SHORT CUT
ดัน SMEs ไทยรุกตลาดคาร์บอนเครดิต เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว
เปิดตัวโครงการ SIP ประจำปี 2024 สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม
สนับสนุน SMEs เรื่องของแพลตฟอร์มการขอขึ้นทะเบียน และการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
หลายหน่วยงานเดินหน้า เร่งดัน SMEs ไทยรุกตลาดคาร์บอนเครดิต เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวและยั่งยืน
SMEs ไทยมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องรุกสู่ตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวและยั่งยืน ล่าสุดองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ TGO ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ และเปิดตัวโครงการ Sustainability Innovation Programme หรือ โครงการ SIP ประจำปี 2024
ซึ่งจัดโดย ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม ให้ประสบความสำเร็จในการนำความยั่งยืนมาสู่ธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่กว้างขวางของยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) ซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้คำปรึกษา และ SMEs
ทั้งนี้โครงการ SIP เกิดจากความร่วมมือกันของพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) PwC ประเทศไทย TGO จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการยั่งยืนนิยม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 และ 30 พฤษภาคม 2567 ที่กรุงเทพฯ ประกอบด้วย Workshop และมาสเตอร์คลาส ที่ออกแบบมาสำหรับ SMEs ไทย ที่ผ่านการคัดเลือกมากกว่า 200 ราย
ซึ่งผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการจะได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านความยั่งยืน เครื่องมือวัดผล ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance - ESG) แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว
โดยภายในงาน นายเกียรติชายฯ ผู้อำนวยการ TGO กล่าวว่า ปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นความจำเป็นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ หลังนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศมุ่งเป้าจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่ามีหลายๆ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero มากขึ้น
แต่ไม่มีความรู้ที่แน่ชัดว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน ด้วยเหตุนี้ทาง TGO จะเข้ามาช่วย เสริมโครงการ SIP ในจุดนี้ได้ ด้วยการสนับสนุน SMEs ทั้งในเรื่องของแพลตฟอร์มการขอขึ้นทะเบียน และการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตลอดจนให้คำปรึกษาและข้อแนะนำต่างๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ SMEs ให้สามารถรุกตลาดคาร์บอนเครดิตได้ ทั้งเป็นหน่วยงานกลางให้ความรู้และช่วยในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ เพื่อการวางแผนและดำเนินการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของบริษัทต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เวียดนามทำได้จริง ขายคาร์บอนเครดิตจากป่าไม้รับเงิน 1.4 พันล้านบาท
คาร์บอนเครดิตป่าไม้ คืออะไร? ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และสร้างมูลค่าได้
สรุปสถานการณ์ "คาร์บอนเครดิต" ทั่วโลก ไทยขึ้นทะเบียนใหม่ 53 โครงการ