ชวนรู้จัก! จักรยานไฟฟ้าที่ไม่ใช้แบตเตอรี่ Pi-Pop จักรยานไฟฟ้าที่มาแก้ปัญหาแบตเตอรี่ลิเธียมไม่รักษ์โลกด้วยการออกแบบจักรยานไฟฟ้าแบบใหม่ที่ใช้พลังของไฟฟ้าสถิตแทน
ในเมื่อยานพาหนะไฟฟ้าถูกครหาว่า ไม่ได้รักษ์โลกอย่างแท้จริงเพราะใช้แบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก เช่น ลิเธียมและแร่หายาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี EV จึงไม่ได้รักษ์โลก
แล้วทำยังไงให้ยานพาหนะ EV เป็นยานพาหนะที่รักษ์โลกได้หมดจด และไม่เปลืองแรงผู้ใช้งาน ด้วยเหตุนี้ นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งจึงลองท้าทายขีดจำกัดดังกล่าว และดูเหมือนว่าเขาจะทำสำเร็จซะด้วย
Pi-Pop คือชื่อของจักรยานไฟฟ้า หรือ e-bike ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Adrien Lelièvre นักประดิษฐ์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ เขาได้ออกแบบให้ Pi-Pop ใช้พลังงานที่ไม่ได้มาจากแบตเตอรี่หรือการชาร์จ แต่เป็น Supercapacitors แถมจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้วด้วย
หรือถ้ามองให้เห็นภาพของจักรยานคือ ซูเปอร์คาพาซิเตอร์จะกักเก็บพลังงานเมื่อผู้ขี่ ปั่นหรือเบรก แต่มีข้อเสียนิดหนึ่งตรงที่จะเก็บพลังงานได้น้อยลงเมื่อมีการขี่ขึ้นเนิน สำหรับการขี่ในลักษณะเมืองของยุโรปอาจจะง่ายเนื่องจากเนินน้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โตโยต้า จับมือ Studio Ghibli เปิดตัว "Catbus" รถบัสแมวสุดน่ารัก ขุมพลังไฟฟ้า
Solar Airship One เรือเหาะพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อบินรอบโลกตลอดไป
แนวคิดของซูเปอร์คาพาซิเตอร์ไม่ใช่นวัตกรรมใหม่ในตัวเอง รุ่นแรกถูกผลิตขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ 1970 ปัจจุบันมีการใช้ในระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ (เช่น แผงโซลาร์เซลล์) กล้องดิจิตอล และยานพาหนะไฮบริดหรือไฟฟ้าบางประเภทเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
แม้ Pi-Pop จะไม่มีการใช้วัสดุหายากในการผลิตจักรยาน แต่ซูเปอร์คาพาซิเตอร์ทำจากคาร์บอนโพลีเมอร์นำไฟฟ้า อะลูมิเนียมฟอยล์ และเยื่อกระดาษ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีกระบวนการรีไซเคิลอยู่แล้ว และไม่จำเป็นต้องรอการให้ชาร์จเหมือนการใช้ e-bike คลาสสิก
นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิต Pi-Pop ยังเผยอีกว่า อายุการใช้งานของซูเปอร์คาพาซิเตอร์มีตั้งแต่ 10-15 ปี เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีอายุ 5-6 ปีเท่านั้น
ปัจจุบัน Pi-Pop ยังถูกผลิตเพื่อใช้ในเมืองเล็ก ๆ ของฝรั่งเศสเท่านั้น เนื่องจากโรงงานการผลิตและเจ้าของเองยังไม่มีกำลังมากพอจะสร้างเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และยังต้องการพัฒนาจักรยานต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มาข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง