svasdssvasds

แจก 3 วิธีกำจัดกระป๋องอลูมิเนียมแบบรักษ์โลก ฉบับครัวเรือน

แจก 3 วิธีกำจัดกระป๋องอลูมิเนียมแบบรักษ์โลก ฉบับครัวเรือน

กระป๋องอลูมิเนียม หนึ่งในประเภทขยะที่กระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก แต่ทำอย่างไรดี เมื่อใช้แล้ว จะไม่หลงไปยังสิ่งแวดล้อม แจก 3 วิธีกำจัดกระป๋องให้เป็นมิตรต่อโลก

กระป๋องอลูมิเนียม ทั้งน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่อัดอยู่ในกระป๋องลมเหล่านี้ ล้วนเป็นสินค้าที่แพร่กระจายทั่วโลก และก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่สร้างขยะได้มากพอ ๆ กับถุงพลาสติกเลย

สินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกระป๋องกำลังมาแรง Cr. Pixarbay แต่ในยุคสมัยใหม่ของการจัดการขยะ กระป๋องถูกแยกจำพวกว่ารีไซเคิลได้ ซึ่งเราสามารถแยกประเภทของเค้าออกมาได้ชัดเจนว่าควรทิ้งลงถังขยะแบบไหน ถึงจะถูกต้องตามกระบวนการแยกขยะ นั่นจึงทำให้หลายคนเริ่มเข้าใจและชินแล้วว่า กระป๋องอลูมิเนียมกำจัดอย่างไร แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนหรือเด็ก ๆ รุ่นใหม่หลายคนที่อาจยังไม่ทราบว่านอกจากทิ้งลงถังขยะรีไซเคิลแล้ว กระป๋องอลูมิเนียมสามารถกำจัดด้วยวิธีการอื่น ๆ ได้ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น สปริงนิวส์ ในคอลัมน์ Keep The World บทความนี้จะชวนไปหาทางออกให้กับกระป๋องอลูมิเนียมกัน ว่า กระป๋องในมือเรากำจัดอย่างไรได้บ้าง ให้ปลายทางของพวกมันไมไปสู่หลุมฝังกลบหรือสิ่งแวดล้อม แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย

แจก 3 วิธีกำจัดกระป๋องอลูมิเนียมแบบรักษ์โลก ฉบับครัวเรือน โดยเราสามารถกำจัดกระป๋องอลูมิเนียมได้ 3 วิธีหลัก

1.สามารถส่งไปรีไซเคิลเป็นกระป๋องใบใหม่ได้ โดยร่วมกับ Thai Beverage Recycle และ Aluminium Loop ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่น่าเพจเลย หรือจะทิ้งตามกล่องรับรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมที่ไหนก็ได้ เพราะสุดท้ายจะมีผู้รับซื้อรายใหญ่เข้าไปรับมารีไซเคิลต่ออยู่ดี และแนะนำประชาชนทุกคนว่า ก่อนส่งไปหรือทิ้ง เรามาช่วยกันทำความกันนิดหน่อยก่อนดีกว่า เพื่อลดกระบวนการเพื่อทำให้ขยะสามารถส่งไปรีไซเคิลได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการ ล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง บีบให้แบน และส่งไปได้เลย

2.สามารถขายให้กับซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่าได้เลย ตอนนี้คาดว่าราคาประมาณ 40-47 บาทต่อกิโลกรัม และยังคงแนะนำเหมือนเดิมว่า ควรขายเป็นน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไปบีบให้แบนเพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บ จะทำให้เราอาจขายได้ราคาดีกว่ากระป๋องสกปรกและไม่ถูกบีบให้แบนนะ

3.สามารถบริจาคไปทำขาเทียมพระราชทานให้กับผู้พิการ ซึ่งสามารถบริจาคเป็นกระป๋องไปได้หรือบริจาคเป็นเงินก็ได้ หากบริจาคเป็นกระป๋องก็ขอให้ล้างให้สะอาด แห้ง และก็ส่งผ่านไปรษณีย์ไทยได้ ถ้าส่งกล่องละไม่เกิน 5 กิโลกรัมส่งฟรีด้วยนะ สามารถส่งไปได้ที่ โครงการบริจาคอะลูมิเนียมเพื่อจัดทำขาเทียมพระราชทาน กรมควบคุมมลพิษ เลขที่ 92 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

ส่งไปทำขาเทียมได้ด้วย Cr. Freepix หรือส่งไปยังจุดรับบริจาคอื่น ๆ ได้ เช่น

  • กรมควบคุมมลพิษ
  • สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต
  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16
  • สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทุกจังหวัด
  • มูลนิธิขาเทียมฯ

ที่มาข้อมูล

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) 

Thai Beverage Recycle

related