กสม. ออกแถลงการณ์ กรณีฉาว "ตำรวจ" ถุงคลุมหัวทรมานผู้ต้องหาดับ รีดเอาเงิน 2 ล้าน ชี้เป็นการกระทำที่โหดร้ายไร้ซึ่งมนุษยธรรม พร้อมเรียกร้องเร่งดำเนินการ 3 ข้อ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ "ตำรวจ" ที่มี "ผู้กำกับโจ้" พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ และลูกน้อง ก่อเหตุลงมือใช้ถุงพลาสติกคลุมหัวผู้ต้องหาจนเสียชีวิต เพื่อรีดเอาเงินจำนวน 2 ล้านบาท
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ต้องหาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอาจได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิต จึงถือว่าขัดต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ตลอดจนไม่สอดคล้องตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• เปิดรายชื่อ 11 นายพล ล่าตัว "ผู้กำกับโจ้" ไร้เงา "ผบช.ภ.6" พ่อแฟน
• หนึ่งในตำรวจทีม "ผู้กำกับโจ้" รับก่อเหตุจริง เพราะถูกสั่ง แต่ไม่ได้รีดเงิน
• ใบเตย พรพจี แฟนสาว ผู้กำกับโจ้ เครียดหนัก ประกาศลาจอไม่มีกำหนด
กสม.มีความเห็นว่ากรณีดังกล่าวเชื่อมโยงให้เห็นถึงปัญหาการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งยังคงปรากฏเป็นเรื่องร้องเรียนมายัง กสม.เป็นระยะ ประกอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์แจ้งในการกระทำความผิด จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการดังนี้
1. เร่งสอบสวนและดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มดังกล่าวด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ตลอดจนจัดให้มีการคุ้มครองพยานที่รัดกุม โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรพิจารณาสั่งการให้มีการติดกล้องวงจรปิดในกระบวนการและสถานที่สอบสวนทุกแห่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน
2. เร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ตามที่ กสม.เคยมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล และล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0503/ว(ล)26227 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2564 เห็นชอบให้บรรจุเรื่องการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องด่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CAT ที่ประเทศไทยเป็นภาคีโดยเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาและบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ อันเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการซ้อมทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายได้อย่างเป็นรูปธรรม
3. ผลักดันให้มีการปฏิรูปองค์กรตำรวจ ทั้งในเชิงโครงสร้าง กระบวนการ และกฎระเบียบ โดยเฉพาะกระบวนการสืบสวนสอบสวนที่จะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยให้อัยการเข้ามากำกับการสอบสวนตั้งแต่ชั้นตำรวจ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักสากลและหลักสิทธิมนุษยชน อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
กสม.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นจะเป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมโดยเฉพาะองค์กร