ชวนคุยกับ “เอกธนา ฝ่ายซ้ายคราม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกธนา เซอร์วิสเซส จำกัด ถึงเทรนด์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยมองถึงกรณีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมหันมามองการท่องเที่ยวไทย เติบโตมากแค่ไหน เจออุปสรรคใดอยู่
ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกให้ความสำคัญ ข้อมูลจาก Booking.com เผยว่า กว่า 73% ของนักท่องเที่ยวต้องการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน รักษ์โลก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประกอบกับที่ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยในปี 2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 28.2 ล้านคน และนักท่องเที่ยวไทยกว่า 249 ล้านคน โดยสร้างเม็ดเงินกว่า 2.17 ล้านล้านบาท
แต่ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สปริงนิวส์ได้นำเสนอเรื่องราวปะการังฟอกขาว ที่ขณะนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วทะเลไทย จนทำให้เกาะและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ต้องสั่งปิด หรือบางสถานที่จากที่เคยสวยงามก็เฟื่องไปด้วยขยะจากการที่ไม่ถูกที่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย
ดังนั้น การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) จึงเป็นเรื่องที่นักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญ
สปริงได้พูดคุยกับคุณ เอกธนา ฝ่ายซ้ายคราม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกธนา เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถึงเทรนด์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของโลก และความคืบหน้าของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในไทย
เอกธนา ฝ่ายซ้ายคราม เล่าว่า กระแสการท่องเที่ยวยั่งยืน (Sustainable Tourism) กำลังมาแรงมาก ทางฝั่งนักท่องเที่ยวเริ่มเที่ยวแบบคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มสูงที่จะเลือกใช้บริการที่ได้รับรองว่า มีการดำเนินงานตามมาตรฐานความยั่งยืน
ในกรณีของประเทศไทย เอกธนา ฝ่ายซ้ายคราม เผยว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเริ่มถูกผลักดันอย่างจริงจัง เห็นได้จากที่เครือโรงแรมขนาดใหญ่กระโดดเข้ามาทำเรื่อง Eco Tourism เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวระดับบน
แต่มองไปที่การท่องเที่ยวในระดับชุมชน ต้องบอกว่าส่วนใหญ่ยังคงติดขัดและประสบปัญหาในการผลักดัน หรือลงมือปฏิบัติตามแนวความคิดความยั่งยืน
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เอกธนา ฝ่ายซ้ายคราม ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนมากว่า 10 ปีซ้อน
สวิตเซอร์แลนด์โดดเด่นมากในแง่แบ่งปันผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้กับคนในท้องถิ่น คอนเซ็ปต์ง่าย ๆ ก็คือ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจะแบ่งหน้าที่กันไปตามสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ อาทิ ที่พัก อาหาร พืชผัก ผลไม้ ไข่ หรือแม้กระทั่งการผลิตไวน์ในท้องถิ่น
ซึ่งหากเปรียบเทียบราคากับสินค้าที่วางขายตามซุเปอร์มาร์เก็ต สินค้าจากชุมชนอาจมีราคาแพงกว่า แต่เทรนด์บอกว่านักท่องเที่ยวเต็มใจอุดหนุนสินค้าเหล่านี้ เพราะมั่นใจในความสดใหม่ และอยากกระจายรายได้ให้กับชุมชน
กลับมาที่ไทย เอกธนา ฝ่ายซ้ายคราม เล่าว่า มีหลายจังหวัดในประเทศที่เริ่มทำการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ส่วนใหญ่ยังคงติดขัดหรือยังไม่สามารถทำการท่องเที่ยวยั่งยืนของชุมชนให้เป็นระบบได้ ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องช่วยกันส่งเสริมผลักดันเรื่องนี้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
สำหรับผู้ที่สนใจในการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สามารถเข้าร่วมงาน INNOVATION TOURISM & HOSPITALITY FOR SUSTAINABILITY ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมเทรนด์นวัตกรรม และโอกาสการเติบโตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการสู่ความยั่งยืน ในวันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.00 – 20.00 น. ที่ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
โดยในงานนี้จะพบกับหัวข้อที่น่าสนใจ
• Swisstainable: Switzerland's strategy for sustainable tourism
• Trends and Challenges in Sustainable Tourism
• Innovation Tourism Hospitality for Sustainability
โดยวิทยากร
• Mr. Pedro Zwahlen, Ambassador of Switzerland to the Kingdom of Thailand, the Kingdom of Cambodia and the Lao People’s Democratic Republic
• Batiste Pillet, Director of Switzerland Tourism-South East Asia
• Mano Soler, Managing Director of Les Roches Global
• Thienprasit Chaiyapatranun, The President of Thai Hotel Association
• Jonathan Wigley ,CEO and Founder of the Absolute Hotel Services Group
• Anh-Thu Van Do (Anlee), General Manager Thailand, Philippines, Vietnam & The Mekong Region of Lufthansa Group
และตั้งแต่เวลา 18.20 น. พบกับช่วง Networking Time ที่จะสร้างโอกาสการเติบโตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.bangkokbiznews.com/tourismandhospitality
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 338 3000 กด 1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง