองอักเสบ
3. ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า ที่นำมาฉีดวัคซีนเข้สชั้นผิวหนังได้ประโยชน์เท่ากันแต่ประหยัดวัคซีนได้เยอะ วัคซีน BCG ในการป้องกันความรุนแรงวัณโรค ซึ่งการฉีดวิธีนี้มีข้อจำกัดและยากกว่า ต้องมีทักษะและประสบการณ์ถึงจะฉีดวัคซีนได้สำเร็จ
ส่วนการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังจะใช้วัคซีนน้อยกว่า1 ใน 5 เดิมที่ฉีดวัคซีนได้ 1 คนจะสามารถฉีดวัคซีนได้ 5 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• "หมอธีระวัฒน์" แนะฉีด แอสตร้าฯ เข็ม 3 เข้าชั้นผิวหนังยับยั้ง "เดลต้า" ได้
• หมอธีระวัฒน์ แนะฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง จาก 10 ล้านกระจายได้ถึง 50 ล้านโดส
• "หมอธีระวัฒน์" ชี้มีวัคซีนน้อย ฉีดแบบเข้าชั้นผิวหนังเพียงพอทั้งประเทศ
นพ.ศุภกิจระบุว่า เป็นเรื่องของการเสนอ วิธีการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง เป็นวิธีการฉีดสำหรับบูสเตอร์โดส เข็ม 3 ส่วนผลของภูมิ ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำเลือด หรือตัวเซลล์ ได้ผลใกล้เคียงกันกับการฉีดแบบเดิม ขณะที่ภูมิที่สู้กับเชื้อเดลต้า การฉีดเข้าชั้นผิวหนังสามารถจัดการกับเชื้อ เดลต้า ได้ ส่วนผลข้างเคียง การฉีดเข้าทางผิวหนัง จะเกิดอาการเฉพาะที่จุดฉีด มากกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนอาการทั่วไปของร่างกาย น้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ทั้งนี้ หากมีข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัยมากพอว่าการฉีด 2 รูปแบบมีประสิทธิภาพเท่ากันไม่แตกต่างกัน ก็อาจจะนำมาพิจารณา แต่ตอนนี้ยังไม่ใช้เป็นการทั่วไป ในอนาคตหากจะมีการเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมโดยเฉพาะเข็ม 3 ถ้าใช้วิธีการฉีดเข้าผิวหนังก็จะใช้เป็นเพียงหนึ่งในห้าเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องมีความชำนาญในการฉีดวัคซีน เข้าชั้นผิวหนัง เพื่อให้ได้ผลดี
ด้าน ดร.นพ.นวมินทร์ ปิ่นปฐมรัฐ อาจารย์สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และวิศวกรรมชีวการแพทย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายของตนมีอยู่สองชนิด โดยการทดลองเป็นการทดลองการใช้วัคซีน ฉีดที่ทีเซลล์ โดยจากการฉีดวัคซีนใต้ผิวหนังว่ามีภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 52 และภูมิกล้ามเนื้อ มีภูมิเพิ่มขึ้น 55 โดยพบว่าภูมิคุ้มกันของการฉีดททั้ง 2 แบบ มีค่าใกล้เคียงกัน ผลข้างเคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ พบร้อยละ 30 ผลข้างเคียงฉีดไต้ผิวหนังพบร้อยละ 5 ส่วนอาหารปวดบวมแดงร้อนภายหลังการฉีด สามารถหายได้เองใน 7 วัน