จากวันนั้น จนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 55 ปี กฟผ. บน 5 เส้นทาง พร้อมเดินหน้าลุยพลังงานสะอาดเต็มสูบ สู่ Carbon Neutrality
จากจุดเริ่มต้นของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานดูแลความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย มาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 55 ปี หรือกว่าครึ่งศตวรรษ ที่ กฟผ. ยังคงมุ่งมั่นตั้งใจความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ รวมถึงการแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าอย่างมีเสถียรภาพ
55 ปี กฟผ. ได้ผ่าน และเรียนรู้อะไรมามากมาย มาถึงยุคปัจจุบันที่โลกกำลังเปลี่ยนไป และมุ่งสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน จึงทำให้ กฟผ. ต้องเปลี่ยนผ่านพลังงานจากพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียน เป็นการนำพลังงานที่กำเนิดจากธรรมชาติรอบตัวเราและใช้ได้ไม่หมดสิ้น อย่าง พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม มาใช้ประโยชน์ให้กับมนุษย์นับเป็นความท้าทายของนานาประเทศทั่วโลกที่ต้องเร่งเพิ่มอัตราการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้มากที่สุด เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
วันนี้โลกได้ก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด คือคำตอบของ “พลังงานแห่งอนาคต” ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด กฟผ. ได้พัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน “โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ” (Hydro-Floating Solar Hybrid) ในพื้นที่ 9 เขื่อนของ กฟผ. รวมกำลังการผลิต 2,725 เมกะวัตต์ โดยผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์ พลังน้ำ และแบตเตอรี่ ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีเสถียรภาพ
รวมทั้งพัฒนาโครงข่ายระบบไฟฟ้าให้ทันสมัย (Grid Modernization) รองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน และแสวงหาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ๆ เช่น การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กเพื่อ เป็นแหล่งพลังงานสะอาดให้กับประเทศในอนาคต
ในขณเดียวกัน กฟผ. ยังร่วมส่งเสริมระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ของประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยเร่งขยายการให้บริการสถานีชาร์จ EleX by EGAT และสถานีพันธมิตรในเครือข่าย EleXA แล้วกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงการให้บริการออกแบบและติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร (one-stop service) สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้อีวี และสนับสนุนให้การมาถึงของยุคยานยนต์ไฟฟ้าเกิดได้รวดเร็วขึ้น
นอกจากเรื่องพลังงานสะอาดแล้ว กฟผ. ยังมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องควบคู่ไปกับการ “ใช้อย่างรู้ คุณค่า” การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand SideManagement: DSM) จึงเกิดขึ้นเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า ประหยัด และมีประสิทธิภาพ ผ่านฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ซึ่งได้พัฒนายกระดับเพิ่มเกณฑ์ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ละเอียดและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศภายใต้โครงการปลูกป่าที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2537 โดยมุ่งเน้นการปลูกป่าต้นน้ำและป่าชายเลนอย่างมีคุณภาพ พร้อมต่อยอดสู่โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม เป้าหมาย 1 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 10 ปี (ปี 2565-2574) สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ในการดูแลบำรุงรักษาป่าที่ปลูกให้เติบโตอย่างยั่งยืน คาดว่าตลอดระยะเวลาของโครงการฯ จะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 23.6ล้านตัน
วันนี้ กฟผ. บน 5 เส้นทางภารกิจสร้างมั่นคงระบบไฟฟ้าไทย ได้เดินหน้าสู่พลังงานสะอาดเต็มสูบ รวมถึงการทำธุรกิจควบคู่ไปกับเรื่องความยั่งยืน เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ในอนาคตอันใกล้นี้