นักวิทย์ไทยเจ๋ง ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก 4 ชนิด ถูกพบในจังหวัดนครราชสีมาและได้ตีพิมพืลงวารสารวิชาการเรียบร้อยแล้ว บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ
วันนี้ (29 พ.ย. 2565) มีการแถลงข่าวจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้าร่วมแถลงความภาคภูมิใจของนักวิทยศาสตร์ชาวไทยกับการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก บนพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ถึง 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ มดชุติมา แตนเบียนปิยะ แตนเบียนสะแกราช และโคพีพอด
ซึ่งการค้นพบนี้ นำไปสู่ข้อบ่งชี้ถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าของไทย ที่ได้ผนึกกำลังความร่วมมือจากหลายองค์กรในการถ่ายทอดและแสดงศักยภาพความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาป่าเขตร้อน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้มีการลงนามความเข้าใจระหว่าง อพวช. และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายคือการร่วมมือกันศึกษา วิจัย พร้อมพัมนา ถ่ายทอดและแบ่งปันปรสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาป่าเขตฝน และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันอันจะก่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศต่อไปตามภารกิจหลักของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชนและประชาชนของประเทศในอนาคตต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักวิจัยม.เกษตรศาสตร์ค้นพบ ส้มแก้วสมคิด พืชชนิดใหม่ของโลกที่จังหวัดตรัง
มช.ค้นพบ เหลืองปิยะรัตน์ พืชชนิดใหม่ของโลก หายาก ใกล้สูญพันธุ์ ที่นราธิวาส
นักวิจัยค้นพบวิธีทำ “แบตเตอรี่ EV” จาก “ใยกัญชง” ราคาถูก ชาร์จเร็ว วิ่งได้ไกล
เด็กไทยโชว์เหนือ คว้าแชมป์โอลิมปิกหุ่นยนต์ WORLD ROBOT OLYMPIAD 2022
ข้อมูลการค้นพบ
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชยังมีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดปีละ 146,094 ตัน ประกอบด้วย 1) ป่าดิบแล้ง พื้นที่ 26,474 ไร่ ดูดซับได้ 3.26 ตันต่อไร่ต่อปี หรือปีละ 86,305 ตัน 2) ป่าเต็งรัง พื้นที่ 7,373 ไร่ ดูดซับ 2.84 ตันต่อไร่ต่อปี หรือปีละ 20,939 ตัน และ 3) ป่าปลูก พื้นที่ 12,028 ไร่ ดูดซับได้ 3.23 ตันต่อไร่ต่อปี หรือปีละ 38,850 ตัน
สัตว์ประเภทที่ 1 “มดชุติมา”
“มดชุติมา” ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Lepisiota chutimae Jaitrong, Waengsothorn et Buddhakala, 2022
ถูกค้นพบโดย : ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง นักวิจัย จาก อพวช. และ ผศ. ดร.นพรัตน์ พุทธกาล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
บริเวณที่ค้นพบ : บริเวณยอดไม้สูงประมาณ 25-30 เมตร ในป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช การตั้งชื่อ : เพื่อเป็นเกียรติแก่ วว. และท่านผู้ว่าการ วว. ในฐานะเป็นหน่วยงานดูแลพื้นที่และสนับสนุนงานวิจัยทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแข็งขัน จึงได้ตั้งชื่อมดชนิดใหม่ว่า “มดชุติมา”
ลักษณะเด่น : มีสีเหลืองทองตลอดทั้งตัว (ท้องมีสีเข้มกว่าอกเล็กน้อย) ผิวตัวเรียบเป็นเงามัน ท้ายส่วนอกและเอวมีหนามแหลม มดชนิดนี้เป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าดิบแล้งสะแกราชได้อีกทางหนึ่ง ในประเทศไทยมีมดในสกุล Lepisiota จำนวน 8 ชนิด อาศัยอยู่บนดิน ยกเว้นเพียง “มดชุติมา” เท่านั้นที่ปรับตัวขึ้นไปอาศัยอยู่บนต้นไม้ เหตุผลในการปรับตัวที่แปลกไปจากมดชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนักวิจัยอยู่ระหว่างค้นหาคำตอบ
