svasdssvasds

"หุ่นยนต์คางคก" พลังงานแสงอาทิตย์ ไม้เด็ดสู้ "โรคไข้เลือดออก" ของเปรู

"หุ่นยนต์คางคก" พลังงานแสงอาทิตย์ ไม้เด็ดสู้ "โรคไข้เลือดออก" ของเปรู

"เปรู" เป็นประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างหนัก ประชากรกว่า 80% ไม่มีน้ำสะอาดใช้ แถมที่มีใช้ก็เฟื่องไปด้วย "ยุงลาย" สตูดิโอ VNL จึงคิดค้น "หุ่นยนต์คางคกพลังงานแสงอาทิตย์" เพื่อใช้ไล่ยุงในแหล่งน้ำ

SHORT CUT

  • หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า “คางคกผู้พิทักษ์” หรือ Guardian Toad หุ่นยนต์คางคกตัวนี้ถูกใช้เพื่อต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศเปรู
  • ขณะนี้ ประเทศเปรูกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรง กว่า 80% ของประชากรไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด
  • ข้อดีคือหุ่นยนต์คางคกผู้พิทักษ์มีขนาดเล็ก ดังนั้น ในภาชนะบรรจุน้ำซึ่งมีพื้นที่แคบ แต่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่สำคัญที่สุด

"เปรู" เป็นประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างหนัก ประชากรกว่า 80% ไม่มีน้ำสะอาดใช้ แถมที่มีใช้ก็เฟื่องไปด้วย "ยุงลาย" สตูดิโอ VNL จึงคิดค้น "หุ่นยนต์คางคกพลังงานแสงอาทิตย์" เพื่อใช้ไล่ยุงในแหล่งน้ำ

"คางคกผู้พิทักษ์" หุ่นยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ พระเอกไล่ยุ่งของเปรู

หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า “คางคกผู้พิทักษ์” หรือ Guardian Toad หุ่นยนต์คางคกตัวนี้ถูกใช้เพื่อต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศเปรู สงสัยกันล่ะสิ...แค่หุ่นยนต์มันจะช่วยระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ยังไง

หุ่นยนต์คางคกพลังงานแสงอาทิตย์ Credit ภาพ Jhonatan Gibson

ขณะนี้ ประเทศเปรูกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรง ข้อมูลเปิดเผยว่า กว่า 80% ของประชากรไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ทำให้ชาวบ้านต้องช่วยกันหรอกน้ำสะอาดใส่ภาชนะพลาสติก

จากนั้น ชาวบ้านก็ขับรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายตามบ้านเรือน แต่เคราะห์ซ้ำ ภาชนะเหล่านั้นก็ไม่สะอาดเพียงพอ และไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ท้ายที่สุดภาชนะเหล่านั้นก็กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง (ซะงั้น)

“VNL” สตูดิโอผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบ “คางคกผู้พิทักษ์” เมื่อทราบถึงสถานการณ์ จึงเกิดคำถามว่า ในเมื่อยุงมันชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง ถ้าเราทำให้น้ำเคลื่อนไหวจะเป็นยังไงนะ?

หุ่นยนต์จะแล่นไปตามน้ำเพื่อไล่ยุงไม่ให้วางไข่ Credit ภาพ Jhonatan Gibson

คางคกผู้พิทักษ์ทำงานยังไง?

ต้องบอกว่าหุ่นยนต์ตัวนี้ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้ถ่านหรือแบตเตอรี่ แต่ใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์ที่ติดอยู่บริเวณหลัง เพื่อขับเคลื่อนใบพัดให้หุ่นยนต์สามารถเดินทางในน้ำไปได้เรื่อย ๆ

บนหลังจะมีแผงโซลาร์เซลล์ติดเอาไว้ Credit ภาพ Jhonatan Gibson

ข้อดีคือหุ่นยนต์คางคกผู้พิทักษ์มีขนาดเล็ก ดังนั้น ในภาชนะบรรจุน้ำซึ่งมีพื้นที่แคบ แต่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่สำคัญที่สุด หุ่นยนต์ตัวนี้ก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากที่เราต้องไปคอยกวนน้ำเพื่อไล่ยุง เราก็ใช้หุ่นยนต์ตัวนี้คอยทำหน้าที่นั้นให้เรา

แม้จะยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่าอัตราผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกในประเทศเปรูลดลงหรือไม่ แต่หลายฝ่ายต่างชื่นชมที่สามารถดัดแปลงหุ่นยนต์คางคกผู้พิทักษ์ แล้วนำไปใช้ต่อสู้กับ “ยุง” ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก เรียกได้ว่าสามารถใช้นวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนได้อย่างยอดเยี่ยมจริง ๆ 

 

ที่มา: designboom

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related