จิตแพทย์ ชี้เสพติดโซเชียลมากไป ทำซึมเศร้า-อ้วน ขณะที่นักวิชาการแนะการ”สั่งห้ามเล่น”โซเชียลยิ่งทำให้ปัญหาลุกลาม
โซเชียล มีเดีย (Social Media) ช่องทางที่ถูกใช้ป็นพื้นที่ในการแสดงออกถึงความเป็นตัวเองมากที่สุด แต่การใช้ช่องทางนี้จนมากเกินไป จิตแพทย์ชี้ ส่งผลเสียทั้ง สุขภาพกาย-สุขภาพจิต หลายคนทำให้ชีวิตเปลี่ยน
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุถึงการใช้สื่อโซเชียลมากเกินไปย่อมส่งผลกระทบ โดยเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ผลเสียต่อสุขภาพกาย สายตาสั้น อ้วน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง นอนหลับยาก
ผลเสียต่อสุขภาพจิต วิตกกังวล ซึมเศร้า มีอาการเสพติด ส่งผลต่ออารมณ์ อารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่าย ต้องก้มหน้าดูโซเชียลบ่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ย่อมส่งผลกระทบต่อ สมาธิ ความจำ การควบคุมตนเอง และมีผลการเรียนที่แย่ลง
นอกจากนี้อายุเริ่มต้นของเด็กที่ใช้ความรุนแรง มีอายุที่ต่ำลง จากเดิมจะพบว่าช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป มักก่อเหตุที่รุนแรง แต่ขณะนี้พบว่าเด็กอายุน้อยลงเริ่มมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงมากขึ้น
ในขณะที่อาจารย์สกุลศรี ศรีสารคาม คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันปัญญาภิวัฒน์ ได้ให้มุมมองการใช้เซียล ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น และสังคม เป็นผลกระทบในวงกว้าง และสุดท้ายผลกระทบเหล่านั้นมักจะย้อนกลับมาทำร้ายตนเองในที่สุด การรังแกกันในสื่อสังคมออนไลน์
พ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ไม่ควรละเลย ควรเอาใจใส่ดูแลลูกกับการใช้โซเชียล สิ่งสำคัญ “ไม่ควรสั่งห้าม” เพราะจะยิ่งทำให้ปัญหา พ่อแม่ผู้ปกครองไม่เห็นพฤติกรรม การห้ามไม่ให้ลูกเล่นนั้นจะยิ่งทำให้ลูกเกิดการต่อต้าน ยิ่งทำให้ พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าไม่ถึง ดังนั้นควรปล่อยให้เขาเล่น และค่อยสังเกตแทน ว่าเขาเสพสื่ออะไร ควรเปิดพื้นที่ให้เขาได้แสดงออก แสดงความคิดเห็น โดยที่เราเข้าไป รับรู้พร้อมเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเขา เพราะจะทำให้เขาได้เรียนรู้ ทั้งในมุมของตัวเองและมุมมองของผู้ใหญ่ ส่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี หากทุกบ้านทำได้จะทำให้ลูกรู้เท่าทันสื่อ กล้าทำและกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ในการเสพข้อมูลทางออนไลน์