svasdssvasds

ดราม่าเสาไฟกินรี สะท้อนประเด็น จำเป็นแค่ไหนกับเสาไฟต้นเหยียบแสน...

ดราม่าเสาไฟกินรี สะท้อนประเด็น จำเป็นแค่ไหนกับเสาไฟต้นเหยียบแสน...

ดราม่าเสาไฟกินรี ติดถี่? ติดในซอยที่คนใช้น้อย ? ทุกมิติ ที่มาที่ไป และของเรื่องนี้ รวมถึงการแฉกรณีคล้ายๆกัน ทั้งเสาไฟต้นละเกือบ 2 แสน , เสาไฟรูปเครื่องบิน ทุกอย่างมัดรวมอยู่ใน #สรุปให้จากเสาไฟกินรี สู่การตั้งคำถามคุ้มค่าแค่ไหน ถามใจเธอดู...

•เมื่อมีการจุดประเด็น เสาไฟกินรี ที่พบเห็นเป็นจำนวนมากในพื้นที่ อบต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมกับตั้งคำถามถึงงบประมาณในการมาใช้นั้นเหมาะสมหรือไม่  

•เรื่องนี้ นายทรงชัย นกขมิ้น นายก อบต.ราชาเทวะ ชี้แจง ว่า การติดตั้งเสาไฟกินรี มีการติดตั้งจำนวน 6,773 ต้น ด้วยงบประมาณ 461 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการของงบประมาณปี 62-64  และทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่เคยประชาคมกับชาวบ้านมาแล้ว 

• โดย นายก อบต.ราชาเทวะ อธิบายว่า เสาไฟกินรีใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ลงทุนครั้งเดียวต้นละไม่เกิน 94,844 บาท ทั้งนี้ ยังยืนยันทำตามระเบียบทุกขั้นตอน  และจำเป็นต้องทำให้สวย รองรับการท่องเที่ยว จึงมองว่าเรื่องนี้มีคนพยายามดิสเครดิต ทำให้เป็นประเด็นการเมืองขึ้นมา 

• สำหรับในสัญญาการทำ เสาไฟกินรี ระบุว่า ตัวเสา ความสูงประมาณ 6 เมตร ผลิตจากสแตนเลสสีทองเงาวาว ความกว้าง 1.4 เมตร ปั้มลวดลายกลีบบัวรอบเสา กินรี ผลิตจากอลูมิเนียมปั๊มขึ้นรูป พร้อมทำสี ความสูง 1.2 เมตร  บัวรองประติมากรรมความสูง 0.5 เมตร โคมไฟ ตกแต่งลวดลายกลีบฟักทอง บรรจุดหลอดไฟ 30 วัตต์ ส่วนแผงโซล่าเซลล์ จำนวน 2 แผ่น รวม 200 วัตต์ ตามมาตรฐาน ISO ราคารวมต่อหนึ่งต้น 95,000 บาท

• อย่างไรก็ตาม หากเปรียบราคาขายของวัสดุในท้องตลาดส่วนใหญ่ ทั้งร้านค้าปลีก เสาไฟสแตนเลสขนาด 6 เมตร ที่ใช้กันทั่วไป มีราคาตั้งแต่ 7,000 แต่ไม่เกิน 2,000 บาท, แผงไฟ 200 วัตต์ อยู่ระหว่าง 1,000-3,000 บาท ราคารวมทั้งเสาและไฟอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 20,000 หมื่น 30,000 บาท

pole electrical2

•  อย่างไรก็ตาม ราคานี้ยังไม่ได้รวมถึงการทำสี ขึ้นลวดลาย หรือประติมากรรมรูปกินรี และด้วยลักษณะรูปแบบเฉพาะของเสาไฟและวัสดุที่ใช้ จึงถูกมองว่า การจัดซื้อจัดจ้างอาจมีการล็อคสเปค เพื่อเอื้อให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งหรือไม่ ?

