ศบค. รายงาน กทม. พบคลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้าง โรงงาน ตลาด กลับมาอีกครั้ง เตรียมปรับแผน เข้าไปตรวจเชิงรุกให้มากขึ้น
วันนี้ (23 ส.ค.) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ประจำวันที่ 23 สิงหาคม ว่า ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 33 ของโลกผู้ป่วยรายใหม่วันนี้ 17,491 ราย ติดเชื้อในประเทศ 17,086 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 7 ราย จากเรือนจำที่ต้องขัง 398 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,037,923 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 1,066,786 ราย หายป่วยแล้ว 22,134 รายหายป่วยสะสม 834,344 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 242 ราย เสียชีวิตสะสม 9,468 ราย คิดเป็น 0.91% ผู้ป่วยรักษาอยู่ 195,454 ราย ในโรงพยาบาล 35,058 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 160,396 ราย อาการหนัก 5,290 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,094 ราย ส่วนผลการตรวจแบบ ATK ข้อมูลวันที่ 22 สิงหาคม พบผล Positive ทั่วประเทศอีก 901 ราย เฉลี่ย 7 วันย้อนหลัง 3,423 ราย เฉลี่ย 14 วันย้อนหลัง 2,778 ราย
ผู้รับวัคซีน ฉีดแล้ว 27,038,999 โดส เข็มที่หนึ่งเพิ่มขึ้น 157,857 รายสะสม 20,430,028 ราย เข็มที่สองเพิ่มขึ้น 47,183 ราย สะสม 6,065,003 ราย เข็มที่สามเพิ่มขึ้น 1,780 ราย สะสม 543,968 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
• รพ.หัวเฉียว แจง ปมรับฉีดวัคซีนโควิดไม่อั้น ไม่เป็นความจริง! ยัน วันละ 250 คน
• กรมควบคุมโรค เตือน โควิดแพร่ทางละอองฝอยทางอากาศได้ โดยเฉพาะพื้นที่แออัด
• หมอนิธิพัฒน์ เผย WHO ยอมรับโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ
ผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 242 รายกรุงเทพมหานคร 79 ราย สมุทรปราการ 7 ราย สมุทรสาคร 17 ราย ปทุมธานี 13 ราย นครปฐม 8 ราย นนทบุรี 2 ราย ยะลา 5 ราย ปัตตานี 4 ราย นครศรีธรรมราช 4 ราย สงขลา 3 ราย นราธิวาส 3 ราย พัทลุง 1 ราย สุราษฎร์ธานี 1 ราย ชุมพร 1 ราย อุดรธานี 5 ราย อุบลราชธานี 4 ราย บุรีรัมย์ 4 ราย บึงกาฬ 2 ราย หนองบัวลำภู 2 รายนครราชสีมา 2 ราย กาฬสินธุ์ 1 ราย ชัยภูมิ 1 ราย ตาก 6 ราย เพชรบูรณ์ 5 ราย พิษณุโลก 2 ราย สุโขทัย 1 ราย ชัยนาท 1 ราย นครสวรรค์ 1 ราย น่าน 1 ราย พิจิตร 1 ราย พระนครศรีอยุธยา 15 ราย ชลบุรี 10 ราย สิงห์บุรี 5 ราย สมุทรสงคราม 5 ราย กาญจนบุรี 4 ราย เพชรบุรี 3 ราย อ่างทอง 2 ราย สระบุรี 2 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 2 ราย ปราจีนบุรี 2 ราย ฉะเชิงเทรา 2 ราย จันทบุรี 1 ราย ระยอง 1 ราย ราชบุรี 1 ราย เป็นชาย 134 ราย หญิง 108 ราย ชาวไทย 232 ราย เมียนมา 7 ราย อินเดีย จีน สิงคโปร์ ประเทศละ 1 ราย ค่ากลางอายุ 68 ปี (20-99ปี) อายุ 50 ปีขึ้นไป 162 รายคิดเป็น 67% อายุน้อยกว่า 60 ปีมีโรคเรื้อรัง 64 รายคิดเป็น 26% ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 14 รายคิดเป็น 6% ตั้งครรภ์ 2 รายคิดเป็น 1% จังหวัดนครปฐมและชลบุรี,WCW 1 ราย นักจิตบำบัด กรุงเทพมหานครอายุ 75 ปี สำหรับปัจจัยเสี่ยง-ประเด็นสำคัญ โดยเสียชีวิตที่บ้านระหว่างนำส่ง 7 ราย กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้มาจากกรุงเทพมหานครปริมณฑล 10 ราย ชายแดนใต้ 0, 19 จังหวัดสีแดงเข้ม 5 ราย ส่วนการติดเชื้อในพื้นที่ 227 ราย คนรู้จัก 84 ราย ครอบครัว 28 ราย อาศัย 112 ราย และอาชีพเสี่ยง 3 ราย
สำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ 7 ราย จากประเทศอิสราเอล 1 ราย เดินทางถึงประเทศไทย วันที่ 16 สิงหาคม เพศชายอายุ 5 ปี สัญชาติอิสราเอล อาชีพในปกครอง ผลพบเชื้อไม่มีอาการ เข้าพัก /รพ. ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์/อยู่ระหว่างประสานโรงพยาบาล จากประเทศเมียนมา 3 ราย เดินทางถึงประเทศไทย 20 สิงหาคม ผ่านช่องทางธรรมชาติ เพศหญิง 3 ราย อายุระหว่าง 25-26 ปี สัญชาติไทย ผลพบเชื้อไม่มีอาการ เข้าพัก /รพ. โรงพยาบาล สนามกีฬาท.5 จังหวัดตาก
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยผู้ติดเชื้อในชุมชนรายวันของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่างจังหวัด และภาพรวมประเทศ ระลอกเดือนเมษายน 2564 พบว่า ความชันของกราฟจะลดลง จึงมีการตั้งคำถามว่าเป็นขาลงหรือไม่ โดยกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 7,572 ราย คิดเป็น 44% ต่างจังหวัด( 71 จังหวัด) 9,514 ราย คิดเป็น 56% การคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ จากมาตรการล็อกดาวน์ภาพรวมประเทศ เราร่วมมือกันให้ได้ 25% ในการปฏิบัติตามมาตรการล็อกดาวน์ ต้องขอบคุณประชาชนทุกคนที่ร่วมมือกัน
โดยพบว่าสถานการณ์จริงหรือเส้นกราฟสีส้ม เป็นไปตามกราฟสีเขียว คือผลจากมาตรการล็อกดาวน์ เวิร์คฟอร์มโฮม ปิดสถานที่เสี่ยง ลดค่า R ได้ 25% และฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงได้ตามเป้าหมาย ซึ่งดีกว่าการคาดการณ์ ผลจากกราฟสีน้ำเงิน คือมาตรการ ล็อกดาวน์ เวิร์คฟอร์มโฮม ปิดสถานที่เสี่ยง ลดค่า R ได้ 20% แต่ในส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตต้องการกราฟสีส้ม ความเป็นจริงยังไม่ได้อยู่ในเส้นสีเขียว แต่ไปอยู่เส้นสีน้ำเงิน ความหมายว่าจำนวนผู้เสียชีวิตยังสูงอยู่ ดังนั้นการเข้มข้น ในการล็อกดาวน์ เวิร์คฟอร์มโฮม การปิดสถานที่เสี่ยง การเข้ารับฉีดวัคซีน ต้องเร่งดำเนินการในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้จำนวนผู้เสียชีวิตลงให้ได้
ทั้งนี้ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยรายใหม่ 3,472 ราย จากระบบเฝ้าระวังและจากโรงพยาบาลชาวไทย 2,513 ต่างด้าว 167 ราย ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนชาวไทย 792 ราย ต่างด้าว 0 ราย ในส่วนการสอบสวนโรคผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 106,462 ราย มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงพบเชื้อถึง 18,769 ราย คิดเป็น 17.63% ทั้งนี้ที่ประชุมศปก.ศบค. ได้คำถามเรื่องนี้กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่าการจัดการนำผู้ที่จะป่วยหรือผู้ติดเชื้อออกจากชุมชนเข้ารับการรักษา อีกหนึ่งวิธีจะแก้ไขการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ และทำการตรวจ ATK รวมถึงการป้องกันตนเอง ตัวบุคคลแบบครอบจักรวาล นี้กรุงเทพมหานครยังมีการเสนอแผนภาพคลัสเตอร์ เช่น แคมป์ก่อสร้างคนงาน เพิ่งหายไปช่วงวันที่ 10 เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และตอนนี้กทม. เห็นตัวเลขนี้กลับมาใหม่จึงต้องมีการทำเซมิล็อกดาวน์คนงาน ซึ่งจะต้องเรียนรู้จากบทเรียนที่เคยเจอกันมาก่อนหน้านี้ว่า จะมีวิธีการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดในแคมป์หรือพื้นที่เดิมๆได้อย่างไร เช่นเรื่องตลาด โรงงาน แคมป์ก่อสร้าง ซึ่งเป็นสถานที่วนเวียนที่จะมีการติดเชื้อ และตอนนี้มีที่ทำงานและเข้าไปถึงครอบครัว จึงขอประชาชนร่วมด้วยช่วยกันและกรุงเทพมหานคร ต้องปรับแผนในการเข้าไปตรวจเชิงรุกให้มากขึ้น