กระทรวงอุตสาหกรรมออกสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) ระยะยาว 7 ปี ดอกเบี้ยต่ำอัตราร้อยละ 3 ใน 3 ปีแรก ภายใต้กรอบวงเงิน 1,500 ล้านบาท สำหรับธุรกิจ SMEs คาร์บอนต่ำ ตามแนวทางประชารัฐ
กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศเดินหน้านโยบาย MIND ดันอุตสาหกรรมไปสู่ความยั่งยืน เคาะมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ด้านการเงิน อนุมัติสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) สินเชื่อระยะยาว 7 ปี ดอกเบี้ยต่ำอัตราร้อยละ 3 ใน 3 ปีแรก กรอบวงเงิน 1,500 ล้านบาท จากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมยั่งยืน ผ่านการลงทุนด้านเครื่องจักรและสิ่งปลูกสร้าง
สินเชื่อลดโลกร้อนดังกล่าว มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ที่เป็นผู้ผลิต ให้บริการ ค้าปลีก หรือค้าส่งในกลุ่มอุตสาหกรรม สำหรับเงื่อนไขและคุณสมบัติสำหรับการขอสินเชื่อลดโลกร้อน ประกอบด้วยดังนี้
กลุ่มเป้าหมายธุรกิจ
ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการ สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ที่ต้องการยกระดับการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายการดูแลสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ตามแนวทางแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (BCG)
และสอดรับกับการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Zero Greenhouse Gas Emission ในปี 2065
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ จึงได้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) เป็นสินเชื่อระยะยาว (Term Loan) สูงสุดไม่เกิน 7 ปี วงเงินสินเชื่อเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาทสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ย 3% ใน 3 ปีแรก ปีถัดไปคิดอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำตามที่สถาบันการเงินทั่วไปเรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดี หรือ MLR
โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจขอรับการสนับสนุนสินเชื่อลดโลกร้อน สามารถลงทะเบียนข้อมูลสถานประกอบการได้ที่ http://i.industry.go.th/ และยืนขอสินเชื่อได้ที่ www.thaismefund.com หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง