svasdssvasds

ธอส.ยกระดับบริการดิจิทัล เพิ่ม 6 บริการใหม่บน แอพพลิเคชั่น

ธอส.ยกระดับบริการดิจิทัล เพิ่ม 6 บริการใหม่บน แอพพลิเคชั่น

ธอส.ยกระดับบริการดิจิทัล เปิดตัวโครงการ G H Bank New Normal Services เพิ่ม 6 บริการใหม่บน แอพพลิเคชั่น พร้อมประกาศขยายระยะเวลาช่วยลูกค้าที่กระทบโควิด-19

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในโอกาสครบรอบ 67 ปีของการดำเนินงานในวันที่ 24 กันยายน 2563 ธอส. สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” ที่สร้างโอกาสให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง  มาแล้วมากกว่า 3.7 ล้านครอบครัวจึงได้ประกาศยกระดับการให้บริการ ดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าประชาชนได้รับความสะดวกสบาย ในการเข้าถึง ผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่าง ๆ ของธนาคารในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และรวดเร็ว สอดคล้องกับวิถีชีวิตปกติใหม่ของสังคมไทยในปัจจุบัน ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

คณะกรรมการธนาคารที่นำโดย นายปริญญา พัฒนภักดี ประธานกรรมการธนาคาร จึงได้มีนโยบายให้ ธอส. จัดทำโครงการ “G H Bank New Normal Services” (Phase 1) ด้วยการพัฒนาฟังก์ชั่นบริการเพิ่มเติมทั้งทางด้านการเงินและ สินเชื่อเพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมของ ธอส. ได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลด้วย Mobile Application : GHB ALL ที่ลูกค้าของธนาคารหันมาใช้บริการผ่านช่องทางนี้มากขึ้นเห็นได้จาก ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 ธนาคารมีจำนวนลูกค้าที่สมัครใช้บริการ Application : GHB ALL และยังใช้งานอยู่จำนวน 710,318 บัญชี เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2562 ที่มีจำนวนลูกค้าใช้งาน 242,180 บัญชี และปัจจุบันลูกค้ามีการทำธุรกรรมการโอนเงินและชำระหนี้เงินกู้ผ่าน GHB ALL จำนวน 590,769 รายการ เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2562 ที่มีการทำธุรกรรมจำนวน 375,981 รายการ หรือเพิ่มขึ้นถึง 57.13%  สำหรับฟังก์ชั่นบริการเพิ่มเติมใน Phase 1 ที่เริ่มให้บริการได้แล้ว ประกอบด้วย  

ธอส.ยกระดับบริการดิจิทัล เพิ่ม 6 บริการใหม่บน แอพพลิเคชั่น

1.ซื้อสลากออมทรัพย์ ธอส. ให้บริการได้ทั้งการซื้อสลากครั้งแรกหลังเปิดบัญชีสลากที่สาขา หรือลูกค้าเดิมที่ต้องการซื้อเพิ่มเติม โดยหลังจากเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 มีลูกค้าซื้อสลากออมทรัพย์ ธอส. ชุดพิมานมาศ หน่วยละ 50,000 บาท ผ่าน GHB ALL จำนวนกว่า 5,500 หน่วย ล่าสุด ธอส. ได้จัดทำโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อสลากผ่าน Application : GHB ALL ในวันที่ 24 กันยายน 2563 รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1.1% ต่อปี (จากปกติอัตราดอกเบี้ย 0.90% ต่อปี) ภายใต้กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท และการเปิดรับซื้อสลาก ธอส. ชุดต่อไปจะเปิดให้ลูกค้าซื้อผ่าน GHB ALL ต่อไป 

2.ขอ Statement บัญชีเงินฝาก สำหรับลูกค้าที่ต้องการนำข้อมูลบัญชีประเภทออมทรัพย์ไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาในการอนุมัติธุรกรรมต่าง ๆ ตามที่ต้องการ โดยภายหลังจากกรอกข้อมูลครบถ้วนตามที่ธนาคารกำหนดแล้ว ระบบจะส่ง Statement บัญชีเงินฝากตามที่ระบุไปที่ E-mail ของลูกค้า

3.จองคิวใช้บริการล่วงหน้า เพื่อเลือกสาขาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องการใช้บริการ ซึ่งระบบจะแสดง รายชื่อสาขาที่เรียงลำดับจากระยะทางที่ใกล้กับจุดที่ลูกค้าอยู่มากที่สุด โดยสามารถเลือกบริการประเภทที่ต้องการพร้อมระบุวันและเวลาที่ต้องการนัดหมาย และหลังจากกดยืนยันแล้วจะสามารถไปรอรับบริการ ที่สาขาในวันเวลาที่นัดหมายได้ทันที 

4.ใบเสร็จชำระเงินกู้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนรูปแบบเดิมที่เป็น กระดาษและจัดส่งทางไปรษณีย์ สำหรับลูกค้าที่ชำระเงินงวดผ่านการหักบัญชีอัตโนมัติ หรือผ่านช่องทางตัวแทน และลูกค้าสวัสดิการที่ชำระโดย หน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งจะมีข้อมูลสำคัญเช่นเดียวกับใบเสร็จแบบกระดาษ อาทิ ยอดที่ชำระเงินต้น ดอกเบี้ย และเงินต้นคงเหลือ 5.ชำระเงินดาวน์ทรัพย์ NPA เพียงเลือกบัญชีที่ต้องการชำระ พร้อมด้วยรหัสทรัพย์ NPA เมื่อตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย และกดยืนยันแล้ว ธนาคารจะดำเนินการส่งใบเสร็จเพื่อเป็นหลักฐาน ยืนยันการชำระให้กับลูกค้าต่อไป และ 6.แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งเอกสาร/การติดต่อกับธนาคารโดยไม่ต้อง เดินทางไปแจ้งที่สาขา เพื่อไม่ให้พลาดการติดต่อหรือรับข้อมูลสำคัญ จากธนาคาร โดยลูกค้ายังสามารถเลือกเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์ และ E-Mail ซึ่งเป็นช่องทางการติดต่อที่สะดวกรวดเร็วในปัจจุบันได้อีกด้วย

การพัฒนาโครงการ G H Bank New Normal Services สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ ธอส. ที่จะพัฒนาบริการดิจิทัลใหม่ ๆ สำหรับลูกค้าที่เข้ากับกับไลฟ์สไตล์ยุค New Normal ให้ได้มากที่สุด และหลังจากนี้ธนาคารจะยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการเพิ่มเติมใน Phase 2 อาทิ เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ขอหนังสือรับรองภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ขอหนังสือรับรองภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ แจ้งความประสงค์กู้เพิ่ม ตรวจสอบข้อมูลเครดิต รับเงินของขวัญปีใหม่ของธนาคาร (Cash Back) แจ้งขอหนังสือรับรองเพื่อเบิกค่าเช่าบ้านหรือขอหนังสือรับรองตามยอดที่เบิกได้และนัดวันรับโฉนด เป็นต้น ซึ่งจะเริ่มให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ธอส. ตั้งเป้าหมายว่าในสิ้นปี 2563 จะมีจำนวนลูกค้าที่ทำ ธุรกรรมการโอนเงินและชำระหนี้เงินกู้ผ่าน GHB ALL เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 756,300 รายการ หรือเพิ่มขึ้น 100% เมื่อเทียบกับธุรกรรม ณ สิ้นปี 2562” นายฉัตรชัยกล่าว

นายฉัตรชัย ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการบรรเทาผลกระทบให้แก่ลูกค้า ของธนาคารจากปัญหาโควิด-19 ว่า หลังจากที่ ธอส. ได้ให้ความ ช่วยเหลือแก่ลูกค้าครอบคลุมทั้งการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย, พักชำระเงินต้น หรือ ลดอัตราดอกเบี้ย ผ่าน 10 มาตรการของธนาคาร โดยมีลูกค้าเข้ามาตรการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 511,110 บัญชี วงเงินสินเชื่อ 430,439 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกค้ากลุ่มที่เข้ามาตรการที่ 5 พักชำระเงินต้น และ ดอกเบี้ย 4 เดือน จำนวน 236,531บัญชี วงเงินสินเชื่อ 179,843 ล้านบาท ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ได้ทยอยครบกำหนดระยะเวลาการใช้มาตรการที่ 5 แล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2563 โดยสามารถกลับมาผ่อน ชำระได้ตามปกติจำนวน 91,796 บัญชี เงินต้นประมาณ 65,000 ล้านบาท ขณะที่ลูกค้าในมาตรการที่ 5 ที่ยังคงได้รับผลกระทบธนาคาร ได้ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในระยะที่ 2 ผ่านมาตรการที่ 8.5 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยถึง 31 ตุลาคม 2563 โดยล่าสุด ณ วันที่ 22 กันยายน 2563 มีลูกค้าอยู่ในมาตรการที่ 8.5 จำนวน 39,546 บัญชี วงเงินต้นสินเชื่อประมาณ 27,000 ล้านบาท ส่วนลูกค้าที่เคยเข้ ามาตรการที่ 5 แล้วไม่สามารถกลับมาชำระได้ตามปกติและกลายเป็นหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีจำนวนประมาณ 9,000 ล้านบาทหรือคิดเป็น 8.5% ของลูกค้าที่เข้ามาตรการ 5 ทั้งหมด ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ ไว้ว่าอาจจะมี NPL สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 25% ของลูกค้าที่เข้ามาตรการ 5

“สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารอยู่ระหว่างการติดต่อเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด คือ กลุ่มที่เข้ามาตรการที่ 8 พักชำระเงินต้นและ ดอกเบี้ย  3 เดือน จำนวน 233,931 ราย วงเงินสินเชื่อ 209,863 ล้านบาท และมาตรการที่ 8.5 เนื่องจากเป็นมาตรการที่พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่มีความเปราะบางด้านรายได้ ธนาคาร อยู่ระหว่างติดตามลูกค้าในกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะครบกำหนดการ ใช้มาตรการในเดือนตุลาคม 2563 อย่างไรก็ตามยืนยันว่าปัจจุบัน ธอส. ฐานะการดำเนินงานและเงินกองทุนของธนาคารยังมีความแข็งแกร่งโดย ปัจจุบัน ธอส. ได้ตั้งสำรองส่วนเกินเพิ่มขึ้นจำนวน 3,500 ล้านบาท เพื่อรองรับผลกระทบจากปัญหาของโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” นายฉัตรชัย กล่าว
  
นายฉัตรชัย ยังกล่าวอีกว่า และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนและสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมถึงปัญหาด้านรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้ที่ ประชุมคณะกรรมการธนาคาร เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 ได้มีมติขยายระยะเวลาความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ภายใต้ “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ “โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ” ระยะที่ 2 เฉพาะลูกค้าเดิมที่อยู่ระหว่างการได้รับ ความช่วยเหลือ และยังคงได้รับผลกระทบ ซึ่งมีมาตรการที่ธนาคาร จะเปิดให้ลูกค้าเลือกแจ้งความประสงค์เพื่อขยายระยะเวลาความช่วยเหลือ จากเดิมที่จะสิ้นสุดการช่วยเหลือในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 จะขยายระยะเวลาไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 จำนวน 3 มาตรการ ประกอบด้วย 

มาตรการที่ 1 พักชำระเงินต้น 3  เดือนจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย รายเดือน สำหรับลูกค้าที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท และเป็นผู้ที่ยังอยู่ระหว่างใช้ มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ มาตรการที่ 1 และ 2 รวมถึงโครงการ ธอส. ช่วยคนไทยร่วมสร้างชาติ มาตรการที่ 1, 3 และ 8 มาตรการที่ 3 พักชำระเงินต้น 6 เดือน จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 3.9% ต่อปี สำหรับลูกค้า ที่มีสถานะบัญชีปกติ และเป็นผู้ที่ยังอยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือ ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ มาตรการที่ 1 และ 2 มาตรการที่ 8 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน สำหรับผู้ที่ยังอยู่ ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ มาตรการที่ 1 และ 2 รวมถึงโครงการ ธอส. ช่วยคนไทยร่วมสร้างชาติ มาตรการที่ 8 ทั้งนี้ลูกค้าเดิมที่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือในมาตรการที่ธนาคารกำหนด สามารถแจ้งความประสงค์ขอเลือกใช้มาตรการขยายระยะเวลา ความช่วยเหลือได้ผ่านทาง Application : GHB ALL ระหว่างวันที่   1-29 ตุลาคม 2563 พร้อมแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันว่ายังมีผลกระทบ ทางรายได้ จริงให้ธนาคารพิจารณา อาทิ สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย และ Statement เป็นต้น

ธอส.ยกระดับบริการดิจิทัล เพิ่ม 6 บริการใหม่บน แอพพลิเคชั่น

นอกจากนี้ นายฉัตรชัย ยังกล่าวถึงกรณีแนวคิดที่ ธอส. จะจัดทำ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ Two-GEN หรือผลิตภัณฑ์ที่เปิดโอกาสให้เลือก ผ่อนชำระได้ 2 generation หรือยาวนานสูงสุดถึง 70 ปีว่า แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากคณะกรรมการธนาคารได้มีนโยบายให้ ธอส. คิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเป้าหมายหลักคือการช่วยเหลือให้ลูกค้าประชาชนสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเปิดโอกาสให้ผู้กู้ สามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระได้นานขึ้นถือเป็นแนวทางหนึ่งที่จะ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ โดยพิจารณาวงเงินให้กู้จากรายได้ ของบิดา-มารดาส่วนระยะเวลาการผ่อนชำระสามารถ เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่สูงสุดไม่เกิน 40 ปี ขยายเป็น 70 ปี ด้วยการนำอายุของบุตร ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปมาเป็นผู้กู้ร่วม 
  
“แนวคิดนี้จะทำให้จำนวนเงินงวดที่ลูกค้าผ่อนชำระรายเดือนลดลง จึงทำให้กรณีที่มีรายได้สุทธิจำนวนเท่าเดิมแต่เมื่อผ่อนชำระได้นานขึ้น ก็จะมีโอกาสได้รับวงเงินสินเชื่อมากขึ้นเช่นกัน อาทิ กรณีวงเงินกู้ 1 ล้านบาท หากผ่อนชำระ 40 ปี เงินงวดจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท/เดือน แต่หากผ่อนได้นานสูงสุดถึง 70 ปี จำนวนเงินผ่อนชำระจะอยู่ที่ ประมาณ 2,500-3,000 บาท/เดือนเท่านั้น และเมื่อลูกค้าได้มีบ้านเป็นของตนเองและ ครอบครัวแล้วในอนาคตหากผู้กู้มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือบุตรที่เป็นผู้กู้ร่วม มีรายได้เข้ามาเพิ่มเติมจากการประกอบอาชีพก็สามารถผ่อนชำระได้สูงกว่าจำนวนเงินงวดที่ธนาคารกำหนดได้ ซึ่งจะทำให้สามารถปิด บัญชีเงินกู้ได้หมดก่อนระยะเวลา 70 ปีอย่างแน่นอน”นายฉัตรชัย กล่าว
  
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธอส. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมของ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ Two-GEN เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการธนาคาร รวมถึงกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาความเหมาะสมพร้อมยืนยันว่าแนวคิดดังกล่าวมี วัตถุประสงค์เพื่อ เป็นทางเลือกให้ลูกค้าประชาชนมีบ้านเป็นของตนเองได้มากขึ้น โดยลูกค้ายังคงสามารถเลือกจำนวนปีที่ต้องการผ่อนชำระ อาทิ 15 ปี 20 ปี 30 ปี  หรือ 40 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้สุทธิของผู้กู้ หรือราคา ที่อยู่อาศัย และวงเงินกู้ที่ต้องการได้ตามปกติ

ธอส.ยกระดับบริการดิจิทัล เพิ่ม 6 บริการใหม่บน แอพพลิเคชั่น

related