การเข้าซื้อเคเอฟซี ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ สะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ของบริษัทที่รุกคืบเข้าสู่ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มประเภทที่มีอัลกอฮอล์ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง
การเข้าซื้อเคเอฟซี ของบริษัท ไทย เบฟเวอเรจ สะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ของบริษัทที่รุกคืบเข้าสู่ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มประเภทที่มีอัลกอฮอล์ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง
การเข้าซื้อ ร้านอาหารฟาสด์ฟู้ดชื่อดังอย่าง “เคเอฟซี” ของบริษัมยัม เรสเตอร์รองต์ โดยบริษัท “ไทย เบฟเวอเรจ” หรือ ไทยเบฟ มูลค่ามากกว่าหมื่นล้านบาทนั้น นอกเหนือจากที่จะสร้างความฮือฮาให้กับแวดวงธุรกิจแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจอาหารอย่างต่อเนื่องของไทยเบฟ
จากรายงานงบการเงินประจำปี 2559 ของไทยเบฟ ที่รายงานต่อตลาดหุ้นสิงคโปร์ จะเห็นได้ว่า ไทยเบฟ ได้เข้าครอบครองกิจการอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าครอบครองบริษัท เอฟ แอนด์ เอ็นในสิงคโปร์, บริษัทเสริมสุข หรือ จะเป็นโออิชิ ในประเทศไทย
และเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจเครื่องดื่มประเภทเบียร์ ซึ่งติดลมบนอยู่แล้วนั้น จะพบว่า ยังมีช่องทางที่บริษัทจะขยายอาณาจักรสู่ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ได้อีกมาก
สำหรับธุรกิจเบียร์นั้น จากรายงานของไทยเบฟ จะเห็นว่า สามารถทำผลกำไรในส่วนนี้รวมอยู่ที่ 9,425 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 78.1% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าทีเดียว ขณะที่ธุรกิจสุรา นั้นเริ่มอิ่มตัว มีผลกำไรรวมอยู่ที่ 23,395 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 0.02% เท่านั้น
ขณะที่ธุรกิจอาหาร กำไรรวมอยู่ที่ 2,098 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142 ล้านบาท หรือ 7.3% ส่วนธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่ใช่เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ รายได้จากการขายทั้งหมดอยู่ที่ 4,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,213 ล้านบาท หรือคิ ดเป็น 34.8%
โดยแบ่งเป็น ยอดขายน้ำดื่มเพิ่มขึ้น 89.3 ล้านลิตร หรือ 13.0% ส่วนเครื่องดื่มซอฟต์ดริงค์ เพิ่มขึ้น 18.1 ล้านลิตร หรือ 10% เครื่องดื่มชาพร้อมดื่ม เพิ่มขึ้น 14.5 ล้านลิตร หรือ 7.6% และเครื่องดื่มจับใจ อยู่ที่ 6.4 ล้านลิตร หรือ 17.8%
และ เมื่อเทียบสัดส่วนของผลกำไรจะพบว่า ธุรกิจเบียร์ทำกำไรเพิ่มได้มากที่สุด ตามมาด้วย ธุรกิจเครื่องอื่มนอน-แอลกอฮอร์ ธุรกิจอาหาร และ ธุรกิจสุรา
จึงไม่แปลกนัก ที่ไทยเบฟ จะขยายกิจการในด้านธุรกิจอาหาร และเครื่องประเภทที่ไม่ใช่เครื่องอดื่ม แอลกอฮอล์อย่างเต็มสูบอย่างต่อเนื่อง เพื่อเติมเติมให้กับวิสัยทัศน์ 2020 ของบริษัทที่จะมุ่งหน้าสู่การเป็นบริษัทเครื่องดื่ม และอาหารที่ทำกำไรมากที่สุดของอาเซียน
โดยการเข้าซื้อกิจการ หรือเข้าครอบครองธุรกิจ ก็ถือว่าเป็นช่องทางที่ง่าย และสะดวกที่สุด โดยที่บริษัทไม่ต้องแบกรับกับความเสี่ยงมากนัก อีกทั้งยังไม่ต้องเผชิญหน้ากับค่าใช้จ่ายในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆอีกด้วย
ดังนั้น การเข้าซื้อ “เคเอฟซี” จึงสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของยุทธศาสตร์การขยายอาณาจักรสู่ธุรกิจเครื่องดื่ม และอาหารได้อย่างชัดเจนที่สุดของไทยเบฟ และเชื่อว่า ในอนาคต เราก็ยังจะเห็นความเคลื่อนไหวในลักษณะจากไทยเบฟ อีกนับครั้งไม่ถ้วน
[embed]https://youtu.be/hitSvcnkt28[/embed]