Censorship และ Soft Power ขั้วตรงข้าม ที่ฉุดรั้งคอนเทนต์ไทย ไปได้ไม่ไกลเท่าชาติทรงพลังอื่น เช่น อเมริกาหรือเกาหลีใต้ ชวนผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ซีรีส์ดัง ปิง – เกรียงไกร วชิรธรรมพร เปิดประเด็นและตั้งคำถาม ที่เหมือนมีบทสรุปแต่ยังแก้ไม่ได้
ในช่วงห้าปีที่ผ่านมานี้คนไทยที่รับข่าวสารเป็นประจำ คงคุ้นหูกับคำว่า Soft Power กันทุกคน เพราะมองไปทางไหนก็ดูจะเรียกว่าเป็น Soft Power ได้เสียหมด โดยเฉพาะในปี 2022 นี้เองก็ดูจะยิ่งตอกย้ำผ่านปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น มิลลิ กินข้าวเหนียวมะม่วง บนเวทีทำให้ขายดีชั่วข้ามคืน แต่เท่านั้นเพียงพอจะเป็น Soft Power ที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงมั้ยลองมาทำความเข้าใจนิยามคำนี้กันสักหน่อย
Soft Power ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกในปลายทศวรรษ 1980 โดย Joseph S. Nye เป็นการขยายอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ผู้คนมีส่วนร่วมหรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อื่น โดยไม่ได้ใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญ (Hard Power) โดยผ่านปัจจัยสำคัญ 3 ข้อคือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ SOFT Strategies สร้างคอนเทนต์ยังไงเพื่อนั่งในใจผู้ชมทั่วโลก
กองสลากพลัส สนับสนุนไทยลีก 3 และ ส่งมวยไทย RWS ดันเป็น Soft Power
โดย 3 ประเทศที่มี Soft Power ทรงพลังที่สุดในโลก ปี 2022 ที่จัดอันดับโดย Brand Finance บริษัทจัดการกลยุทธ์เกี่ยวกับ Brand Positioning ประกอบด้วย
ส่วนไทยร่วงจากอันดับที่ 31 ในปี 2021 มาอยู่ในอันดับ 35 ในปีปัจจุบัน
จากงานสัมมนา หัวข้อ "Soft Power ละมุนยังไงให้สุดปัง" ชวนคุณปิง – เกรียงไกร วชิรธรรมพร ผู้กำกับซีรีส์ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ซีซัน 2 – 3 และโปรดิวเซอร์ซีรีส์แปลรักฉันด้วยใจเธอ มาคุยสั้นๆ แต่ในประเด็นร้อนๆ ที่ตั้งคำถามตัวใหญ่ๆ ว่าทำไมผู้มีอำนาจถึงอยากให้เราพูดได้แค่บางเรื่อง และ ทำไมถึงมีบางเรื่องที่พูดถึงไม่ได้ทั้งที่เรารับรู้ว่ามีอยู่จริง เช่น พัทยาไม่มีการค้าประเวณี หรือ กทม.ไม่มีบ่อน แต่มีข่าวการยิงกันในบ่อน ซึ่งก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์ นี่เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่าง จากอีกหลายประเด็นที่ถูกปิดกั้นจนทำให้เป็นอุปสรรคกับคนทำงานสร้างสรรค์ กรอบยิ่งแคบ ประเด็นยิ่งน้อย ความปังก็ดูจะยิ่งมีจำกัดและมาเป็นช่วงๆ
Censorship เป็นอุปสรรคต่อการทำงานสร้างสรรค์มั้ย
Censorship เป็นปัญหาต้นๆ สำหรับการทำคอนเทนต์ เพราะว่า ในการทำงานสร้างสรรค์จำเป็นที่ต้องการอิสระที่จะเล่าเรื่องอะไรก็ได้ จึงทำให้เห็นความแตกต่างของประเทศที่มี Freedom of Speech กับ คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมเมื่อมาเทียบกันจะเห็นชัดมาก เพราะเปิดกว้างให้พูดเรื่องอะไรก็ได้ แม้แต่คอนเทนต์ที่มีความอ่อนไหว ถ้าเป็นในสหรัฐอเมริกาเห็นได้ว่าสามารถทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหา วิพากษ์ วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ พาดพิงไปถึงบุคคลระดับสูง นักการเมืองคนสำคัญ ก็สามารถพูดถึงได้
ทำให้คนทำงานสร้างสรรค์เลือกหยิบประเด็นที่ตัวเองสนใจขึ้นมาเขียนหรือขยายต่อในมุมมองที่ตัวเองเชื่อ โดยคนดูจะเป็นคนใช้วิจารณญาณในการตัดสิน
คือวิธีการคิดมีความแตกต่างจากในประเทศเรา ซึ่งมีประเด็นที่ไม่สามารถพูดถึงได้หลายหัวข้อ
จึงทำให้ลดความหลากหลายของแนวหนังลง เช่น ที่ต่างประเทศมี อย่าง Political Thriller ภาพยนตร์การเมืองดีๆ เข้มข้น ซึ่งถ้าคนทำงานบันเทิงในประเทศเราอยยากเล่าเรื่องนี้ ก็ไม่สามารถทำได้ลึกเท่า เพราะมีหลายอย่างที่เราต้องระวังถ้าจะพูดถึง หรือ ภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็ตาม
ทำให้สุดท้ายแล้วพื้นที่ปลอดภัยสำหรับสร้างสรรค์งานเหลือเพียงกรอบสี่เหลี่ยม เช่น ภาพยนตร์รัก โรแมนติก ตลก เท่านั้น ซึ่งนั่นก็เพราะการโดนจำกัดขอบเขตของการเล่าเรื่องซึ่งจริงๆ มันคือวัฒนธรรมและตัวตนของเราเอง ที่มีอยู่ในสังคม แต่บางอย่างมันไม่สามารถเล่าออกมาได้
แล้วสื่อควรพูดได้แค่ไหน และควรพูดเรื่องอะไร
ส่วนตัวคิดมองแบบสุดโต่งเลย คือ ทุกเรื่องสามารถพูดได้หมด แต่ด้วยจรรยาบรรณสื่อ ก็ควรต้องให้ยึดให้มั่นไว้ด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกันก็เข้าใจคนที่มีความกังวลและต่อต้านไม่อยากให้พูดบางเรื่อง (จากกรณี Sex Workers ในประเทศ) ก็เพราะอาจมาจากความเป็นห่วงเป็นใย กลัวว่าผู้รับสารจะมองในมุมที่ถูกต้องได้รึเปล่า แต่ในความห่วงจนต้องควบคุมนั้นเองก็เป็นการปิดกั้น
ซึ่งในฐานะคนทำสื่อควรที่จะมีความรับผิดชอบที่เป็นมาตราฐานการทำงานเพื่อเผยแพร่สารออกไป ด้วยการ
ซึ่งปัจจุบันยังมีหน้ากากทางศีลธรรม ทำให้ปิดตามองไม่เห็น บ่ายเบี่ยง ไม่ยอมรับ ภาพลักษณ์ประเทศเสียหาย
รวมถึงเรื่องกัญชาเสรีเองก็ตาม ถ้าการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยมีมาตราฐานเสมอหน้ากัน แต่เหมือนว่าประเทศไทยจะยังไม่โปร่งใสเหมือนเช่นใน เนเธอแลนด์ ที่มีโซนสำหรับ sex workers และการใช้กัญชาที่เปิดใช้มายาวนานแล้วก็ตาม ซึ่งในตัวประเด็นเหล่านี้เองไม่ได้ผิด แต่อยู่ที่การกำกับดูแลให้ตรวจสอบได้และเหมาะสม
การปูพื้นฐานวิจารณาณผ่านการศึกษาสำคัญเพียงใด
วิชา Media Literacy ในประเทศเรายังไม่มีการให้ความรู้ ความเข้าใจกันอย่างจริงจัง หรือ จริงๆ แล้วผู้มีอำนาจเองก็ไม่ได้ให้คนฉลาดเท่าทัน เพื่อให้ควบคุมได้ง่าย เพราะการมีวิจารณาณจะทำให้ผู้ชมสามารถเลือกได้ว่าจะรับคอนเทนต์อะไรเข้ามา ด้วยการฟังจากความคิดเห็นและทัศนคติของสื่อแต่ละช่องแล้วนำมาตัดสินใจด้วยตัวเอง
ซึ่งก็ดูจะเป็นภาคเอกชนที่ต้องเร่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการรับมือกับสื่อในยุคปัจจุบันกันเอง ซึ่งถ้าด้วยเจตนาที่ผู้มีอำนาจตั้งใจไม่อยากให้ประชาชนรู้เท่าทันก็เป็นเรื่องที่น่ากลัวว่าเรากำลังถูกพาไปในทิศทางไหน
ทั้งนี้จากการพูดคุยในงานสัมนาและนโยบายในภาพรวมเอง ดูเหมือนว่า การที่รัฐพยายามชูจุดขายเรื่อง Soft Power แต่จำกัดให้นำเสนอได้มีอาหาร สถานที่สวยงาม ความหลากหลายของเนื้อหาลดลง ก็อาจทำให้การยืนระยะของการสร้างพลังละมุนเพื่อให้ส่งผลทางธุรกิจในระดับเศรษฐกิจก็ดูจะเป็นเพียงกระแสที่พัดมาแล้วพัดไป การจัดตั้งองค์กรทางวัฒนธรรมที่ดูแลและสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้เอกชนสามารถพัฒนาคุณภาพคอนเทนต์ได้อย่างเต็มที่โดยมีภาครัฐผลักดันผ่านนโยบายและหาช่องทางเผยแพร่ที่มีคุณภาพไปได้ไกลและต่อเนื่องผ่านงบประมาณ