กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เผยงานวิจัย การฉีดวัคซีนกันโควิด-19 สลับชนิดคือ วัคซีนซิโนแวค เข็ม 1 กับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 2 พบภูมิคุ้มกันขึ้นสูง สามารถสู้กับโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ดี
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึง ภูมิคุ้มกันเมื่อฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อว่า เป็นข้อมูลงานวิจัยจากรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนซโนแวค 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์
จากนั้น มีวัคซีนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข้ามา ก็มีการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มแต่ต้องฉีดห่างกัน 10-12 สัปดาห์
โดยในงานวิจัยนี้ได้ทดลองวัดภูมิคุ้มกัน จากอาสาสมัคร 125 ราย แบ่งเป็น ชาย 61 หญิง 64 อายุเฉลี่ย 18-60 ปี ซึ่งการวัดภูมิคุ้มกันภาพรวมในครั้งนี้ไม่ได้แยกเป็นสายพันธุ์ แต่ดูว่าภูมิที่เกิดขึ้นในร่างกายจากการฉีดวัคซีนจะมีภูมิขึ้นมาแค่ไหน ซึ่งการวัดภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเป็นวัดจากแล็ปของกรมวิทยาศาสตร์ทางกานแพทย์ ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับแล็ปที่อื่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จากงานวิจัย พบว่า ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม มีภูมิคุ้มกันขึ้นมา 117 แต่พอมีการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม พบว่า มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นมา 207 แต่พอมีการฉีดวัคซีนสลับชนิด เป็น วัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม กับ วัคซีนแอสตร้าฯ 1 เข็ม พบภูมิคุ้มกันสูงถึง 716 ซึ่งการฉีดวัคซีนสลับชนิดมีภูมิคุ้มกันสูงกว่าการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มถึง เกือบ 7 เท่า และ การฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ 2 เข็ม 3 เท่า
หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม บู้เตอร์โดสเข็ม 3 เป็นวัคซีนแอสตร้าฯ พบ มีภูมิสูงขึ้นมาก เฉลี่ย 1,700 จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ภูมิที่ขึ้นสามารถจะป้องกันเชื้อโควิด ที่กำลังกลายพันธ์ได้ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลการบู้เตอร์โดสเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ แต่ในอนาคตจะมีการประเมินต่อไป
ส่วน ผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนสลับชนิดที่เป็นวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มและบู้เตอร์โดสด้วยวัคซีนแอสตร้าฯ ซึ่งจะมีผลข้างเคียงเหมือนการฉีดวัคซีนแอสตร้า คือ มีไข้ ปวดศรีษะ อ่อนเพลียไม่มีแรง ง่วงซึม และปวดบริเวณที่ฉีดจะเห็นได้ว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดไม่อาการรุนแรง และยืนยันว่าการฉีดวัคซีนสลับชนิด ซิโนแวคกับแอสตราเซเนกา มีความปลอดภัยแน่นอน
นพ.ศุภกิจ ระบุอีกว่า กาาฉีดแอสตราเซนเนกา 2 เข็ม จัดการโควิดสายพันธุ์ เดลตาได้ 76% ฉีดซิโนแวค แล้วตามด้วย แอสตราเซนเนกาในระยะห่างกัน เวลา 3 สัปดาห์ และหลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันถึงจะเพิ่มสูงขึ้น ภูมิภาพรวมขึ้นสูงกว่า ฉีดแอสตราเซเนกา 2 เข็ม เล็กน้อย หรือได้ผลใกล้เคียงกัน
ส่วนเรื่องการบูสฉีดวัคซีน เข็ม 3 หากฉีดด้วยวัคซีนซิโนฟาร์ม ภูมิคุ้มกัน ขึ้นมาเป็น 61 แต่ก็ยังสูงกว่าฉีด วัคซีนซิโนแวค 2.5 เท่า แต่ฉีดวัคซีน ซิโนแวค 2 เข็มแล้วบูสเข็ม 3 ด้วยแอสตราเซเนกา ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นไปถึง 271
นพ.ศุภกิจ ไม่แนะนำ ให้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาแล้ว ไปฉีดวัคซีนซิโนแวค เป็นเข็ม 2 เพราะผลลัพธ์ มันไม่ได้อะไร มันเหมือนกับการฉีด วัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแต่ขอยืนยันว่า จากผลการทดลอง การฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแล้ว บู้เตอร์โดสเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกา สามารถต่อสู้กับโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ได้ดี
ทั้งนี้กรมวิทย์ฯ กำลังเร่งศึกษาการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง โดยใช้วัคซีนเพียง 25% สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้พอๆ กับการฉีดเข้ากล้าม ที่ต้องใช้วัคซีน 100% หากผลการวิจัยมีผลสำเร็จ จะมีโอกาสเพิ่มจำนวนคนที่จะได้รับวัคซีนได้มากขึ้น 4-5 เท่า