svasdssvasds

ทำไมจึงชื่อ พายุโนรู ? กับเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในแปซิฟิกตะวันตก

ทำไมจึงชื่อ พายุโนรู ? กับเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในแปซิฟิกตะวันตก

ที่มาและหลักเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก ที่เริ่มต้นเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว โดยชื่อพายุโนรู ตั้งชื่อโดยประเทศเกาหลีใต้ แปลว่ากวางชนิดหนึ่ง

ตามที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า พายุโนรู คือพายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก ที่เคยมีความเร็วลมสูงในระดับพายุไต้ฝุ่น ซึ่งเป็นเลเวลสูงที่สุดของพายุหมุนเขตร้อน โดยได้เคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาวตามลำดับ ก่อนจะเข้าสู่ภาคอีสานของไทย เมื่อช่วงเย็นๆ ค่ำๆ วันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา

แม้จะลดระดับลงจนกลายเป็นพายุดีเปรสชัน แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้ทางการไทย ต้องระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมือกับพายุโนรู อย่างเต็มอัตราศึก

 ในส่วนของสถานการณ์ ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล และไม่อาจวางใจได้ ซึ่งก็ต้องติดตามสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิดต่อไป โดย SPRiNG จะรายงานความเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นระยะ

ส่วนในบทความนี้ SPRiNG ขอนำเสนอแง่มุมมอื่นๆ ที่น่าสนใจของพายุโนรู และเชื่อว่าหลายคนคงสงสัยถึงที่มาของชื่อดังกล่าว โดย SPRiNG ขอเล่าถึงเรื่องเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก ดังต่อไปนี้

ทำไมจึงชื่อ พายุโนรู ? กับเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในแปซิฟิกตะวันตก

บทความที่น่าสนใจ

ชื่อพายุที่ตั้งโดยสมาชิกคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตก ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ เริ่มขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หรือในปี 2543 กำหนดให้ตั้งชื่อขึ้นโดยประเทศและดินแดนต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ซึ่งประเทศหรือดินแดนที่เป็นสมาชิกขององค์กรดังกล่าว ประกอบด้วย

1. กัมพูชา

2. จีน

3. เกาหลีเหนือ

4. ฮ่องกง

5. ญี่ปุ่น

6. ลาว

7. มาเก๊า

8. มาเลเซีย

9. ไมโครนีเชีย

10. ฟิลิปปินส์

11. เกาหลีใต้

12.ไทย

13. สหรัฐอเมริกา

14. เวียดนาม      

ทำไมจึงชื่อ พายุโนรู ? กับเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในแปซิฟิกตะวันตก

แต่ละประเทศหรือดินแดน ตั้งชื่อพายุเป็นภาษาท้องถิ่นของตัวเอง

หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ ก็คือให้ประเทศหรือดินแดนที่เป็นสมาชิก ตั้งชื่อของตัวเองขึ้นมา 10 ชื่อ โดยใช้ภาษาท้องถิ่นของประเทศหรือดินแดนนั้นๆ กระทั่งได้รายชื่อทั้งหมด 140 รายชื่อ

หลังจากก็นำรายชื่อมาแบ่งออกเป็น 5 ชุด ชุดละ 28 รายชื่อ แล้วไล่เรียงใช้ชื่อพายุของแต่ละประเทศหรือดินแดนทั้ง 14 แห่ง  ตามลำดับตัวอักษรในภาษาอังกฤษ เมื่อครบแล้ว ก็จะวนกลับมายังชื่อแรกใหม่ แล้วก็วนลูปอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

รายชื่อพายุที่ไทยตั้งขึ้น

และด้วยหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเป็นภาษท้องถิ่น ทำให้ในหลายๆ ครั้ง เมื่อถึงคิวชื่อที่ตั้งโดยประเทศไทย ก็เป็นชื่อที่เราต่างคุ้นหูและคุ้นเคยเป็นอย่างดี อาทิ พายุไต้ฝุ่นนิดา หรือพายุไต้ฝุ่นชบา เป็นต้น โดยทั้ง 10 รายชื่อของไทย มีดังต่อไปนี้

1. พระพิรุณ

2.  กระท้อน (ชื่อเดิม ทุเรียน , มังคุด)

3. วิภา

4. บัวลอย (ชื่อเดิม รามสูร)

5. เมขลา

6. อัสนี (ชื่อเดิม หนุมาน , มรกต)

7. นิดา

8. ชบา

9. กุหลาบ

10. ขนุน

ส่วนเหตุที่มีการถอดหรือเปลี่ยนบางรายชื่อ ก็มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า เนื่องจากพายุลูกนั้นได้สร้างเสียหายเป็นอย่างมาก เมื่อถึงคราววนกลับมาใช้ชื่อนี้อีก ก็เกรงว่าจะสร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน รวมถึงเหตุผลอื่นๆ อาทิ ทางด้านศาสนา เป็นต้น

ทำไมจึงชื่อ พายุโนรู ? กับเกณฑ์การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในแปซิฟิกตะวันตก

พายุโนรู และชื่อพายุหมุนเขตร้อนลูกต่อไป

พายุโนรู เป็นชื่อพายุที่ตั้งโดยประเทศเกาหลีใต้ แปลว่า กวางชนิดหนึ่ง โดยเป็นรายชื่อในชุดที่ 5 ลำดับที่ 11 ส่วนพายุหมุนเขตร้อนลูกต่อไปจะมีชื่อว่า “กุหลาบ” ที่ตั้งขึ้นโดยประเทศไทยนั่นเอง

อ้างอิง

Wikipedia : การตั้งชื่อพายุเขตร้อน

related