SHORT CUT
ระบบคมนาคมไทย ก้าวสู่ความยั่งยืน ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มอบอนาคตที่ดีให้กับลูกหลานพร้อมสร้างรายได้ให้กับประเทศ
ที่งาน "Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business" ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันแลกเปลี่ยนกลยุทธ์และประสบการณ์การดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน งานจะจัดขึ้นในวันที่ 3-4 ธ.ค. 2567 ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน
ภายในงานมีการเสวนาเน้นย้ำการขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืนซึ่งครอบคลุม 3 มิติหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมเสวนา Panel Discussion: The Next Chapter of Transportation for Sustainability
โดยแผนที่กระทรวงมาคมกำลังขับเคลื่อนจะแบ่งเป็นสองเรื่องคือคนและสินค้า
ขับเคลื่อนการขับเคลื่อนก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องทำให้ประชาชนออกจากบ้านเข้าสู่รถไฟฟ้าได้สะดวก เอาตรงๆ ว่านิสัยคนไทยอะไรที่สะดวกค่อยใช้ ดังนั้นอาจจะมีนโยบายที่ทำให้คนอยากใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น จุดประสงค์คือการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนมาใช้รถไฟฟ้าวิธีการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ต่างประเทศเช่นลอนดอนก็ใช้
เรื่องของสินค้าจะลดการขนส่งผ่านรถบรรทุกให้น้อยลง ค่าใช้จ่ายของค่อนข้างสูงจึงเป็นโครงการเปลี่ยนการขนส่งผ่านรถทุกเปลี่ยนมาเป็นระบบรางเช่นกันการทำรถไฟทั้งคู่ต้องมีสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าให้ครบ
ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้นมีน้ำท่วมเชียงใหม่เชียงรายมีน้ำท่วมภาคใต้เหตุการณ์ ไม่ใช่เหตุการณ์ประเทศปกติแต่เป็นสภาวะโลกที่เปลี่ยนไปกระทรวงคมนาคมจึงทำงานให้หนักขึ้นนอกจากจะทำให้ระบบคมนาคมขนส่งปลอดภัยสะดวกสบายมีประสิทธิภาพแล้วตอนนี้ต้องคิดถึงเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมถึงการปล่อยพีเอ็ม 2.5
เช่นจากเดิมรถเมล์ใช้น้ำมันเราก็อาจจะเปลี่ยนเป็นใช้อีวีบัส ในส่วนของรถบัส ขสมก. ให้มีการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ในกระบวนการ 2,000 กว่าคันเรือก็จะใช้เรือไฟฟ้า รถไฟก็จะมีการวิจัยเปลี่ยนหัวลากรถไฟให้รักสิ่งแวดล้อมต้องทำให้มันลดการเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก
ตอนนี้นโยบายกระทรวงคมนาคมชัดเจนว่าจะลงทุนด้วยตัวเองให้น้อยเท่าที่จำเป็นอะไรก็ตามที่เอกชนมีศักยภาพก็จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการเช่นระบบขนส่งสาธารณะในจังหวัดอื่นๆจังหวัดใหญ่ใหญ่หรือถ้าอบจจออบตพร้อมทางกระทรวงคมนาคมจะเข้าไปช่วยเหลือให้เขาบริหารจัดการตัวเองให้คนที่อยู่เองสร้างบ้านเองจะตอบโจทย์ทำให้คนมาใช้เยอะขึ้น
เรื่องสิ่งแวดล้อมกระทรวงไม่สามารถทำได้แค่คนเดียวแต่ต้องอาศัยความร่วมมือต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงาน
นายวิริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมเสวนา Panel Discussion: The Next Chapter of Transportation for Sustainability โดยระบุว่า วันนี้จะเห็นการเปลี่ยนผ่านของรถไฟไทย ที่กำลังพัฒนาโครงข่ายรถไฟในระยะที่ 1 รวมระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร ซึ่งจะเสร็จทั้งหมดในปี 2568 ตอบโจทย์เรื่องการตรงต่อเวลา และสร้างโอกาสทางการเดินทางมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้ คือ ปรับระบบขนส่งมวลชนรอง (ฟีดเดอร์) มาสนับสนุนการเดินทางเชื่อมต่อรถไฟ
