ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th
หนึ่งในของเล่นครองใจผู้คนทุกเพศทุกวัยมานานหลายปี คงหนีไม่พ้นตัวต่อเลโก้ ที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก จนทำให้ปัจจุบัน เลโก้ผลิตตัวต่อขายเฉลี่ย 6 หมื่นล้านชิ้นต่อปี แต่วัสดุเหล่านั้นล้วนทำจากพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก ทางบริษัทจึงพยายามคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะมาทดแทนพลาสติก และได้ประกาศแผนทำ “กัญชง” เป็นตัวต่อเลโก้เพื่ออกขายให้ทันในปี 2030
แนวคิดการปรับเปลี่ยนวัสดุถือเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย เพราะหลายคนน่าจะเคยเล่นเลโก้ และไม่ว่าจะทำมันหล่นพื้น กระแทกกำแพง หรือเผลอเหียบ มันก็ช่างแตกยากเหลือเกิน เพราะ “ความทนทาน” จนสามารถส่งต่อสู่รุ่นลูกหลาน คือจุดเด่นด้านคุณภาพของโลเก้ ดังนั้นวัสดุที่นำมาแทนพลาสติกที่ย่อยสลายยาก จะต้องไม่ทำให้ของเล่นทรงคุณค่าชิ้นนี้สูญเสียตัวตนไปด้วย
นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติที่สำคัญของเลโก้อีกหนึ่งอย่าง นั้นก็คือความสามารถในการยึดติดกับเลโกชิ้นอื่น ๆ ที่ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก หากเลโก้จะไม่ใช้พลาสติกแบบเดิมแล้ว ก็ต้องมีวัสดุที่ผ่านมาตรฐานของบริษัท ซึ่งทีมพัฒนาสินค้าก็ได้ให้ความสนใจกับ “กัญชง” เพราะเป็นพืชที่สามารถนำมาเป็นสารประกอบพลาสติกได้ อีกทั้งยังมีความทนทานเทียบเท่าพลาสติกอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น สารประกอบอินทรีย์ของกัญชง ทำให้สามารถย่อยสลายได้เร็วตามธรรมชาติ และยังมีข้อดีตรงใช้พื้นที่ปลูกน้อยและโตเร็ว อีกทั้งยังไม่ทำลายระบบนิเวศ เพราะไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง จึงไม่มีสารพิษตกค้าง และในขั้นตอนการผลิต ก็ไม่ทำให้เกิดมลพิษเท่ากับการผลิตพลาสติกแบบเดิมที่มีปิโตรเลียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม กัญชง ยังเป็นเพียงพืชที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารประกอบพาสติกและบริษัทยังไม่สามารถหลอมขึ้นมาเป็นตัวต่อเลโก้ได้สมบรูณ์ แต่ทางบริษัทก็มีแผนพัฒนาสินค้าที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง และเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำออกมาขายได้ไม่เกินปี 2030
นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกที่เลโก้ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ก่อนหน้านี้ เลโก้เคยผลิตตัวต่อไบโอพลาสติกที่ทำจากต้นอ้อย ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และออกสินค้าชุด Plants ดีไซน์ตัวต่อเลโก้ให้รูปต้นไม้ ใบไม้ พุ่มไม้ สีเขียว สอดคล้องกับสิ่งที่เลโก้ต้องการสื่อสารเรื่องการรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดีทีเดียว