svasdssvasds

นึกว่าหนัง Birkin! สหรัฐ พบ ฟอสซิลผิวหนัง สัตว์เลื้อยคลาน เก่าแก่ที่สุดในโลก

นึกว่าหนัง Birkin! สหรัฐ พบ ฟอสซิลผิวหนัง สัตว์เลื้อยคลาน เก่าแก่ที่สุดในโลก

สหรัฐ ขุดพบ "ฟอสซิลผิวหนัง" สัตว์เลื้อยคลาน อายุเก่าแก่ที่สุดในโลก (543 - 245 ล้านปี) ที่ถ้ำ Richard Spur ในรัฐโอคลาโฮมา แม้เก่าหลายล้านปี แต่ยังอยู่ในสภาพดีมาก เพราะถูกน้ำมันดิบเคลือบไว้ การค้นพบนี้สำคัญอย่างไร ติดตามที่บทความนี้

การค้นพบในครั้งนี้ทำให้เราได้ล่วงรู้ช่วงเวลาที่สัตว์เลื้อยคลานเริ่มขึ้นมาใช้ชีวิตบนบก

นักบรรพชีวิน ค้นพบ “ฟอสซิลผิวหนัง” ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในถ้ำที่สหรัฐ คาดว่าเป็นผิวหนังของสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งอาศัยอยู่ในยุคพาลีโซอิก (Palaeozoic) หรือประมาณ 543 – 245 ล้านปีก่อน ทั้งนี้ สัตว์เลื้อยคลานถือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดแรก ๆ ที่ขึ้นจากน้ำมาใช้ชีวิตบนบก

พบฟอสซิลหนังสัตว์เลื้อยคลานเก่าแก่ที่สุดในโลก

ในอดีตที่ผ่านมา ฟอสซิลที่ถูกขุดพบ จะไม่ได้อยู่ในสภาพดีเท่าไร เนื่องจากต้องฝังอยู่ตามดิน หรือหิน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเกิดการสึกหรอไปตามกระบวนการทางธรณีวิทยา ดังนั้น การจะค้นพบซากฟอสซิลที่อายุเก่าแก่แล้วยังอยู่ในสภาพดี อาจเป็นแค่ฝันหวานตอนกลางวัน

ทว่า มิใช่แค่ความฝันอีกต่อไป เมื่อมีการค้นพบชิ้นส่วนผิวหนังสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งคาดว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานโบราณ ที่เหมืองหินในรัฐโอคลาโอมา ของสหรัฐอเมริกา

ภาพจำลองสัตว์เลื้อยคลานในยุคพาลีโซอิก (Palaeozoic) Cr. Michael deBraga

การค้นพบในครั้งนี้ เกิดจากการที่นักบรรพชีวินออกไปสำรวจถ้ำในเหมือง Dolese Brothers สถานที่ซึ่งกักเก็บซากฟอสซิลเอาไว้มากมาย และเป็นแหล่งยอดนิยมในการขุดซากฟอสซิลมากแห่งหนึ่ง เหมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา

เบื้องต้นสันนิษฐานว่า สัตว์เลื้อยคลานตัวนี้ตกลงไปในถ้ำและหาทางออกไม่ได้ กระทั่งอดน้ำ-อาหารตาย คำถามคือ ผ่านมาเป็นร้อยล้านปี เหตุใดผิวหนังยังอยู่ในสภาพดี ประหนึ่งคล้ายหนังกระเป๋า Birkin ราคาแพง

เนื่องจากสภาพแวดล้อมของถ้ำ ซึ่งมีน้ำมันดิบจำนวนมาก ได้เคลือบส่วนผิวหนังของกิ้งก่าเอาไว้ ทำให้ออกซิเจนในถ้ำ (ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว) กร่อนผิวหนังให้เสียหายได้แค่บางส่วนเท่านั้น

หลังจากค้นพบ ฟอสซิลผิวหนังนี้ถูกนำเข้าไปตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า ผิวหนังชั้นนอกเรียงเกล็ดกันแบบที่บรรดานักบรรพชีวินคาดคะเนไว้จริง ๆ ด้วย เพราะก่อนหน้านี้ทำได้แค่จินตนาการตามหลักฐานที่มี เพราะยังไม่มีใครเคยเจอของจริงในสภาพที่สมบูรณ์

ซากฟอสซิลผิวหนังสัตว์เลื้อยคลาน ที่ยังอยู่ในสภาพดีมาก Cr. Ethan D. Mooney

ส่องกล้องไปที่ “ฟอสซิลผิวหนัง” พบอะไรบ้าง?

ฟอสซิลผิวหนังนี้ มีลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลานยุคโบราณ - ยุคปัจจุบัน พูดให้เห็นภาพคือ คล้ายกับหนังจระเข้ บางส่วนของผิวหนังมีลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น งูและกิ้งก่า

แต่สงสัยกันหรือเปล่าว่า ทำไมสัตว์เลื้อยคลานโบราณ จนถึงปัจจุบัน ถึงยังมีผิวหนังละม้ายคล้ายเดิม เวลาหลายร้อนปีจะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลยหรือ?

ในยุคพาลีโซอิก (Palaeozoic) เป็นสมัยที่สัตว์เลื้อยคลานเริ่มขึ้นจากน้ำมาใช้ชีวิตอยู่บนบก ถึงตรงนี้เดาได้เลยว่า ระบบวิวัฒนาการจะเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว เมื่อสัตว์ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไป

โดยสัตว์เลื้อยคลานจะวิวัฒนาการผิวหนังเผ่าพันธุ์ตัวเองให้แข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะแข็งแรงทนทานมากพอในการทานทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

 

 

ที่มาข้อมูล: Independent UK 

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related