ขณะเดียวกัน รฟท.มีแผนผลักดันเป้าหมายภาคขนส่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากภาพรวมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทราบว่า 1 ใน 3 มาจากการปล่อยของคมนาคมขนส่ง ซึ่งหากการขนส่งจะไปสู่เป้าหมายนั้น ระบบรางซึ่งเป็นการคมนาคมหลักต้องเปลี่ยนผ่านเรื่องนี้ด้วย
“รถไฟกำลังจะแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจัดซื้อหัวรถจักรไฮบริด ซึ่งจะใช้พลังงานดีเซลลดลง 10-30% โดยหากลดลงได้ 20% ก็ลดการใช้ดีเซล 6 ลิตรต่อกิโล และคาดว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อปีได้กว่า 1 แสนตัน” นายวีริศ กล่าว
นอกจากนี้ หาก รฟท.สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะมีการนำไปสู่การสร้างคาร์บอนเครดิต อีกทั้งจะต่อยอดเรื่องการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) เพื่อสร้างพลังงานหมุนเวียนมาใช้ภายในสถานีรถไฟ ซึ่งปัจจุบันได้ติดตั้งที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1 หมื่นตันต่อปี ดังนั้น รฟท.คาดว่าหลังจากนี้แต่ละปีจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซได้เฉลี่ย 1.1 แสนตันต่อปี
นายวีริศ กล่าวต่อว่า การผลักดันให้รถไฟไทยยั่งยืนนั้น ส่วนหนึ่งคือการเปลี่ยนหัวรถจักรมาใช้พลังงานไฟฟ้า แต่การจัดซื้อหัวรถจักรไม่มีทางยั่งยืนได้ เพราะประเทศที่เจริญแล้ว มีขีดความสามารถ ต้องสร้างหัวรถจักรได้เอง เนื่องจากการจัดซื้อหัวรถจักร 1 ครั้ง ต้องมีสัญญาซ่อมบำรุงอีกกว่า 10 ปี สิ่งที่จะทำให้องค์กรยั่งยืน คือการสร้างรถจักรเอง ผลักดันอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเชื่อว่า 2-3 ปีนี้จะได้เห็นการเริ่มเดินหน้า แต่เมื่อเริ่มแล้วทำให้ยืนยาวต้องมีนโยบายสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
นางสาวปวีณา จริยฐิติพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ร่วมเสวนา Panel Discussion: The Next Chapter of Transportation for Sustainability โดยระบุว่า ทอท.กำลังมีแผนพัฒนาในหลายท่าอากาศยาน โดยมีเป้าหมายออกแบบให้อาคารผู้โดยสารต้องตอบโจทย์เรื่องลดคาร์บอน
นอกจากนี้ ทอท.ยังประสานกับผู้บริการสายการบินในการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริการผู้โดยสาร ลดการใช้กระดาษ ใช้เครื่องอัตโนมัติตรวจสอบใบหน้าในขั้นตอนตรวจคนเข้าเมือง เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนและผู้โดยสารเดินทางสะดวก ปลอดภัย ได้รับประสบการณ์ที่ดี
ขณะเดียวกัน การจัดการความแออัดภายในพื้นที่ท่าอากาศยาน นับเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากความแออัดของการจราจรหน้าอาคารผู้โดยสาร ทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงความแออัดของผู้โดยสารภายในอาคาร ทำให้ต้องเปิดแอร์เพิ่มขึ้น ซึ่ง ทอท.ก็ลดความแออัดเหล่านี้ และเห็นได้ชัดว่าสามารถลดใลภาวะจากการจราจร และประหยัดไฟฟ้าจากการเปิดแอร์มากขึ้น
นอกจากนี้ ทอท.ยังติดโซลาร์เซลล์บนอาคารผู้โดยสาร เพื่อนำพลังงานต่างๆ เข้ามาใช้หมุนเวียนในอาคารผู้โดยสารผู้โดยสาร และท่าอากาศยาน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วยให้ ทอท.ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้ามากขึ้น
“อุตสาหกรรมการบินกำลังเปลี่ยนผ่านสู่การเตรียมใช้น้ำมัน SAF ซึ่งไทยจะมีข้อกำหนดให้สายการบินเริ่มใช้ 1% ในปีหน้า ส่วนของสนามบินก็ต้องปรับตัวรับเรื่องนี้ โดยกำลังพิจารณาอินเซนทีฟให้กับสายการบิน ที่ใช้น้ำมัน และอากาศยานลดคาร์บอน” นางสาวปวีณา กล่าวทิ้งท้าย
อ้างอิง