•  หลังจากนั้น ตำรวจกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ บก.ปปป. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบบางจุดตั้งเสาถี่ ไม่สอดคล้องกับที่ชี้แจง แต่ขอเวลาตรวจสอบเพิ่มก่อนส่งต่อ ปปช.พิจารณา

pole electrical1

• โดย พ.ต.อ.พยงค์ เอี่ยมสกุล ผู้กำกับการ3 บก.ปปป. เดินทางไปยังอบต.ราชาเทวะ เพื่อเข้าขอข้อมูล และเอกสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดสร้างเสาไฟกินรี แผงโซลาร์เซลล์ ที่หลายคนตั้งข้อสงสัย ต่อนายทรงชัย นกขมิ้น นายก อบต. และลงพื้นที่ตรวจสอบ  โดยเบื้องต้นพบบางจุดตั้งเสาถี่ ไม่สอดคล้องกับที่ชี้แจง โดย เสาไฟแต่ละต้นมีระยะห่างไม่เท่ากันตั้งแต่ 10 - 14 เมตร จึงทำให้ข้อมูลไม่ตรงกับทางอบต.ราชาเทวะ ที่ระบุว่าเสาไฟแต่ละต้นห่างกัน 20 - 25 เมตร 

•  นั่นหมายความว่า ในระยะทาง 1 กิโลเมตร หากติดเสาไฟกินรี  ในระยะที่สั้นที่สุดตามสัญญาคือ 20 เมตร จะติดตั้งได้ทั้งสิ้น 50 ต้น...แต่หากเอาจากการ วัดระยะห่างจริงในสถานที่จริง ระยะที่สั้นที่สุดห่างกัน 10 เมตร นั่นหมายความว่า จะติดตั้งเสาไฟกินรีได้มากที่สุดคือ 100 ต้นเลยทีเดียว 

•  โดย หลังจากนี้ จะนำเอกสารทั้งหมดมาตรวจสอบ ว่าการจัดสร้างเป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ และคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งถ้าหากพบว่าไม่สอดคล้อง ก็จะส่งเรื่องให้ ปปช. พิจารณาต่อไป  

•  และจากประเด็น เสาไฟกินรีที่ราชาเทวะ ทำให้มีการเปิดเผยข้อมูลในโซเชียลเน็ตเวิร์กในเรื่องทำนองนี้อีก อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง​ จัดโครงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างแบบพลังงานแสง อาทิตย์​  ชื่อโครงการ​ :โครงการจ้างโครงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6  งบประมาณ :494,000 บาท แต่ติดตั้งเพียง 2 ต้น สรุปแล้วต้นละเกือบ 250,000 บาท ซึ่งแพงกว่าเสาไฟกินรีที่สมุทรปราการอีก 
 

pole electrical3

• ด้าน ชลบุรี ก็มีกรณีคล้ายๆกัน โดยมีการเปิดเผยโครงการ ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ หมู่ที่ 1​ ตำบลหนองปรือ งบประมาณ  2,485,000 บาท แต่เป็นเฉพาะการติดตั้ง เสาไฟรูปเครื่องบิน​ 18​ ต้น​ ราคา​ 1,922,400 บาท เฉลี่ยแล้วต้นละราวๆ 107,000 บาท

•  ขณะที่ จังหวัด อ่างทอง ส่อแววมีเรื่องทำนองคล้ายกัน โดยมีการเปิดเผยข้อมูล โครงการ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งหมด 19 โครงการ ระหว่างปีงบประมาณ 2562-2563  และมีคู่สัญญาเดียว และเป็นเจ้าเดิมทั้งหมด  มีการติดตั้งไปทั้งหมด 1,707 ต้น รวม 143,240,300 บาท เฉลี่ยเสาไฟต้นละเกือบ 84,000 บาท

• ขณะที่ ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้หอบหลักฐานมาร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้สอบสวน เพราะมองว่า ดราม่าเสาไฟกินรีอาจส่อไปในทางทุจริตและไม่มีความคุ้มค่าต่อการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน เนื่องจากบางส่วนมีการติดตั้งในซอยที่เป็นป่าหญ้ารกทึบ มีระยะเสาแต่ละต้นถี่เกินไป และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย

•  ด้าน พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระชื่อดังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความคิดเห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมลงภาพเสาไฟฟ้ารูปประติมากรรมกินรี แต่ถนนกับยังเสียหาย  โดยระบุว่า "เราจะต้องการเสาไฟที่วิจิตรพิศดารไปเพื่ออะไร ในเมื่อถนนหน้าบ้านยังมีสภาพแบบนี้อยู่ #เสียดายเงินงบประมาณ"

•  สำหรับเรื่องประเด็นความคุ้มค่าหรือไม่ อาจจะเป็นประเด็นนามธรรมที่วัดเป็นดัชนีชี้แน่นอนไม่ได้...และคำตอบว่าคุ้มค่าหรือไม่นั้น...ทุกคนย่อมมีคำตอบเป็นของตัวเอง.

pole electrical4

pole electrical6