svasdssvasds

"หมออุดม" รับ ระบบสาธารณสุขสู้ไม่ไหว แจงวัคซีนตัวไหน รับมือสายพันธุ์ได้ดี

"หมออุดม" รับ ระบบสาธารณสุขสู้ไม่ไหว แจงวัคซีนตัวไหน รับมือสายพันธุ์ได้ดี

"หมออุดม" แนะทุกคนต้องช่วยกัน โดยต้องเน้นทำ 2 อย่างให้เข้มข้นขึ้น คือปฏิบัติตามมาตรการทางสังคม และต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 70% ของประชากรทั้งหมด พร้อมมแจงวัคซีนตัวไหน รับมือสายพันธุ์ได้ดี

 นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยอมรับว่า การแพร่ระบาดในปัจจุบันนี้จากความเห็นส่วนตัวถือได้ว่าเป็นการระบาดในระลอกที่ 4 เพราะเป็นไวรัสสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) ทำให้เกิดการแพร่ระบาดในครอบครัวหรือชุมชมที่หาสาเหตุที่มาไม่ได้ ส่งผลให้ตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมาก

 “มีคนถามว่าจะจบเมื่อไร ตอนนี้เรายกระดับมาตรการไปแล้ว ซึ่งต้องทำ แต่ยังไม่ยกระดับมาตรการสูงสุด เราเรียกแค่เซมิล็อกดาวน์ แต่กว่าจะเห็นผลอย่างน้อย 14 วัน เพราะฉะนั้นหลัง 14 วันเราจะประเมินอีกทีว่าเป็นอย่างไร ถ้าหากจะบอกว่าอย่าให้เกินกำลังบุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งเตียง ทั้งยา เราต้องการจะเห็นตัวเลขไม่เกินวันละ 500-1,000 คน อย่างน้อยเราสู้ไหว แต่ตอนนี้บอกตรงๆ สู้ไม่ไหว” นพ.อุดม กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ศบค. เตรียมฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน 

• สธ. ปรับ 4 มาตรการควบคุมโควิด จัดวัคซีนบูสเตอร์โดสให้บุคลากรการแพทย์

• "หมอบุญ" จวก สธ. ปม "วัคซีนโมเดอร์นา" เตือนนักการเมืองก่อนพูดอะไรคิดให้ดีๆ

 นพ.อุดม ระบุว่า ทุกคนต้องช่วยกัน โดยต้องเน้นทำ 2 อย่างให้เข้มข้นขึ้น คือปฏิบัติตามมาตรการทางสังคม และต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 70% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหา

 สำหรับมาตรการที่ใช้ขณะนี้เพียงพอหรือไม่นั้น นพ.อุดม เชื่อว่า ตัวเลขการติดเชื้อหลังจากนี้อาจจะลดลงบ้าง แต่ยังอยู่ในระดับสูง เช่น ถ้าตัวเลขลดลงมาระดับ 3,000-4,000 คน ก็ยังถือว่าสูงเกินกว่าที่ระบบสาธารณสุขจะรองรับได้

ทั้งนี้ นพ.อุดม ยังเผยว่าวัคซีนตัวที่เป็นภูมิต้านทานที่ดีที่สุด ยอมรับว่าเป็น วัคซีนmRNA ไฟเซอร์และโมเดอร์นา จะมีภูมิคุ้มกันขึ้นเป็นระดับ 1000-2000 ขึ้นไปถึง 10,000 รองลงมาจะเป็นแอสตร้าเซนเนก้าจะเป็นหลักพันต้นๆ ซิโนแวคก็จะเป็นหลักร้อยปลายๆ 

 จะเห็นได้ว่า ถ้าเราดูความสามารถในการสร้างภูมิต้านทาน ก็ต้องยอมรับว่า mRNA ดีที่สุด รองลงมาเป็นแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวค ถ้าเรามองถึงการป้องกันโรค ไฟเซอร์จะป้องกันสายพันธ์ุเดลต้าลดลงจาก 93% เหลือ 88% แอสตร้าเซนเนก้าป้องกันสายพันธ์เดลต้า จาก 66% เหลือ 60%  

 แต่ที่สำคัญคือจะป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง ไฟเซอร์ได้ถึง 96% แอสตร้าเซนเนก้าได้ 92% แม้การป้องกันเชื้อลดลงแต่การป้องกันการเสียชีวิตได้ผลสูงมาก ส่วนซิโนแวคข้อมูลน้อย แต่ถ้าเทียบกับภูมิต้านทาน คิดว่าคงป้องกันสายพันธ์เดลต้าไม่ดีแน่ แต่ ซิโนแวค2เข็มจะป้องกันลดอัตราการเจ็บป่วยเมื่อเข้าโรงบาลได้มากกว่า 90%

ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า วัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีน มันไม่มีทางป้องกันได้ 100% แต่ละวัคซีนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป แต่ที่สำคัญแม้จะไม่สามารถป้องกันได้หรือประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตที่ต้องเข้าโรงพยาบาลสูงมากเกิน 90% แม้เป็นซิโนแวค ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่อยากจะย้ำ

related