svasdssvasds

กฟผ.เพิ่มขีดความสามารถของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต

กฟผ.เพิ่มขีดความสามารถของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เตรียมเปิดใช้ระบบกักเก็บพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดจับคู่พลังงานลมกับเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกในเอเชีย

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กำลังดำเนินการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบของระบบกักเก็บพลังงานจับคู่กับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม

เพื่อช่วยลดข้อจำกัดและแก้ปัญหาความไม่เสถียรของการผลิตไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าได้เพียงบางช่วงเวลาซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในอนาคตของไทย

โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำบนเขายายเที่ยง อ.สีคิ้ว  จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพพลังงานลมในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

โดยติดตั้งกังหันลมจำนวน 12 ต้น กำลังผลิตรวม 24 เมกะวัตต์  ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคมปีที่แล้ว

กฟผ.เพิ่มขีดความสามารถของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต

ปัจจุบัน กฟผ. กำลังดำเนินการต่อยอดนำระบบพัฒนาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม (Wind Hydrogen Hybrid) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมในรูปของก๊าซไฮโดรเจนนอกจากเก็บพลังงานในรูป Hydrogen จะถูกปรับให้มีความเสถียรตลอดเวลา เพื่อนำมาจับคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลิตไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์

สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้กับศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง ทั้งนี้ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่นำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาใช้กักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมซึ่งจะช่วยให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง  รวมถึงจะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญในด้านการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานหมุนเวียน

​นอกจากนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ เครื่องที่ 3 และ 4  เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าหมึนเวียนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองและอ่างพักน้ำตอนบน ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะช่วยเพื่อกำลังผลิตติดตั้งรวมถึง1,000 เมกะวัตต์ เป็นเสมือนแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้าของภาคอีสานที่จะช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคอีสานได้อีกส่วนหนึ่ง และช่วยลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.6 แสนตันต่อปี ซึ่งจะพัฒนาการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป

related