สืบเนื่องจากงานเสวนา “โลกร้อนในโลกรวน” รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต เปิดเผยว่า รัฐล้มเหลวอย่างชัดเจนสำหรับการรับมือน้ำท่วม น้ำท่วม 2567
“สทนช. บอกว่าบูรณาการข้อมูลแล้วส่งให้ชาวบ้านไปแล้ว แต่ทำไมชาวบ้านถึงไม่ได้รับข่าวสาร มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมยังเห็นชาวบ้านอยู่บนหลังคาอยู่ ทำไมต่างคนต่างเข้าไปช่วยเหลือโดยไม่มีศูนย์กลางคอยบัญชาการ”
“ทั้งหมดนี้เป็นผลพวงมาจากการที่มีช่องว่างในการทำงานระหว่างหน่วยงาน และท้องถิ่น ซึ่งฝั่งท้องถิ่นเองก็ไม่มั่นใจว่าต้องเลือกฟังใคร เพราะมีข่าวสารมาจากหลานหน่วยงาน”
โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ชี้ให้เห็นอีกว่าการรับมือน้ำท่วมมีหลักคิดคือ Simplest is the best ซึ่งขัดแย้งกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ดังนั้น ถึงเวลาที่นายกรัฐมนตรีต้องประกาศให้ชัดว่าจะให้ข้อมูลมาจากหน่วยงานใด ใครมีหน้าที่ทำอะไร เพื่อให้การพูดคุย และการสั่งงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสียเวลา
ทางด้านของ ฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะรับหน้าที่ดูเรื่องน้ำ โดยอยู่ระหว่างการร่างคำสั่งตั้งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เพื่อบูรณาการสรุปประเมินปริมาณน้ำ และรับหน้าที่ให้ข้อมูลหลักเรื่องน้ำ และเป็น Single Command
“เราให้ข้อมูลไปแล้ว จะทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพให้เครือข่ายที่รับข้อมูล โดยเฉพาะ ปภ. และกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรธรณี พยายามมาซักซ้อมว่าข้อมูลมาแล้วจะเตรียมการอย่างไร ก็จะเป็นเรื่องที่ดี และหน่วยงานหลักที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น ทำอย่างไรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียนรู้สถานการณ์ และเรียนรู้ระบบว่าข้อมูลที่ได้ไปนั้น บ่งบอกว่าเสี่ยงกับชุมชน หรือพื้นที่อย่างไร ในส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนที่สามารถปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระยะใกล้นี้”
ขณะที่ ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์น้ำท่วม 2567 ไม่สามารถเปรียบเทียบกับปี 2557 ได้ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปหลายข้อ ดังนี้
ประเด็นสำคัญที่ ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า กล่าวทิ้งท้ายคือ สทนช.ต้องผลักดันให้เกิดการจัดการน้ำในภาวะวิกฤตแบบ single command ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561และนอกจากนี้ บุคคลในฐานะปัจเจก ต้องกลับมาทบทวนเรื่องกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งหมดนี้มีส่วนทำให้ปริมาณฝนมากผิดปกติ หรือไม่ก็แห้งแล้งจัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง