หากช่วงนี้ใครติดตามสถานการณ์ข่าวอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นข่าวการกราดยิงที่หนองบัวลำภู ข่าวความรุนแรง หรือข่าวเศร้าหดหู่ที่กระทบต่อจิตใจ รู้ไหมว่าการเสพข่าวเหล่านี้มากเกินไปอาจกระทบกับจิตใจเรา ทำให้เศร้า หดหู่ วิตกกังวล หรือที่เรียกว่า Headline stress disorder
ภาวะ Headline Stress Disorder เกิดจากการรับรู้เสพข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะจากช่องทางโซเชียลมีเดียหรือช่องทางอื่นๆ เป็นเวลานานๆ หรือมากจนเกินไป จนข้อมูลเหล่านั้นไปสร้างความเครียด ความรู้สึกโศกเศร้า หรือส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของเราได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งการรับรู้ข่าวที่มีความรุนแรงหรือหดหู่มากไปจะส่งผลกับร่างกายและจิตใจ อาจทำให้เสี่ยงต่อโรค เช่น โรคซึมเศร้าหรือความดันโลหิตสูง
ส่วนอาการที่เป็นสัญญาณว่า คุณเสี่ยงต่อภาวะ Headline stress disorder ยกตัวอย่างเช่น
-นอนไม่หลับ
-ซึมเศร้า วิตกกังวล
-หายใจไม่สะดวก ใจสั่น
-หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
-ไม่มีสมาธิ
-ง่วงซึมไม่สดชื่น
-อยากอาหารน้องลง หรือกินมากกว่าปกติ
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ทำความเข้าใจภาวะ PTSD คืออะไร? ดูแลจิตใจอย่างไรให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง
นักจิตวิทยาเผยวิธีดูแลจิตใจครอบครัวเหยื่อกราดยิง วอนหยุดแชร์ภาพรุนแรง
กรมสุขภาพจิต ดึงสติสังคม เร่งเยียวยา วอนสื่อเลี่ยงชื่อคนร้าย กันเลียนแบบ
วิธีจัดการกับภาวะ Headline Stress Disorder
-กำหนดเวลาในการเสพข่าว รับรู้ข้อมูล
-ในกรณีที่ใครเครียดมากๆ งดเสพข่าว งดใช้ social media สักพัก
-ติดตามข่าวจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะในปัจจุบันมีข่าวเยอะในสื่อสังคมออนไลน์เยอะมาก
-พยายามมองหาสิ่งที่ดีในข่าวที่อ่านบ้าง เพราะทุกอย่างมีทั้งด้านดีและด้านร้ายเสมอ
-อ่านข่าวอื่นที่ผ่อนคลายหรือดีต่อใจบ้าง
-พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้สมองไกเพักเรื่องเครียดๆ
-ทำกิจกรรมอื่นเพื่อคลายเครียด เช่น ดูหนัง หัวเพลง ไปเที่ยวกับเพื่อน สร้างสมดุลให้จิตใจ
-พูดคุยในเรื่องอื่นๆ อย่าหมกมุ่นกับเรื่องเดียว
-ไม่เสพโซเชียลก่อนนอน
-หารู้สึกเครียดไม่ไหวควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
Cr. กรมสุขภาพจิต / โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ / ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย