แน่นอนว่าเสียงเชียร์ที่ดังกระหึ่มในสนามกีฬานั้น ช่วยให้บรรยากาศตื่นเต้นขึ้นได้ แต่พลังนั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพการแข่งขันของนักกีฬาหรือไม่?
“อริสโตเติล (Aristotle)” นักปรัชญาชาวกรีกเคยกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal)” นั่นหมายความว่าพลังของมนุษย์จะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับนิสัยของกลุ่ม หรือสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้การตะโกน หรือร้องเพลงร่วมกันพร้อมเพรียง จึงถือเป็นรูปแบบหนึ่งของความผูกพันทางวัฒนธรรม ซึ่งแสดงออกถึงความสามัคคีในกลุ่ม
แต่ในมุมของกีฬา เสียงเชียร์ที่ดังกระหึ่มระหว่างการแข่งขันนั้น ส่งผลต่อนักกีฬามากน้อยแค่ไหน เพื่อหาคำตอบนั้น การศึกษาในปี 1982 ของนักวิจัยจาก Elon University แสดงให้เห็นว่า นักกีฬาจะเล่นได้อย่างประสิทธิภาพขึ้น เมื่อมีผู้ชมอย่างน้อย 8 คนขึ้นไป
ทั้งนี้ การศึกษาของ Elon University ในสหรัฐอเมริกาให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีที่ทดลอง ซึ่งในบางกรณีเสียงเชียร์ของฝูงชน ก็ไม่ส่งผลกระทบกับทีม ในขณะที่บางกรณีก็พบว่า นักกีฬามีแนวโน้มเล่นผิดพลาดมากขึ้น เมื่อถูกกองเชียร์ฝั่งตรงข้ามตะโกนเยาะเย้ยระหว่างการแข่งขัน
ซึ่งจากการสังเกตโดยใช้กีฬา 3 ประเภทได้แก่บาสเกตบอล กอล์ฟ และเบสบอล ซึ่งนักกีฬาถูกขอให้ทำแต้ม 10 คะแนน ท่ามกลางกองเชียร์ที่นั่งดูเงียบๆ กองเชียร์ที่ตะโกนเยาะเย้ย และกองเชียร์ที่ส่งเสียงให้กำลังใจเต็มที่ ผลปรากฏว่า ผู้เล่นบาสเกตบอลไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น ในระหว่างการยิงจุดโทษ ส่วนนักกอล์ฟกลับทำคะแนนได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อผู้ชมไม่ส่งเสียงใดๆ แต่จะทำคะแนนได้แย่ลงเมื่อถูกตะโกนเยาะเย้ย และนักกีฬาเบสบอลทำสไตร์คได้น้อยลงจนน่าตกใจเมื่อถูกกองเชียร์เยาะเย้ย หรือนั่งดูโดยไม่ส่งเสียงเชียร์
แม้จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันตามประเภทของกีฬา ทักษะของผู้เล่น หรือการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่า การส่งเสียงเชียร์ในสนามส่งผลกระทบแค่ไหนต่อนักกีฬา แต่อย่างไรก็ บรรดากองเชียร์และนักกีฬาทั่วโลกก็ยังเชื่อมั่นว่า เสียงเชียร์จะช่วยให้เล่นได้ดีขึ้น
จึงสรุปได้ว่า ผลกระทบกระทบของกองเชียร์ระหว่างการแข่งขันกีฬา เป็นเพียงการผูกพันทางสังคม และการร่วมกันตะโกนหรือร้องเพลงนั้น ย้อนกลับมาสร้างความฮึกเหิมให้กองเชียร์มากกว่าจะสร้างความฮึกเหิมให้นักกีฬาโดยตรง ซึ่งเหมือนกับการที่ทหารทั้งกองทัพร้องเพลงปลุกใจกันเองก่อนเข้าสู่สนามรบนั่นเอง
ส่วนปัจจัยที่จะชี้ขาดว่า นักกีฬาทีมไหนเล่นได้ดีกว่ากัน คือการฝึกฝน ประสบการณ์ของโค้ช และความสามัคคีกันในทีม ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้นักกีฬาสามารถคว้าชัยชนะได้ แม้ในการแข่งขันนั้นจะมีความกดดันที่สูงไหนก็ตาม
Adidas ผลิต "ลูกฟุตบอลรักษ์โลก" ใช้ตะลุยศึกยูโร 2024 รีไซเคิลได้ 100%