ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนือ รัฐควรเร่งแก้ปัญหาและประกาศเป็นเขตภัยพิบัติได้แล้ว หากปล่อยไว้จะยิ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมแนะนำภาครัฐ
เป็นเวลา 5 วันติดต่อกันแล้วที่ภาคเหนือยังคงเผชิญวิกฤตฝุ่น PM2.5 คลุ้งทั่วเมืองหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน จนถึงขั้นมีผู้ป่วยจากฝุ่นสะสมแล้ว 3,000 ราย ล่าสุดนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจี้รัฐบาลว่าควรเร่งประกาศเป็นเขตภัยพิบัติได้แล้ว
ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนือว่า จากการตรวจสอบประเทศไทยมีจุดความร้อนเยอะมาก ส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบแอบเผา ซึ่งก็มีการขอความร่วมมือให้หยุดเผาแล้วในช่วง 15 ก.พ. – 30 เม.ย. ใน 3 จังหวัด ทั้งแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย
และที่สำคัญ คือฝุ่น PM2.5 ที่พุ่งสูงในจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากการเผาจากที่อื่นค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะหมอกควันข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านอันเนื่องมาจากการเผาทางการเกษตร
จากการสังเกตจะพบว่า ประเทศเพื่อนบ้าน มีอัตราการขยายพื้นที่เพื่อปลูกผืชผลทางการเกษตรกันจำนวนมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยได้ทำพันธะสัญญาทางเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้านในการปลูกพืช 8 ชนิด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้างโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันฝรั่ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยูคาลิปตัน มีการนำร่องในประเทศเมียนมา กัมพูชา และลาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฝุ่นเชียงรายทำพิษ ปลัด สธ. เผยผู้ป่วยทางเดินหายใจเพิ่ม แนะงดกิจกรรมนอกบ้าน
ฝุ่นเชียงรายยังไม่หาย หลายมหาวิทยาลัยประกาศเรียนออนไลน์แทนเข้าชั้นเรียน
ส่องมาตรการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในต่างประเทศ เทียบของไทยทำอะไรบ้าง??
แต่ที่ปลูกเยอะมากที่สุด คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งพอปลูกเสร็จแล้วจะต้องเคลียพื้นที่โดยการเผา และทำการปลูกใหม่ จึงทำให้เกิดการเผาเป็นจำนวนมาก ทำให้หมอกควันฝุ่นก็ข้ามมายังประเทศไทยในภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงใหม่ เชียงราย ซึ่งประเทศไทยรับซื้อทั้งหมด โดยภาษีเป็นศูนย์ ทำให้กระเทศเพื่อนบ้านปลูกกันเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น สถานการณ์ฝุ่นหนักหนาสาหัสขนาดนี้ ภาครัฐจำเป็นที่ต้องประกาศเป็นภัยพิบัติสาธารณภัยได้แล้ว ตามมาตรา 4 ของพ.ร.บ.ป้องกันสาธารณภัย 2550 พร้อมทำห้องปลอดฝุ่น ให้กับกลุ่มคนเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และหยิงตั้งครรภ์ ซึ่งภายในห้องปลอดฝุ่นจะต้องประกอบไปด้วยแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูงที่สามารถกรอง PM2.5 ได้ นี่คือสิ่งที่รัฐต้องทำ ก่อนประชาชนจะเจ็บป่วยไปมากกว่านี้
และถ้ารัฐประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ รัฐก็ต้องนำเงินออกมา เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องหยุดการทำมาหากิน อาทิ การซื้อหน้ากาก N95 มาแจกให้กับประชาชน และสั่งให้ทำงานที่บ้าน เรียนที่บ้าน และต้องมีมาตรการชดเชยรายได้ที่เสียไปหาต้องหยุดทำงานกระทันหัน และบังคับเจ้านายจากทุกสาขาอาชีพให้อนุญาตประชาชนทำงานที่บ้านหรือหยุดพักงานชั่วคราวได้
พ.ร.บ.อากาศสะอาด ไปถึงไหนแล้ว ? ในวันที่ประเทศไทยฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงอันตราย
รู้กันหรือยัง? ไทยเคยมีกมธ.ฝุ่น ตั้งแต่ ปี 63 หวังแก้ PM 2.5 ธรรมนัส นั่งประธาน
ตอนนี้ประชาชนกังวลว่า รัฐบาลอยู่ในช่วงเกียร์ว่างหรือเปล่า ดร.สนธิ ระบุว่า ช่วงนี้ใกล้เลือกตั้ง ทำให้หน่วยงานกังวลว่าถ้าออกมาตรการอะไรออกมาจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาคการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน ทางกระทรวงมหาดไทยก็อ้างว่าไม่เคยทำมาก่อน ปกติทำแต่ น้ำท่วม ภัยแล้ง ภัยหนาว และไม่รู้จะประกาศฝุ่นPM2.5 ว่าต้องมีปริมาณสูงแค่ไหนถึงจะเป็นภัยพิบัติ ซึ่งส่วนตัวมองว่าคิดแบบนั้นไม่ได้ ยิ่งทำให้ประชาชนที่ออกไปทำงานนอกบ้าน ส่งผลให้กระทบต่อร่างกายในระยะสั้น ระยะยาวได้
โดยมองว่าการประกาศภัยพิบัติสามารถทำได้ เพราะเรามีคณะกรรมการ มาตรา 4 ของพ.ร.บ.ป้องกันสาธารณภัย 2550 มันระบุว่า ฝุ่นPM2.5 คือเหตุอื่นๆที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เพราะฉะนั้นสามารถประกาศได้ ขณะเดียวกันเรามีคณะกรรมการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้
รัฐบาลต้องทำให้เกิดการงดการเผาป่า เผาข้าวโพด เผาหญ้าในประเทศไทย แต่รัฐบาลทำไม่ได้ ก็ยังมีประชาชนแอบเผากันอย่างต่อเนื่องเพราะประเทศไทยไม่เคยเข้มงวดการใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการปลูกและเผาอีกจำนวนมาก โดยระยะยาวรัฐบาลต้องไปเจรจาพันธะสัญญาการเกษตรว่าจะไม่ซื้อ หากเกิดการปลูกในพื้นที่ผิดกฎหมาย และมีการเผากอซัง เป็นต้น
ดร.สนธิ ระบุว่า หากประชาชนสูดฝุ่นPM2.5 มากเกินไปในระยะสั้นอาจจะก่อให้เกิดอาการ คันตามตัว น้ำมูกไหล แสบจมูก แสบตา แต่ในระยะยาว พอสูดฝุ่นPM2.5 เข้าไปในเส้นเลือด ทะลุถุงลมปอดในเส้นเลือด และทำให้เส้นเลือดตีบ อาจจะป่วยเป็นโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองอักเสบ หัวใจขาดเลือด และเป็นมะเร็งปอด
ประชาชนไม่ควรออกไปสัมผัสฝุ่น หากจำเป็นให้สวมใส่หน้ากากอนามัยN95 เท่านั้น หรือ อยู่ในห้องปลอดฝุ่น และใช้เครื่องฟอกอากาศในการกรองฝุ่นPM2.5