svasdssvasds

คู่มือวิธีดูแลหนังสือเพื่อนักอ่าน-กองดอง หลังช้อปในงานหนังสือ 65 ต้องมี

คู่มือวิธีดูแลหนังสือเพื่อนักอ่าน-กองดอง หลังช้อปในงานหนังสือ 65 ต้องมี

ส่อง 9 เคล็ดลับ เพื่อหนอนหนังสือ นักอ่าน รวมทั้ง (นัก) กองดอง วิธีดูแลหนังสือ ให้อยู่ในสภาพเนี้ยบเสมอ ไม่ว่าจะหยิบมาอ่านกี่ครั้งก็เหมือนเปิดอ่านครั้งแรก

จากข้อมูลของ สำนักงานสถิติฯ เผยสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ.2561 พบว่า คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่าน 78.8% หรือกว่า 49.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 77.7% ในการสำรวจปี 2558 ที่ผ่านมานอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่าคนไทยใช้เวลาในการอ่านเฉลี่ย 80 นาทีต่อวันเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาในปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 66 นาทีต่อวัน

ซึ่งสอดคล้องกับผลตอบรับของ มหกรรมหนังสือระดับชาติปี 2565 ครั้งที่ 27 ในระหว่างวันที่ 12-23 ตุลาคมนี้ ที่มีประชาชนให้การตอบรับอย่างล้นหลาม อีกทั้งการที่มี ผู้ว่าฯ กทม. ชัขชาติ สิทธิ์พันธุ์ ที่เป็นนักอ่านตัวยง ทำการเปิดงาน ยิ่งปลุกกระแสนักอ่านในตัวเองให้มากขึ้น อยากตามเก็บเช็กลิสต์ อ่านตามชัชชาติ ที่กลายเป็นจุดขายให้หลายๆ สำนักพิมพ์ ใช้เป็นในการโปรโมต จนหลายๆ เล่มก็มียอดพิมพ์ซ้ำติดอันดับ คาดว่า งานหนังสือ 65 ในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มนักอ่านหน้าใหม่และหน้าเก่าให้กลับมาเป็นหนอนหนังสือกันมากขึ้น

ภาพบรรยากาศในงานหนังสือ 65

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แล้วหนังสือที่ซื้อมาทั้งเพื่ออ่านและกองดองไว้หลายปี จะทำให้อย่างให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น หรือ วิธีการเก็บรักษาหนังสือที่ช่วยคงสภาพให้สมบูรณ์พร้อมหยิบมาอ่านซ้ำอีกครั้ง รวมถึงส่งต่อความรู้ให้กับคนอื่นต่อไปได้อีกเช่นกัน 
ภาพประกอบจาก freepik  

วิธีดูแลสำหรับนักอ่าน มี 6 ข้อ ดังนี้
1.ดูแลสุขลักษณะของหนังสือ 
ก่อนจะหยิบจับหนังสือมาอ่านแน่ใจหรือยังว่ามือของคุณสะอาด ไม่มีเปียกน้ำ หลีกเลี่ยงการกินหรือดื่มในขณะอ่านเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ใช้มือที่เปื้อนอาหารหรือเผลอทำน้ำหกใส่หนังสือเล่มโปรดที่ต้องไปตามล่ามาครอบครอง 

สำหรับหนังสือเก่า หายาก มีความเปราะบางมาก จึงควรสวมถุงมือผ้าฝ้ายเพื่อหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสมือโดยตรงในการใช้งาน

2.เลี่ยงการใช้ที่คั่นหนังสือเทอะทะ ขนาดใหญ่
ที่คั่นหนังสือที่ใหญ่เกินไปอาจทำให้เกิดรอยกด รอยประทับบริเวณสันที่เย็บด้วยเชือกหรือกาว มีโอกาสที่จะทำให้ฉีด ขาด หรือเสียหายกับหนังสือทั้งเล่ม เส้นด้ายหรือริบบิ้นเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยหลีกเลี่ยงกรณีดังกล่าวไปได้ 

แต่ที่สำคัญการพับมุมหนังสือทำให้หน้านั้นๆ เกิดความเสียหายในระยะยาว จึงเป็นวิธีที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ว่าจะหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่ยืมมาจากห้องสมุด ที่ผลัดเปลี่ยนมือคนใช้งานจำนวนมาก

