นักวิจัยตรวจพบไวรัสหลายสิบชนิดปะปนในสัตว์ของฟาร์มขนสัตว์ในประเทศจีน ซึ่งบางส่วนเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่และมีศักยภาพที่จะแพร่กระจายสู่มนุษย์
พวกเขาตรวจพบไวรัส 125 ตัว ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธ์ใหม่ 36 ตัว
นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นักวิทยาศาสตร์ต่างออกมาเตือนว่าการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ตัวมิงค์ที่เลี้ยงเพื่อใช้เก็บเกี่ยวขนสัตว์ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ไวรัสตัวใหม่ข้ามมาจากธรรมชาติและแพร่ระบาดสู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดของไวรัสครั้งใหม่
เอ็ดเวิร์ด โฮมส์ หนึ่งในนักไวรัสวิทยา ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ว่าเขารู้สึกว่าอุตสาหกรรมการทำฟาร์มขนสัตว์ทั่วโลก “เป็นหนทางหนึ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดที่การระบาดครั้งใหม่จะเกิดขึ้น” และมองว่าอุตสาหกรรมการทำฟาร์มขนสัตว์ทั่วโลกควรถูกปิดตัวลง
ขณะที่ทีมนักวิจัยที่นำโดยจีนได้จัดลำดับสารพันธุกรรมจากตัวอย่างปอดและลำไส้ของสัตว์ 461 ตัว เช่น มิงค์ กระต่าย สุนัขจิ้งจอก และสุนัขแรคคูนที่เสียชีวิตจากโรคนี้ทั่วประเทศระหว่างปี 2021 ถึง 2024 ทั้งที่มาจากฟาร์มและที่เป็นสัตว์ป่า
พวกเขาตรวจพบไวรัส 125 ตัว ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธ์ใหม่ 36 ตัว
ทีมนักวิจัยประเมินแล้วว่า มีไวรัส 39 ชนิดมีความเสี่ยงสูงที่จะข้ามสายพันธุ์ต่างๆ รวมถึงในมนุษย์ด้วย ส่วนไวรัสบางชนิด เช่น โรคตับอักเสบอี และโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ได้แพร่กระจายสู่มนุษย์แล้ว
นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบโคโรนาไวรัสอีก 7 ประเภทด้วย แม้ว่าจะไม่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโควิดก็ตาม
นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ายังไวรัสที่ไม่รู้จักอีกหลายพันตัวแพร่กระจายอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในป่า และกังวลว่าฟาร์มขนสัตว์อาจทำให้สัตว์ในฟาร์มติดไวรัสดังกล่าวและอาจเกิดการสัมผัสกับมนุษย์ได้
โดยจากการศึกษานี้ นักวิจัยเรียกร้องให้เพิ่มการเฝ้าระวังสัตว์ในฟาร์มขนสัตว์ โดยเฉพาะมิงค์ สุนัขแรคคูน และหนูตะเภา ซึ่งมีไวรัสที่ "มีความเสี่ยงสูง" มากที่สุด
ที่มา: hglobalnation