ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th
จากกรณีกระทรวงคมนาคม ได้มีแนวคิดติดตั้งเครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 ขนาด 1 ลูกบาศ์กเมตร บนหลังคารถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 3,000 คัน ที่บนท้องถนนทั่วกรุงเทพฯ โดยคุณสมบัติเครื่องกรองอากาศนี้ สามารถรับอากาศขณะวิ่ง ด้วยพื้นที่ 1 ตารางเมตร กรณีที่รถโดยสารเดินทางด้วยความเร็วเฉลี่ย 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสามารถกรองอากาศได้ 20,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อคัน ในขณะเดียวกันรถโดยสารที่วิ่งบนท้องถนน 1 คัน จะสามารถช่วยกรองอากาศสำหรับผู้คนบนท้องถนนถึง 40,000 คน ต่อชั่วโมง
ล่าสุดทางด้าน อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิชาการชื่อดัง ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่อง เครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 ที่ติดบนรถโดยสาร โดยระบุข้อความว่า...
ตอ...ครับ ระบบที่อังกฤษใช้ ไม่ได้เป็นแบบเดียวกับที่ ขสมก. ติดตั้งครับ .. ของอังกฤษ คือ ลงทุนซื้อรถใหม่โดยภาคเอกชน เป็นรถเมล์รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ใช้เครื่องยนต์ยูโร 6 ปล่อยมลภาวะน้อยมากๆๆ เอามารณรงค์เพื่อให้คนใช้รถส่วนตัวน้อยลง โดยเพิ่มเติมการติดตั้งเครื่องกรองอากาศระดับฝุ่น PM 10 ไว้บนหลังคา ซึ่งเขาใช้พัดลมขนาดใหญ่ ดูดอากาศเข้ามาผ่านตัวกรองฝุ่น เก็บกักตุนเอาไว้ ซึ่งหลังจากทดลองวิ่ง 100 วันได้ฝุ่นปริมาณเพียงเท่ากับลูกเทนนิส 1 ลูกเท่านั้นเอง ... ขณะที่ของบ้านเรา เป็นแค่กล่องเปล่า ไม่มีไฟฟ้าอะไร แถมเป็นแผ่นกรองง่ายๆ ด้วย ถ้ารถวิ่งช้าๆ รถติดๆ ก็ไม่สามารถจะดักฝุ่นอะไรได้ด้วย ที่สำคัญคือ นอกจากการทำแบบนี้จะเป็นเรื่องของการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแล้ว มันยังอยู่บนรถเมล์โบราณโบราณของเรา เครื่องยนต์ยูโร 1 ยูโร 2 พ่นควันดำ ซึ่งเป็นต้นเหตุหลักอันหนึ่งในการเกิดมลภาวะของ กทม. ต่างหากครับ