อย่างไรก็ตามขณะนี้เกิดปรากฏการณ์ลานีญา (ฝนตกชุก) ติดต่อกัน 2 ปี ทำให้โครงสร้างประชากรมดเรือนยอดเปลี่ยนแปลงไป มีมดรุกรานยึดครองพุ่มไม้มากขึ้น ในอนาคตอันใกล้อาจส่งผลกระทบต่อการลดลงของประชากรมดชุติมาและมดถิ่นเดิมชนิดอื่นๆ ได้ หากไม่มีมาตรการป้องกันหรือการจัดการที่เหมาะสม งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ Far Eastern Entomologist
สัตว์ประเภทที่ 2 (2 ตัว) “แตนเบียนปิยะและแตนเบียนสะแกราช”
“แตนเบียนปิยะและแตนเบียนสะแกราช” ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Physaraia sakaeratensis Chansri, Quicke & Butcher, 2022
ถูกค้นพบโดย : รศ. ดร.บัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บริเวณที่ค้นพบ : บริเวณป่าดิบแล้งของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ด้วยกับดักเต็นท์ หรือ Malaise Trap
ลักษณะเด่น : มีความแตกต่างจากแตนเบียนสกุล Physaraia ชนิดอื่นคือ หนามคู่ที่ส่วนท้องของลำตัวมีสีดำ ในขณะที่ชนิดอื่นหนามบริเวณนี้จะเป็นสีเดียวกับลำตัว โดยบริเวณปลายของส่วนท้องที่มีหนามคาดว่าจะช่วยในการวางไข่ของแดนเบียนเพศเมีย ทั้งนี้แตนเบียนเป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera เช่นเดียวกันกับ ผึ้ง ต่อ และแตนชนิดอื่นๆ
อวัยวะวางไข่ของแตนเบียนเพศเมียไม่ได้มีไว้สำหรับต่อย แต่มีไว้ใช้วางไข่ในแมลงให้อาศัย (host) เมื่อแตนเบียนเพศเมียวางไข่แล้ว ตัวหนอนของแตนเบียนจะกัดกินแมลงให้อาศัยเป็นอาหาร ก่อนจะเจริญเป็นดักแด้และแตนเบียนตัวเต็มวัยต่อไป ด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันระหว่างแตนเบียนและแมลงให้อาศัย ทำให้แตนเบียนหลายชนิดถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี (biological control)
โดยในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติ แตนเบียนนับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อสมดุลของประชากรแมลงในระบบนิเวศ งานวิจัยนี้ตีพิมพ์เผยแพรในวารสารวิชาการ Zootaxa เรื่อง Four new species of Physaraia (Hymenoptera: Braconidae: Braconinae) from Thailand
สัตว์ประเภทที่ 3 “โคพีพอด (Copepods)”
“โคพีพอด (Copepods)” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Metacyclops sakaeratensis Athibai,Wongkamhaeng & Boonyanusith, 2022
ถูกพบโดย : ผศ.ดร.ชายฉัตร บุญญานุสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บริเวณที่ค้นพบ : บริเวณถ้ำงูจงอาง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เป็นพื้นลำธารที่เป็นลานหิน มีแอ่งน้ำนิ่งสลับกับน้ำไหล
ลักษณะเด่น :
ทั้งนี้ โคพีพอดเป็นหนึ่งในแพลงก์ตอนสัตว์ ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศแหล่งน้ำ มีความหลากหลายของสายพันธุ์สูง มีลักษณะคล้ายคลึงและอยู่ในตระกูลเดียวกับ กุ้ง ไรน้ำ สามารถพบโคพีพอดในแหล่งน้ำทั่วไปของประเทศไทย ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โคพีพอดถูกนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปลาทะเล กุ้งสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร โดยเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน ทั้งลูกกุ้ง ลูกปลา เป็นตัวบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศตามธรรมชาติของแหล่งน้ำ
ที่มาข้อมูล