บริษัทยาสัญชาติจีน ซิโนแวค ไบโอเทค ผู้ผลิตวัคซีนโควิด19 ถูกวอชิงตันโพสต์แฉตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ว่า เป็นวัคซีนมีปัญหา "ติดสินบน" เจ้าพนักงานเพื่อให้ผ่าน
รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียส่วนตัว กรณี บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ผู้ผลิตวัคซีนโควิด19 หนึ่งในวัคซีนที่ไทยใช้อยู่นั้น ติดสินบนเจ้าพนักงาน
เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่า เว็บไซต์วอชิงตันโพสต์ รายงานตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 2563 ระบุว่า ซิโนแวค ไบโอเทค ผู้ผลิตวัคซีนโรคซาร์สที่เริ่มทดลองรายแรกในปี 2546 และบริษัทแรกที่นำวัคซีนป้องกันไข้หวัดหมูออกจำหน่ายในปี 2552 มีบันทึกของศาลระบุเอาไว้ว่า ซีอีโอซิโนแวคได้ติดสินบนคณะกรรมการกำกับดูแลยา (อย.) ของจีน เพื่อให้วัคซีนผ่านการอนุมัติ และไม่เปิดเผยข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน
ข่าวนี้ถูกรายงานขึ้น ในช่วงที่ซิโนแวคกำลังประสานจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด19 ให้กับประเทศกำลังพัฒนา อาทิ บราซิล ตุรกี อินโดนีเซีย และ ฯลฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
อ.จุฬาฯ งง ทำไม รัฐบาลไทยซื้อซิโนแวคเพิ่ม ทั้งที่แพงกว่าแอสตร้าเซเนก้า
เทียบให้เข้าใจง่ายๆ วัคซีนซิโนแวค VS ซิโนฟาร์ม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
นอกจากนี้ ยังรายงานว่า อุตสาหกรรมยาจากประเทศจีนมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสและการทุจริตมานานแล้ว ทำให้ขาดความเชื่อถือยาจากประเทศจีน
ซิโนแวคเองยอมรับว่า ซีอีโอมีการติดสินบนจริงตามเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับดูแลระบุว่า เขาให้ความร่วมมือกับอัยการและไม่ถูกดำเนินคดี โดยซีอีโอให้การต่อศาลว่า เจ้าหน้าที่ อย. รายหนึ่งเรียกร้องเงินมาซึ่งเขาปฏิเสธไม่ได้
รายงานข่าวระบุว่า ซิโนแวคไม่เคยมีปัญหายาไม่ปลอดภัย และไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนที่ติดสินบนนั้นมีข้อบกพร่อง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จำนวนหนึ่งกล่าวว่า การต้องจับตาซิโนแวคเป็นพิเศษนั้นชอบธรรมแล้ว เนื่องจากบริษัทมีประวัติจริยธรรมย่อหย่อน