วันค้างคาวโลก 17 เมษายนยนของทุกปี ชวนตระหนักรู้ความสำคัญของค้างคาว มีผลต่อความสมบูรณ์ของป่ามากแค่ไหน และทำไมเราควรปกป้องพวกมัน พร้อมเรียนรู้ 7 Fact เกี่ยวกับค้างคาว
เราทุกคนทราบกันดีว่า ค้างคาวเป็นสัตว์ที่น่ามหัศจรรย์ขนาดไหน มันน่ามหัศจรรย์จนถึงขนาดที่ว่ามนุษย์นำมันไปเป็นต้นแบบของความบันเทิงและนัยยะหลายอย่าง อาทิ เป็นซูเปอร์ฮีโร่ (แบทแมน) หรือเป็นตัวแทนของปีศาจกลัวแสงและกระเทียมอย่างแดรกคูล่า
ค้างคาวเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน และมีบทบาทสำคัญมาก ๆ ในระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าทั่วโลกมีค้างคาวมากกว่า 1,400 สายพันธุ์ อยู่ในสปีชีส์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบินได้ งั้นมาดูกันว่า ทำไมเราจึงมีวันค้างคาวสากล มันสำคัญต่อเรามากขนาดไหน?
ประวัติวันค้างคาวสากล
องค์กร Bat Conservation International (BCI) ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องค้างคาว เพราะค้างคาวมีส่วนในการควบคุมศัตรูพืช สร้างปุ๋ยที่อุดมสมบูรณ์ให้ที่ดินต่าง ๆ ที่ได้บินผ่านหรืออยู่อาศัย โดยเฉพาะไร่ที่ปลูกพืชผลทางการเกษตร อีกทั้งยังสามารถผสมเกสรดอกไม้ได้เหมือนผึ้งด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภาพสุดเศร้า! เต่าน้อยถูกไฟป่าครอกตายในป่าเชียงดาว คาดไฟมาจากคนหาของป่า
ประชากรนกในสหราชอาณาจักรลดลงต่อเนื่อง นักวิชาการชี้เพราะรัฐล้มเหลว
เจ้ามูน วาฬหลังหักเพราะถูกเรือชน หนึ่งในเหยื่อวาฬนับพัน เพราะเรือเยอะขึ้น
ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้พวกเขาตั้งวันที่ 17 เมษายนของทุกปีเป็นวันค้างคาวสากลหรือค้างคาวโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของค้างคาวและเพื่อให้เข้าใจว่าพวกมันไม่ได้น่ากลัวหรือน่ารังเกียจมากขนาดนั้น พวกมันก็แค่สัตว์ชนิดหนึ่งที่ไม่มีพิษสงใดๆ
หากพื้นที่ไหนไม่มีค้างคาว ก็คงไม่มีพืชหรืออาหารให้กับสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ เนื่องจากของเสียของค้างคาวอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่สามารถกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีให้กับพืชผลในป่าได้
ค้างคาวถูกพิจารณาว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
กิจกรรมของมนุษย์หลายอย่างกำลังทำให้ค้างคาวบางสายพันธุ์เริ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ สปีชีส์ค้างคาวกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐฯอเมริกาถูกขึ้นบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และค้างคาวในไทยเองหลายตัวก็ได้ขึ้นทะเบียนสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ด้วยเหมือนกัน
แม้ว่าทุกวันนี้เรายังคงเห็น ฝูงค้างคาวบินไปมาอยู่ในช่วงยามเย็น แต่นั่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หากเทียบกับปริมาณค้างคาวทั่วโลก
สวนสัตว์โคราชเผยโฉม ลูกพญาแร้ง ตัวแรกของไทย รอนาน 30 ปี หลังสูญพันธุ์ไปแล้ว
อินเดียทำได้! เพิ่มประชากรเสือโคร่งที่ใกล้สูญพันธุ์ได้สำเร็จ ภายใน 16 ปี
สิ่งที่มนุษย์คุกคามพวกมันจนทำให้เสี่ยงสูญพันธุ์มีตั้งแต่ การตัดไม้ทำลายป่า การทำเหมืองแร่ และการท่องเที่ยวที่ขาดความรับผิดชอบ ทำให้ประชากรค้างคาวลดลงอย่างรวดเร็ว
อีกทั้งพวกมันยังถูกมองว่าเป็นตัวร้ายของการเป็นแหล่งพาหะนำโรคหรือเชื้อไวรัสบางชนิดให้กับมนุษย์ แต่นั่นเป็นความผิดของพวกมันจริงเหรอ พวกมันเพียงแค่ใช้ความสามารถในการช่วยลดจำนวนแมลงศัตรูพืชก็เพียงแค่นั้น
ค้างคาวเป็นแหล่งเชื้อโรคก็จริงอยู่ เนื่องจากที่อยู่อาศัยที่พวกมันชอบคือความมืดและความชื้นของถ้ำ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย ที่จะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ในความชื้นเหล่านั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือเราต้องไม่ยุ่งกับพวกมันเลย ไม่ล่ามาทำเป็นอาหาร ไม่เข้าไปในถิ่นที่อยู่ของพวกมัน เนื่องจากมีการศึกษาหนึ่งเผยว่า การสูดดมอากาศในถ้ำที่มีค้างคาวอาศัยจำนวนมาก อาจทำให้ปอดติดเชื้อหรือมีโรคในระบบทางเดินหายใจ
และที่สำคัญคือ เราต้องไม่คุกคามที่อยู่อาศัยของพวกมันด้วย การตัดไม้ทำลายป่า การขยายตัวของเมือง การทำเหมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้ถิ่นที่อยู่ของค้างคาวแคบลง จนในที่สุดก็ลดจำนวนลงตามไปด้วย ซึ่งมันไม่เป็นผลดีเอาเสียเลย
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับค้างคาว รู้หรือไม่?
ค้างคาวเป็นตัวละครหลักอีกตัวที่ช่วยให้สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ได้ มาช่วยกันรักษาค้างคาวและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
ที่มาข้อมูล