svasdssvasds

น้อมรำลึกกษัตริย์ยอดนักรบ!! ๔ ตุลาคม "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ทรงสถาปนา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานีแห่งใหม่ #วันนี้ในอดีต

น้อมรำลึกกษัตริย์ยอดนักรบ!! ๔ ตุลาคม "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ทรงสถาปนา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานีแห่งใหม่ #วันนี้ในอดีต

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

น้อมรำลึกกษัตริย์ยอดนักรบ!! ๔ ตุลาคม \"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช\" ทรงสถาปนา \"กรุงธนบุรี\" เป็นราชธานีแห่งใหม่ #วันนี้ในอดีต

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปราบดาภิเษกขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในทางพิธีการ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ขณะพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา ทรงครองราชย์นานถึง ๑๕ ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๓๐ พระองค์

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่างๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย และยังทรงได้รับสมัญญานาม "มหาราช" อีกด้วย และในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๓๑๓ พระองค์ทรงสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีแห่งใหม่อีกด้วย

น้อมรำลึกกษัตริย์ยอดนักรบ!! ๔ ตุลาคม \"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช\" ทรงสถาปนา \"กรุงธนบุรี\" เป็นราชธานีแห่งใหม่ #วันนี้ในอดีต

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราช เริ่มแต่ในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๓๐๙ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๑๐ และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐ รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง ๗ เดือนเท่านั้น

เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

น้อมรำลึกกษัตริย์ยอดนักรบ!! ๔ ตุลาคม \"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช\" ทรงสถาปนา \"กรุงธนบุรี\" เป็นราชธานีแห่งใหม่ #วันนี้ในอดีต

 

การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้เป็น "เจ้าชาย" และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐

น้อมรำลึกกษัตริย์ยอดนักรบ!! ๔ ตุลาคม \"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช\" ทรงสถาปนา \"กรุงธนบุรี\" เป็นราชธานีแห่งใหม่ #วันนี้ในอดีต

ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ ๓,๐๐๐ คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ ๕,๐๐๐ คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนบุรี

เมื่อพระเจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คนทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรีพระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาศของเมือง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรีเรียกนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. ๒๓๑๐ แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน

น้อมรำลึกกษัตริย์ยอดนักรบ!! ๔ ตุลาคม \"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช\" ทรงสถาปนา \"กรุงธนบุรี\" เป็นราชธานีแห่งใหม่ #วันนี้ในอดีต

ในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน ๑๐ ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้

ในปี พ.ศ.๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง โดยตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีได้ และทรงประทับ ณ เมืองสวางคบุรี เพื่อสมโภชการสำเร็จศึก และจัดการการปกครองและคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ๒ เดือนเศษ ซึ่งนับเป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

https://th.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรธนบุรี

ขอบคุณภาพจาก : http://www.phrachaokrungthon.com

 

related