svasdssvasds

รู้จักอาชีพสัปเหร่อ งานเก่าแก่ อาชีพบริการ ดูแลศพ ที่สังคมไทยขาดไม่ได้

รู้จักอาชีพสัปเหร่อ งานเก่าแก่ อาชีพบริการ ดูแลศพ ที่สังคมไทยขาดไม่ได้

ทำความรู้จัก อาชีพ สัปเหร่อ หรือในอดีต มีคำเรียกว่า ขุนกะเฬวราก-นายป่าช้า โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้ดูแลจัดการศพ ท่ามกลางกระแสความร้องแรงของหนัง #สัปเหร่อ

เมื่อ ภาพยนตร์สัปเหร่อ กลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ จากการกวาดรายได้มหาศาล 300 ล้านบาท ทำให้ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่คนพูดถึงในวงกว้าง , สำหรับ คำว่า สัปเหร่อ เป็นอาชีพ ที่อยู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน  โดยอาชีพนี้ จริงๆแล้ว เป็นหนึ่งในอาชีพที่ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในสังคม โดยเฉพาะ ธรรมเนียมประเพณี งานปลงศพ จัดการความเรียบร้อยของศพ ของชาวพุทธ ที่มีมากกว่าครึ่งประเทศ 

โดย คำว่า "สัปเหร่อ" ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่อาจยังไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ ความเป็นสัปเหร่อ ที่เกี่ยวพันกับปลายทางของชีวิตอย่าง “ความตาย” 

แต่ถึงกระนั้น อาชีพสัปเหร่อนี้กลับเป็นอาชีพสำคัญที่ขาดไม่ได้ในสังคมไทยที่มีคนพุทธเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งประเทศ เพราะมีประวัติศาสตร์เรื่องราวอันยาวนาน ทั้งยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้คน

โดย ความหมายของสัปเหร่อ นั้น ตามไม้บรรทัดความหมายของ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายคำว่า สัปเหร่อ (เป็นคำนาม) กล่าวคือ ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศพตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสัง จนกระทั่งนำศพไปฝังหรือเผา 

รู้จักอาชีพสัปเหร่อ งานเก่าแก่ อาชีพบริการศพ ที่สังคมไทยขาดไม่ได้
 

ขณะที่ พจนานุกรมมติชน ก็ได้ให้ความหมายไปในทางเดียวกัน

ในความเป็นจริงแล้ว, “สัปเหร่อ” เป็นอาชีพที่ไม่ใช่งานในฝันของคนทั่วไปหรอก ความจริงข้อนี้ปฏิเสธไม่ได้ หลายๆครั้งที่คนกลุ่มนี้ โดนดูถูกเหยียดหยามเพราะต้องทำงานเกี่ยวกับศพ และความตาย  ไม่มีใครเหลียวแล  สัปเหร่อ ไม่มีสวัสดิการใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม เหมือนหลายๆอาชีพ ,รายได้ไม่แน่นอน บางเดือนอาจจะหลักหมื่น และบางเดือน อาจมีรายได้เป็นศูนย์ ในความเป็นอาชีพอิสระ

แต่ในทางกลับกัน , ในวาระสุดท้ายของชีวิตเราทุกคนที่เป็นชาวพุทธ  พวกเขาคือบุคคลสำคัญที่จะช่วยส่งทุกดวงวิญญาณให้ไปสู่สุขติ และในช่วงที่โควิดระบาดหนัก สัปเหร่อบางที่ต้องทำหน้าที่ออกไปเก็บศพเอง

ภาพยนตร์ สัปเหร่อ ทำให้คนสนใจ ที่มา และความหมายที่แท้จริง ของคำว่า "สัปเหร่อ"

หาก ย้อนเข็มนาฬิกากลับไปในอดีต , ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยปรากฏตำแหน่ง "ขุนกะเฬวราก" หรือบางคนเรียกว่า "นายป่าช้า" ในสมัยนั้น หรือ "สัปเหร่อ" ทำหน้าที่ ปลงศพและจัดการความสยดสยองของบุคคลสิ้นลมหายใจให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น  

การทำงานของขุนกะเฬวราก หรือ ที่ปัจจุบัน เรียกกันว่า สัปเหร่อ ในเข็มนาฬิกาเดินในปัจจุบันนั้น อาจจะยังมีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ แต่จากกระบวนการกำจัดความสยดสยองที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2430 กลายเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้รัฐสยามตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดซากศพ จนนำมาสู่การประกาศใช้ “กฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยป่าช้าแลนายป่าช้า” ใน พ.ศ. 2460 อันเป็นกฎหมายที่รัฐสยามแต่งตั้งให้ “นายป่าช้า” ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการความศิวิไลซ์อย่างเป็นทางการ โดยต้องทำงานอยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงนครบาล

โดย ห้วงเวลานั้น พ.ศ. 2460  หรือเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว  สยามได้ประกาศใช้ "กฎหมายเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยป่าช้าแลนายป่าช้า" ซึ่งทำให้ "นายป่าช้า" มีหน้าที่ในการจัดการศพอย่างเป็นทางการ ในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศเพื่อเข้าสู่ความเจริญขึ้น เพราะยังมีการทิ้งศพตามพื้นที่สาธารณะอยู่

ในประเด็นจรรยาวิชาชีพ สัปเหร่อ ก็ถือเป็นประเด็นที่สำคัญ กล่าวคือ อาชีพนี้ต้องไม่เลือกปฏิบัติ ต้องเผาศพให้เจ้าภาพทุกรายโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง กล่าวคือไม่มีความลำเอียง ใจต้องเป็น "กลาง" ไม่แคร์ ฐานะความยากดีมีจน ต้องทำหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ คือ รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จเรียบร้อยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ทำความสะอาดเตาเผา จนถึงเก็บกระดูก 

ทั้งนี้ ปัจจุบัน คำราชการกำหนดหน้าที่สัปเหร่อเป็นงานประเภทที่ 5 คือพนักงานบริการ และพนักงานขายในร้านค้าและตลาด ในหมวด 51 คือเป็นพนักงานให้บริการในเรื่องส่วนบุคคลและบริการด้านการป้องกันภัย กำหนดเป็น "สัปเหร่อและเจ้าหน้าที่ฉีดยาศพ" ทำหน้าที่จัดการเผาศพและฝังศพ รักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการฉีดสารเคมีในร่างศพ รวมถึงการทำพิธีต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการศพ

จนกลายมาเป็นอาชีพที่เรารู้จักกันจนถึงตอนนี้ แม้อาจไม่ได้สร้างความจดจำให้กับเหล่าผู้คนที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ แต่อาชีพสัปเหร่อ ก็ช่วยเชื่อมโยง ระหว่างคนเป็น กับคนตาย ได้
 

ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม  ศิลปวัฒนธรรม pridi bangkokbiznews

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related