svasdssvasds

กรมวิทย์ฯ จับตาใกล้ชิด โควิดสายพันธุ์ C.1.2 กลายพันธุ์สูง

กรมวิทย์ฯ จับตาใกล้ชิด โควิดสายพันธุ์ C.1.2 กลายพันธุ์สูง

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ขณะนี้จับตาโควิดสายพันธุ์ C.1.2 ที่มีการกลายพันธุ์และระบาดที่แอฟริกาใต้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบเชื้อชนิดนี้ในประเทศไทย แต่ก็ได้เฝ้าระวังอย่างเป็นพิเศษ

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังและการกลายพันธุ์ของเชื้อว่า วันนี้สายพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด คือ อัลฟ่า อังกฤษ , เดลต้า อินเดีย และ Beta แอฟริกาใต้สัปดาห์ที่ผ่านมาตรวจประชาชนประมาณ 1,500 คน พบว่า เป็นสายพันธุ์อัลฟ่า 75 คน เดลต้า 1047 คนและ Beta แอฟริกาใต้ 31 คน โดยพบว่าภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า 93 เปอร์เซ็น เป็นเชื้อเดลต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย ถ้าเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เดลต้ากินสัดส่วนไป 98 เปอร์เซ็น , อัลฟ่า 2 เปอร์เซ็น ส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคใต้จะเป็นเชื้อชนิด Beta แอฟริกาใต้ ทำให้สัดส่วนของเดลต้าเหลือ 95 เปอร์เซ็น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

6 เคล็ดลับจ่ายตลาดครั้งเดียว กินได้หลายมื้อ ไม่ต้องออกข้างนอกบ่อย

เช็กเลย! อัพเดต 6 จุดตรวจโควิด-19 ฟรี โดยใช้ ATK ในพื้นที่ กทม.

ตาก พบโค้ช-นักเรียน ร.ร.กีฬา ติดโควิดยกทีม รวม 37 ราย

ทั้งนี้หากดูภาพรวมทั้งประเทศในทุกจังหวัด พบสายพันธุ์เดลต้า ส่วน Beta ที่อยู่ทางภาคใต้ก็ยังอยู่ในวงจำกัด สัปดาห์ที่ผ่านมามีที่จังหวัดนราธิวาส 28 ราย ปัตตานี 2 ราย และยะลา 1 ราย ที่อื่นๆไม่พบเชื้อ โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ มีการตรวจเชื้อกับประชาชนไปแล้วเกือบ 13 ล้านคน โดยวิธี RTPCR ซึ่งอาจจะมีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รายงานเข้าในระบบ ช่วงหลังมีการตรวจเพิ่มมากขึ้นอาจถึง 15 ล้านคน ส่วนสายพันธุ์เริ่มต้นที่อู่ฮั่นเมืองจีนและต่อมาเป็นสายพันธุ์ G ที่เริ่มที่สนามมวย ถัดมาก็สมุทรสาครเป็นสายพันธุ์G อีกประเภทหนึ่ง จากนั้นก็เป็นลูกหลานอัลฟ่าเริ่มที่อังกฤษและกระจายไปทั่วโลก และพฤษภาคมพบสายพันธุ์เดลต้าที่แคมป์คนงาน

นอกจากนี้ในทั่วโลกมีการจัดชั้นในการกลายพันธุ์ของเชื้อ โดยมีการจัดชั้นเป็น VOI ส่วนชั้นที่น่าเป็นห่วงกังวล ยังมีอยู่ 4 ตัว คือ อัลฟ่า Beta แกรมม่า บลาซิลเดิม และเดลต้า ซึ่งแต่ละชนิดการแพร่เชื้อต่างกัน โดยเดลต้าแพร่เชื้อเร็วหลบภูมิวัคซีนบ้างส่วน Beta และ แกรมม่า ค่อนข้างหลบภูมิหลบวัคซีนมากกว่า แต่การแพร่เชื้อไม่สูง ส่วนสายพันธุ์ C.1.2 ยังไม่ถูกจัดชั้นยังไม่มีชื่อที่ WHO กำหนด แต่ก็มีความน่าสนใจ มีการกลายพันธุ์ในบางตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องจับตา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดมากที่แอฟริกาใต้ แต่ไม่ใช่ว่าแอฟริกาใต้มีการแพร่ระบาด 85 เปอร์เซ็น มีอยู่ไม่มากเจอเพียงกว่า 100 ราย มีสายพันธุ์อื่นมากกว่า

ขณะที่ สายพันธุ์ C.1.2 มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งสูงกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ยังไม่ต้องตื่นตระหนกมีเพียง 3 เปอร์เซ็นเท่านั้นในการระบาดที่แอฟริกาใต้ ยังไม่พบในประเทศไทย สายพันธุ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้า ส่วนสายพันธุ์มิว (MU) หรือ(B.1.621) กลายพันธุ์บางตำแหน่ง อาจมีการดื้อวัคซีนหรือไม่ หรือการแพร่เร็วหรือไม่อย่างไร ทั่วโลกยังเจอเชื้อชนิดนี้น้อยมาก ในอเมริกาเจอกว่า 2,000 ตัวอย่าง หรือ 37 เปอร์เซ็น ในโคลัมเบีย 965 ตัวอย่าง หรือ 13 เปอร์เซ็น ในเม็กซิโด 367 ตัวอย่าง หรือ 13 เปอร์เซ็น ในสเปน 512 ตัวอย่าง หรือ 11 เปอร์เซ็น ในเอกวาดอร์ 170 ตัวอย่าง หรือ 6 เปอร์เซ็น ยังไม่มีในเซ้าอีทเอเซีย โดยสถานการณ์ในโคลัมเบียเริ่มเจอเชื้อชนิดนี้มากขึ้น มีผู้ป่วยแล้วเกือบ 5 ล้านคน เสียชีวิต 1.2 แสนคน โดยสายพันธุ์มิวมีผู้ติดเชื้อประมาณ 40 เปอร์เซ็น

นอกจากนี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังกล่าวถึงสายพันธุ์มิว ว่า พบเชื้อชนิดนี้ครั้งแรกในโคลอมเบีย จนระบาดเป็นสายพันธุ์หลัก กลายพันธุ์ใน E484K การกลายพันธุ์ในลักษณะนี้จะดื้อวัคซีน หรือหลบภูมิ ซึ่งจะต้องติดตามต่อไป แต่เบื้องต้นยังไม่มีการรายงานเรื่องอื่นๆ ข้อมูลยังไม่มีการยืนยันว่าแพร่เร็วหรือไม่ ถ้าเทียบกับเชื้อเดลต้ายังไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยรวมยังไม่น่าวิตกหรือเป็นกังวลแต่ยังต่องติดตาม ส่วนในประเทศไทย การเฝ้าระวังสายพันธุ์ มีการปรับกลุ่มเป้าหมายตรวจทั่งประเทศ ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการดักสกัดเชื้อกลายพันธุ์

ขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อตรวจเชื้อเพิ่มขึ้น ในธันวาคมตั้งเป้าจะตรวจให้ได้ 1 หมื่นตัวอย่าง ตามสายพันธุ์และถอดรหัสพันธุกรรม โดยเน้นตรวจที่จังหวัดภูเก็ตมากขึ้น ส่วนเรื่องการฉีดวัคซีนแบบไขว้ ขณะนี้ฉีดไปแล้วเกือบ 2 ล้านโดส ไม่มีใครมีปัญหาหรือผลข้างเคียง ยืนยัน มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น สามารถจัดการกับเชื้อเดลต้าได้

related