svasdssvasds

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ชี้สื่อสังคมออนไลน์เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่ขณะนี้กลายเป็นช่องทางที่หลายคนใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหาความชอบธรรมให้กับตัวเอง

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยสื่อดังกล่าวเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ การโพสต์ การแชร์ และการแสดงความคิดเห็น ที่มีออกมามักได้รับความสนใจจากสังคมกลับกลายเป็นเรื่องเชิงลบ โดยเฉพาะกรณีที่มีการเผยแพร่เนื้อหาแสดงออกถึงความรุนแรง การเรียกร้องความสนใจ การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือการถ่ายทอดสดแสดงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ในขณะที่หลายฝ่ายมองว่าพฤติกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและรุนแรงขึ้นเช่นกัน  หากไม่มีการแก้ไขหรือป้องกัน อย่างแท้จริง

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

     19 ก.พ. 61 ป้าทุบรถกระบะ จอดรถขวางหน้าบ้าน หาความชอบธรรม

 

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

 

        22 เม.ย. 61 แฟนหนุ่ม ถ่ายคลิปไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก ทำร้ายร่างกายแฟนสาว

 

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

        26 เม.ย. 61 สาวยวัย 16 ไลฟ์เฟซบุ๊ก ฆ่าตัวตาย น้อยใจในความรัก ทะเลาะกับคนในครอบครัวของแฟนหนุ่ม 

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และอนุกรรมการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในการใช้สื่อออนไลน์ เปิดเผยกับทีมข่าวสปริงนิวส์ ออนไลน์ พร้อมยอมรับว่าเทคโนโลยีความทันสมัยที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วจนทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองตามไม่ทัน และไม่สามารถล่วงรู้เลยว่าลูกกำลังทำอะไรเล่นอะไรในโลกออนไลน์ เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวยืนยันสถานการณ์เด็ก กับภัยออนไลน์ จากผลสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ 2560  โดย ศูนย์ COPAT ได้สำรวจสถานการณ์ เด็กไทยกับภัยออนไลน์ ระหว่างเดือนพฤศจกิายน –ธันวาคม 2560 กลุ่มตวัอย่างเป็นเด็กอาย 9-18 ปี

จำนวน 10,846 คน จากทั่วประเทศ เป็นเพศหญิง 63.56 %  เพศชาย 34.14 %  และเป็นเพศทางเลือก 2.30 %

ผลการสำรวจความเห็นเด็กและเยาวชนพบว่า

98% เชื่อว่าอินเตอร์เน็ตให้ประโยชน์และสิ่งดีๆมากมาย

95% เด็กรู้ว่าอินเตอร์เน็ตมีภัยอันตรายและความเสี่ยงหลายแบบ

70% เชื่อว่าเพื่อนมีพฤติกรรมเสี่ยงภัยออนไลน์

61% เชื่อว่าตังเองจะไม่ถูกกลั่นแกล้งหรือล่วงละเอียดทางเพศ

75% เชื่อว่าเมื่อประสบภัยออนไลน์แล้วสามารถจัดการปัญหาได้

78% เชื่อว่าสามารถช่วยเพื่อน เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้

และเมื่อมองในเรื่องเพศ “เพศทางเลือกโดนกลั่นแกล้งทางออนไลน์” สูงที่สุด รองลงมาเพศชาย และหญิง ตามลำดับ

 

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

นอกจากนี้ยังมองว่าการใช้สื่อในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมา จากการสังเกตพบว่า ช่องทางการใช้สื่อโซเชียลเป็นช่องทางที่หลายคนใช้เพื่อหาความชอบธรรมให้กับตัวเอง ซึ่งก็เป็นพื้นที่ของมนุษย์ที่จะหาเหตุผล หาความชอบธรรม เพื่อให้คนเข้ามาเป็นพวก หาเพื่อน ว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นดี และถูกต้อง จากการกดไลน์  กดว้าว กดเลิฟ กดเห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่ว่าเขาจะเห็นดีด้วย หรืออยู่ข้างคุณ ดังนั้น ผู้โพสต์ต้องสร้างความตระหนักกับเรื่องเหล่านี้ จะต้องรู้ว่าจะแก้สถานการณ์อย่างไรเมื่อเกิดปัญหา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าผู้ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจระดับนโยบายจะต้องทำสร้างมั่นใจ สร้างความตระหนักรู้

ตัวอย่างกรณี ที่มีผู้โพสต์ โพสต์เพื่อหาความชอบธรรม แต่เกิดเป็นกระแสตีกลับ อย่างเห็นได้ชัดเจน คือ "กรณีหนุ่มโพสต์ คลิปวิดีโอ พบรถทหารคันหนึ่งจอดในที่ห้ามจอด"  รายละเอียดภายในคลิปทหารได้มีการยกมือขอโทษหนุ่มที่ถ่ายแล้ว จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ เอามาโพสต์ทำไม ? โพสต์นี้กลายเป็น กระแสที่สังคมให้ความสนใจ "ชาวเน็ตชื่นชมเจ้าหน้าที่ทำผิดแล้วยอมรับผิด แต่กลับจวกผู้ถ่ายคลิปว่าทำเกินกว่าเหตุ"  เป็นต้น และนี่ก็เป็นการสะท้อนให้ถึงช่องทางที่การเผยแพร่ นั้นง่ายนิดเดียว และมันกลายเป็นส่วนหนึ่ง หรือวิถีของมนุษย์ที่ไปเปลี่ยนไปจากอดีต เพราะยุคที่โซเชียวได้เข้ามาแทนที่ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ของผู้คน สิ่งเหล่านี้หากไม่ได้รับการดูแล ตระหนักหรือปลูกฝัง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทางอารมณ์ และสังคม

สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น (ตอนที่1)

ขณะที่ข้อมูลจของ “We Are Social” ดิจิทัลเอเยนซี่ และ “Hootsuite” ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social Media และ Marketing Solutions ระบุว่าไทย มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 57 ล้านคน

– มีผู้ใช้งาน Social Media มากถึง 51 ล้านคน

– มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ สูงถึง 93.61 ล้านเลขหมาย มากกว่าจำนวนประชากรทั้งประเทศ

– ในจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด มีผู้ใช้ Social Media เป็นประจำผ่าน Smart Device 46 ล้านคน

ปัจจุบัน “ประเทศไทย” เป็นประเทศที่ใช้เวลาต่อวันอยู่กับอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก (รวมทุกอุปกรณ์) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และถ้าวัดเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟน “ไทย” ยังคงเป็นประเทศที่ใช้เวลาท่องเน็ตต่อวันมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 56 นาที  นอกจากนี้คนไทยยังใช้เวลาในการเล่น Social Media โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน

 

related