ประวัติสุนทรภู่ รวมบทกลอน ผลงาน วรรณคดี มีเรื่องอะไรบ้าง ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th
วันของกวีเอกไทย 26 มิถุนายน 2562 เผยประวัติสุทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร รวมบทกลอน นิราศ วรรณคดี ผลงานอันลือเลื่อง อาทิ นิราศภูเขาทอง, นิราศเมืองแกลง, พระอภัยมณี, สุภาษิตสอนหญิง, ขุนช้างขุนแผน, กาพย์พระไชยสุริยา ฯลฯ จนถูกยกย่องให้เป็นบุคคลประวัติศาสตร์โลกด้านงานวรรณกรรม
ประวัติสุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ในสมัยสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จ.ระยอง มารดาเป็นคนต่างเมือง เมื่ออายุได้ 2 ขวบ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนหนังสือกับพระในสำนักชีปะขาว (ต่อมาคือวัดศรีสุดาราม แห่งคลองบางกอกน้อย) ต่อมาเมื่อเติบใหญ่เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน ตลอดเวลามีนิสัยชอบแต่งบทกลอน นิทาน วรรณคดี โดยพบหลักฐานอย่าง วรรณกรรมพระอภัยมณี ที่ถูกเก็บซ่อนไว้ใต้หลังคากุฎิกุฎิวัดเทพธิดารามเมื่อครั้งบวชจำพรรษาอยู่ที่นั่น
เหตุการณ์สำคัญในประวัติสุทรภู่ เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2359 ช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร และแสดงผลงานด้านบทกลอนได้ดีจนเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และถือเป็นคนข้างกายที่ปรึกษา และรับใช้ใกล้ชิด โดยเฉพาะการแต่งกลอนแก้บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้อย่างไม่ติดขัดจนได้รับคำชมอย่างสูง
และแม้จะตกระกำลำบากถึงขั้นต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต และออกบวชในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่จากการได้รับพระอุปถัมภ์ จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2394 สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง และรับราชการยาวนาน 4 ปี และถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี
และในวันที่ 26 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันประสูติจึงกำหนดให้เป็นวันสุนทรภู่เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีด้านอัตลักษณ์ของชาติไทย ทั้งนี้พบผลงาน กลอน 8 บทความ เรียงความ นิราศ วรรณคดี ทรงคุณค่ามากมาย หลายคนคงอยากรู้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง เราอาสารวมผลงานของสุนทรภู่ไว้ให้แล้วที่นี่ ส่วนลด Lazada 10.10 | สูงสุด 90% | ตุลาคม 2020 | คลิกเลย!
ประเภทกลอนสุภาพ กลอนแปด กลอนสี่ : นิราศภูเขาทอง, นิราศอิเหนา, พระอภัยมณี, สุภาษิตสอนหญิง, ขุนช้างขุนแผน
ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
วรรคทองจาก นิราศภูเขาทอง
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
สุภาษิตสอนหญิงอันเลื่องชื่อของสุนทรภู่
อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฏิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
จากเรื่อง พระอภัยมณี
จะหักอื่นขืนหักก็จักได้
หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก
สารพัดตัดขาดประหลาดนัก
แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ
จาทนิราศอิเหนา
นิราศ - นิราศเมืองแกลง, นิราศพระบาท, นิราศภูเขาทอง, นิราศวัดเจ้าฟ้านิราศอิเหนา, นิราศสุพรรณ, นิราศพระประธม, นิราศเมืองเพชร, รำพันพิราป
นิทาน - โคบุตร, พระอภัยมณี, พระไชยสุริยา, ลักษณวงศ์, สิงหไตรภพ
สุภาษิต - สวัสดิรักษา, เพลงยาวถวายโอวาท, สุภาษิตสอนหญิง
บทละคร - อภัยนุราช
บทเสภา - ขุนช้างขุนแผน, เสภาพระราชพงศาวดาร
Cr. thaiveterans, wikipedia, พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย