svasdssvasds

"กาลเทศะต้องมี" เสียงเตือนของ “รศ.เสรี วงษ์มณฑา”

"กาลเทศะต้องมี" เสียงเตือนของ “รศ.เสรี วงษ์มณฑา”

เป็นเรื่องทอล์กออฟเดอะทาวน์ กับประเด็น “พานไหว้ครู” ในปีนี้ หลากหลายความคิดถึงการแสดงออกของนักเรียน ที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบพานไหว้ครู ในฐานะเป็นครู อาจารย์คนหนึ่ง ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด ตอบคำถามเรื่องดังกล่าว อย่างน่าสนใจและชวนให้คิดต่อ

พานไหว้ครู ปีนี้ อาจารย์มองในมุมที่มีต่อวัฒนธรรมอย่างไร

รศ.เสรี : เราไม่ปิดกั้นความคิด แต่เมื่อพูดถึง เสรีภาพ ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม มักจะลืมคำว่า กาละ และ เทศะ คนเราคิดอะไรก็ได้ เรื่องที่ตนเองคิดตอนไหน คิดที่ไหน แต่ไม่ใช่มีอิสระจะทำในทุกเรื่อง เช่น ใส่ผ้าสีไปงานศพ คิดว่ามีเสรีภาพหรือ มันคือกาละและเทศะหรือไม่ ขณะเดียวกัน จะใส่ชุดดำไปงานวันเกิด งานแต่งงานคนหรือไม่ หากมีใครมาต่อว่า แล้วบอกว่ามีเสรีภาพความคิด เสรีภาพของร่างกายอย่างนั้หรือ เมื่อใดก็ตามที่คนสุดกู่ อ้างถึงเสรีภาพทางความคิด จะคุยกันไม่รู้เรื่อง

ผู้ใหญ่ที่คิดเรื่องไหว้ครู เขาคิดตริตรองอย่างมากมาแล้ว สมัยก่อนไหว้ครู ใช้หญ้าแพรก แปลว่า ปัญญาต้องแตกฉาน ดอกเข็ม แปลว่า ปัญญาต้องแหลมคม ใช้ดอกมะเขือ แปลว่าอ่อนน้อม ถ่อมตน เพราะมะเขือมีลูกแล้วจะโน้มตัวลง เมื่อทำพาน ใช้ดอกรัก ชื่อก็บอกความหมายแล้วว่า รัก ใช้ดอกบานไม่รู้โรยถ้าคิดว่า ไม่เคารพครู อาจารย์อย่างที่คนเคยเคารพกัน ไม่ต้องไปงานไหว้ครู เพราะการไหว้ครู ไม่มีเช็กชื่อ ไม่มีตัดคะแนน

ถ้าไปต้องเข้าใจความหมาย และรักษาประเพณี การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง ทั้งการพัฒนาและความเสื่อมก็ได้ เปลี่ยนไม่ได้แปลว่าต้องดีเสมอไป ถามว่าวันไหว้ครู มีเสรีภาพความคิดทางการเมือง แต่จะเอาเสรีภาพความคิดทางการเมืองมาใช้ในกาลเทศะนี้หรือไม่ คนจำนวนมากก็คิดเช่นนี้  คุณจะคิดจะชอบอะไรก็ได้ ไม่มีใครว่า แต่ต้องรู้กาละและเทศะมากมาย เช่นไปหนั่งดูหนังในโรง ก็อ่านไลน์ แสงรบกวนตาคนอื่น มาอ้างเสรีภาพหรือ คนทีไม่มีมารยาทก็อ้างเสรีภาพนี่แหละ ถูกนำมาเป็นตัวอ้าง จะแต่งตัว จะพูด แสดงความคิดก็อ้างเสรีภาพ แต่ถ้าไม่มีกาลเทศะ ก็แย่แล้ว

ถามว่า นักเรียนอยากมีส่วนร่วมในการแสดงออกประชาธิปไตย ทางการเมือง มีไอเดียในการสร้างสรรค์

รศ.เสรี : เวลาอื่นได้หรือไม่ เวลาไหนก็ได้ที่คุณไปจัดกิจกรรมในสมาคม ชมรมของโรงเรียน สมัยตนเป็นนักศึกษา ก็จัดงิ้ว จัดละคร ตั้งวาระของตนเองขึ้นมา วันนั้นวันนี้เราจะเล่นละครเรื่องนั้นเรื่องนี้ล้อการเมืองขึ้นมา มีเวลาที่จะทำตามจังหวะที่เหมาะสม ไม่มีใครห้าม ถ้าอยากมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือจะเสวนาทุกเย็นวันศุกร์ ทำสิ....ก็มีทำกันอยู่

เราไม่ห้ามความคิดของเลย แต่ต้องคิดว่าเหมาะสมในการแสดงออกตอนไหน ที่ไหน เวลาใด ไม่ห้าม อยากทำอะไร ที่ว่าทำพานมีความคิดสร้างสรรค์เลอเลิศ แต่นั่นไม่ใช่พานไหว้ครู

รศ.เสรี : ควรรู้ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของการไหว้ครูว่า เรารำลึกถึงพระคุณครู แสดงความเคารพครู ทำอย่างไรก็ได้ พานมีได้เป็นหมื่นๆ รูปแบบ แต่มี”ความหมายเดียวกัน” การทำพานแบบนี้ไม่ใช่ ถ้าบอกว่าผิด จะเถียงกันนะว่า ผิดตรงไหน 

คุณครู ต้องมีส่วนในการแนะนำอย่างไร

รศ.เสรี : ไม่ต้องเข้าไปเดี๋ยวจะถูกหาว่า ครอบงำ ครูไม่ต้องเข้าไปมีส่วนจัดพาน เพียงแต่อธิบายว่า วันครูคืออะไร วันสงกรานต์ควาหมายอย่างไร ลอยกระทงคืออะไร ก็พอแล้วให้เด็กเข้าใจอย่างถูกต้อง วันวาเลนไทน์ ไม่ใช่วันเสียตัวแห่งชาติ เป็นวันที่เรารำลึกถึงอานุภาพแห่งความรัก สอนหน่อยสิ วันลอยกระทงไม่ใช่วันจุดประทัดให้แข้งขาเกิดอุบัติเหตุ เราบูชาพระแม่คงคา ไม่ต้องเข้าไปในเวลาที่มีเช่นนี้ เวลาสอนหนังสือสามารถแทรกความรู้เข้าไป ให้เด็กเก็บไปคิดเอง ทำพานไหว้ครู ที่ศิษย์แสดงความหมายเคารพครู ให้ใช้กาละและเทศะนี้ แสดงความหมายดังกล่าว

การใช้เสรีภาพทางความคิด ถ้าไม่รักและเคารพครู ไม่ต้องมาวันไหว้ครู  ทำพานไหว้ครูให้ตรงความหมายของวัน แต่นี่ทำออกมาไม่เห็นตรงกับวันไหว้ครูตรงไหนเลย

related