หรือนิสัยแตะน้ำลายเพื่อพลิกอ่านเลิกได้เลิกจะดีกว่า

3.ระวังความเสียหายบริเวณสันเข้าเล่มหนังสือ
หนังสือปกแข็งหรือปกอ่อน ในรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือทั้งการเย็บหรือใช้กาว และแม้แต่ทั้งสองรูปแบบ การกางหนังสือออกจนกว้างเต็มหน้า จะทำให้บริเวณสันทำงานหนัก รวมถึงการแกะเล่มหนังสือใหม่ปกแข็งเปิดอ่านเป็นครั้งแรก ควรอ่อนโยนสักนิดเพราะหลังจากห่อแพคอยู่ในการขนส่งเป็นเวลานานๆ ทำให้เปิดอ่านครั้งแรกมักฝืดกว่าปกติ ถ้าไม่ใส่ใจดีๆ อาจทำให้สันเล่มแตกร้าวได้

4.เปิดแต่ละหน้าอย่างดูแล
เมื่อเวลาผ่านไป หน้ากระดาษจะเสื่อมสภาพตามธรรมชาติและจะมีความเปราะบางลงเป็นธรรมดา ดังนั้นเมื่อจะพลิกหน้าหนังสือแต่ละครั้งจะช่วยลดรอยขีดข่วน ฉีกขาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นลงได้ 

5.การใช้ทั้งสองมือในการหน้าหนังสือ
เป็นการถ่ายน้ำหนักของหนังสือทั้งสองข้าง ไม่ให้ข้างใดข้างนึงต้องรับแรงกดไม่เท่ากัน แต่ถ้าในกรณีที่ไม่สามารถถืออ่านด้วยสองมือได้ อันเนื่องมาจากขนาด ความเปราะบาง หรือมีน้ำหนักมาก ให้วางลงบนตักเพื่ออ่านแทนและไม่ควรม้วนหน้าหนังสือกลับหลังในเวลาอ่าน เพราะจะทำให้หนังสือกลับคืนรูปเดิมได้ยากหลังจากนั้น ทั้งยังทำให้สันหนังสือได้รับความเสียหายมาก 

6.ส่งหนังสือหายากที่มีคุณค่าทางนักอนุรักษ์ดูแลซ่อมแซม
ไม่ว่าหนังสือที่คุณจะเป็นหนังสือหายากที่ตีพิมพ์ครั้งแรก หรือ จะเป็นหนังสือปกอ่อนที่มีคุณค่าทางจิตใจ เมื่อหนังสือเสียหายจากการใช้งาน ติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมแซมโดยเฉพาะจะช่วยฟื้นชีวิตให้กลับมาโลดแล่น สร้างแรงบันดาลใจได้อีกครั้ง

วิธีดูแลสำหรับนักกองดอง หรือ การจัดเก็บหนังสือมี 3 ข้อดังนี้
7.เลือกชั้นวางหนังสือแนวตั้ง 
ไม่ควรอัดแน่นหนังสือในชั้นวางมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการบิดงอ เสียรูป โครงสร้างรวมเสียหาย การจัดวางควรเลือกเรียงหนังสือที่มีความสูงและความยาวใกล้กันอยู่ด้วยกัน หรือถ้าไม่สะดวกวางในแนวตั้ง สามารถเลือกวางแนวนอนราบไปการพื้นที่ที่มี แต่ควรเรียงหนังสือที่มีน้ำหนักจากหนักขึ้นมาเบา เวลาหยิบหนังสือมาอ่านควรจับที่บริเวณกลางของสันหนังสือ

8.แสงและอุณหภูมิไม่เป็นมิตรกับหนังสือ
แสงอาทิตย์ ความร้อน เป็นสภาพแวดล้อมที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับหามุมตั้งชั้นหนังสือ เพราะส่งผลต่อทั้งสันเล่ม โครงสร้างและคุณภาพกระดาษ รวมถึงความชื้นก็ดูจะเป็นศัตรูทำให้เกิดเชื้อราได้ ถ้าในบริเวณชั้นหนังสือมีความชื้นสูง ให้นำหนังสือมาเช็ดด้วยผ้าแห้ง ทิ้งไว้กลางแดดประมาณ 30-45 นาที อย่าลืมทิ้งไว้นานเพราะสีสันต่างๆ จะโดนแดดเลียจนซีด 

9.ทำความสะอาดหนังสือเป็นประจำ 
ปัดฝุ่นชั้นหนังสือเป็นประจำช่วยลดการสึกหรอตามธรรมชาติ ไม่ควรเก็บหนังสือในถุงพลาสติก เพราะไม่ว่าคนหรือหนังสือก็ต้องการอากาศหายใจและถ่ายเทเช่นกัน  แนะนำให้ซื้อกล่องเก็บหนังสือแทนการใส่ในถุง 


ที่มา

wikihow.com

related