มลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่จะมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ส่งผลให้สารประกอบทางเคมีของดอกไม้ที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมนั้นเสื่อมโทรมลง ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลกับพฤติกรรมของแมลง ทำให้เกิดความสับสนอีกด้วย
การศึกษาใหม่ว่ามลพิษทางอากาศอาจทำให้ดอกไม้น่าดึงดูดใจน้อยลงสำหรับแมลงผสมเกสร ซึ่งสารประกอบที่เรียกว่า อนุมูลไนเตรต (Nitrate) ซึ่งมีอยู่มากมายในอากาศในเมืองเวลากลางคืน ซึ่งจะลดกลิ่นที่ปล่อยออกมาจากดอก Evening Primrose ที่สีซีดอย่างรุนแรง
เป็นที่รู้กันดีว่ามลพิษทางอากาศสามารถส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งสารเคมีที่ผลิตโดยกิจกรรมของมนุษย์สามารถดักจับความร้อนในชั้นบรรยากาศ และสามารถเปลี่ยนแปลงเคมีในมหาสมุทร และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
นอกจากนี้มลพิษยังรบกวนการสืบพันธุ์ของพืช และลดผลผลิตของผลไม้และยังอาจคุกคามแมลงผสมเกสรซึ่งอาศัยน้ำหวานจากดอกไม้เพื่อการยังชีพ และตอนนี้ปัญหานี้ก็กำลังทวีความรุนแรงขึ้น
Jeff Riffell นักประสาทชีววิทยาด้านประสาทสัมผัสและนักนิเวศวิทยามหาวิทยาลัย Washington ได้ศึกษาดอก Evening Primrose สีซีด ซึ่งเป็นพืชที่มีดอกละเอียดอ่อนและบานในเวลากลางคืน แมลงผสมเกสรที่สำคัญ ได้แก่ ผีเสื้อกลางคืนซึ่งมีหนวดตรวจจับกลิ่นที่ไวอย่างยิ่ง
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการเก็บตัวอย่างโดยผูกถุงพลาสติกไว้เหนือดอกไม้เพื่อเก็บตัวอย่างอากาศบริเวณนั้น แล้วนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน 22 ชนิด
จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้บันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้าของหนวดของผีเสื้อกลางคืน เมื่อสัมผัสกับสารประกอบกลิ่นเหล่านี้ พวกเขาพบว่าผีเสื้อกลางคืนมีความไวต่อสารประกอบกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าโมโนเทอร์พีนเป็นพิเศษ ซึ่งยังช่วยให้ต้นสนมีกลิ่นหอมสดชื่นและเขียวตลอดปีอีกด้วย
นักวิจัยใช้กลิ่นหอมที่น่าดึงดูดเหล่านี้เพื่อปรุงกลิ่นดอกพริมโรสจำลองจากนั้น เพิ่มอนุมูลโอโซนและไนเตรต ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้สามารถก่อตัวได้เมื่อเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ สรุปง่ายๆ คือนักวิจัยได้จำลองความเป็นอยู่ของดอกไม้ท่ามกลางมลพิษ โดยจำลองการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล
การจำลองการค้นพบนี้โดยวางดอกไม้ประดิษฐ์ในต้นพริมโรส ซึ่งนักวิจัยพบว่า ดอกไม้ที่ปล่อยกลิ่นหอมออกมาน้อยกว่ามราเคย ผีเสื้อกลางคืนมาดอมดมดอกไม้น้อยถึง 70 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาหนึ่งคืน เมื่อเทียบกับดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมเหมือนเดิม ซึ่งนักวิจัยเผยว่า “สภาพแวดล้อมทางเคมีมีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดรูปแบบชุมชนนิเวศ”
นักวิจัยเชื่อว่าปัญหานี้ขยายไปไกลเกินกว่าผีเสื้อกลางคืนและดอกพริมโรส แมลงผสมเกสรหลายชนิดไวต่อโมโนเทอร์พีน ซึ่งพบได้ทั่วไปในกลิ่นดอกไม้ นักวิจัยได้ใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์คำนวณว่าดอกไม้ในหลายเมืองทั่วโลก ได้รับผลกระทบจากมลภาวะ ซึ่งพบว่าการตรวจจับกลิ่นลดลงมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรม
ที่มา : The New York Times
เนื้อหาที่น่าสนใจ :