SHORT CUT
อย่าเรียกว่าขึ้นคาน ให้เรียก “ผู้เชี่ยวชาญในการเลือกแฟน” เปิด 10 สถิติ ชี้ชัด!! คนโสดเต็มเมืองไทย แต่ทำไมฉันยังโสด?
วันที่ 27 พ.ค. 67 สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดรายงานสถานการณ์สังคมที่น่าสนใจในปัจจุบัน พบข้อมูลว่า “ประเทศไทยเป็นสังคมคนโสด” และคนมีคู่กังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้น อ้างอิงผลสำรวจในปี 2566 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีข้อมูล 10 สถิติที่น่าสนใจ ดังนี้
1.ประเทศไทยมีคนโสดมากถึง 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด คิดเป็น 23.9% โดยส่วนใหญ่เป็นคนที่อาศัยในเขตเมือง
2.พบว่าคนวัยเจริญพันธุ์เป็นโสดมากขึ้นเมื่อเทียบกับสถิติเมื่อปี 2560 โดยครองโสดมากถึง 40.5% และพบว่าผู้คนช่วงอายุ 15-25 ปี เป็นโสดมากที่สุดกว่า 50.9 %
3. จำนวน 1 ใน 3 ของคนโสดจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง
4. ประเทศไทยมีสัดส่วนคนแต่งงานลดลงต่อเนื่อง โดยหากเปรียบเทียบกับปี 2560 พบว่าคนวัยเจริญพันธุ์แต่งงานลดลงกว่า 5 %
5.นอกจากนั้น อัตราหย่าร้างในไทยยังเพิ่มสูงติดต่อกันตั้งแต่ปี 2560 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 22 %
6.กรุงเทพฯเป็นเมืองคนโสด มีคนโสดมากถึง 50.4 % เมื่อเทียบสัดส่วนคนโสดต่อประชากรเชิงพื้นที่
7.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความโสด ส่วนหนึ่งมาจากค่านิยม พบว่าคนโสดเลือกเก็บเงินไว้ใช้จ่ายเพื่อเติมเต็มความสุขของตัวเอง ไว้เลี้ยงหลานหรือเด็กในครอบครัว และบางส่วนยังรอคอยความรักเพราะความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ
8.ผลสำรวจพบว่า “ผู้หญิง” 83% ไม่คบผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า และผู้หญิง 76% ไม่เดทกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า
9.ผลสำรวจพบว่า “ผู้ชาย” 60 % เลือกไม่คบกับผู้หญิงที่เคยหย่าร้าง และผู้ชาย 59% ไม่คบกับผู้หญิงที่ตัวสูงกว่า
10.สถิติชี้ว่าคนไทยยังทำงานหนัก กทม.เป็นอันดับที่ 5 ของเมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก และพบว่าชั่วโมงการทำงานของคนโสดมีมากกว่าคนมีคู่กว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
สภาพัฒน์ฯ เห็นว่ายังมีคนโสดอีกมากที่อาจจะอยากมีคู่ แต่มีอุปสรรคและข้อจากัดที่ทำให้ต้องเป็นโสด ซึ่งไทยยังมีโอกาสในการดำเนินการสนับสนุนให้คนได้มีคู่ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มจำนวนประชากร แก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยได้ในอนาคต