กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือน 23 จังหวัด เฝ้าระวังระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 11-13 กันยายน 2565
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสถานการณ์ปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง น้ำท่า และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ประกอบกับกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 37/2565 ลงวันที่ 11 กันยายน 2565 แจ้งว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน
ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2565 ดังนี้
1. พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมขัง
ภาคเหนือ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน : อำเภอเมืองฯ ปาย ปางมะผ้า ขุนยวม แม่สะเรียง สบเมย แม่ลาน้อย
เชียงราย : อำเภอเวียงป่าเป้า แม่ฟ้าหลวง แม่สาย แม่สรวย แม่จัน
เชียงใหม่ : อำเภอเชียงดาว ฝาง ไชยปราการ จอมทอง แม่แจ่ม ฮอด อมก๋อย ดอยสะเก็ด
น่าน : อำเภอบ่อเกลือ แม่จริม สันติสุข
ลำปาง : อำเภอเมืองฯ เกาะคา แจ้ห่ม
ลำพูน : อําเภอลี้ แม่ทา ป่าซาง
พะเยา : อำเภอเมืองฯ เชียงคำ ปง จุน ภูซาง ดอกคำใต้
แพร่ : อำเภอวังชิ้น สอง ลอง ร้องกวาง
อุตรดิตถ์ : อำเภอน้ำปาด ฟากท่า บ้านโคก ท่าปลา
พิษณุโลก : อำเภอนครไทย ชาติตระการ
เพชรบูรณ์ : อำเภอเมืองฯ หล่มสัก วิเชียรบุรี
ตาก : อำเภอท่าสองยาง พบพระ อุ้มผาง แม่สอด
นครสวรรค์ : อำเภอไพศาลี ตากฟ้า ท่าตะโก ตาคลี หนองบัว
บทความที่น่าสนใจ
ชัชชาติ ห่วง น้ำท่วมลาดกระบัง ยัน ใช้แผนการบริหารจัดการน้ำรูปแบบเดิม
เช็กเลย! วันนี้ฝนตกทั่ว กทม. ช่วงใกล้เลิกงาน พื้นที่ไหนบ้างเสี่ยงน้ำท่วม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดเลย : อำเภอวังสะพุง
ชัยภูมิ : อำเภอเมืองฯ ภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต บ้านเขว้า
นครราชสีมา : อำเภอโนนไทย เมืองนครราชสีมา โนนสูง
ภาคกลาง
จังหวัดสระแก้ว : อำเภอเมืองฯ โคกสูง อรัญประเทศ
ระยอง : อำเภอแกลง
จันทบุรี : อำเภอท่าใหม่ มะขาม
ตราด : อำเภอเขาสมิง บ่อไร่
2. พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง
บริเวณแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด
3. พื้นที่เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 10 แห่ง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมาและแม่มอก จังหวัดลำปาง
บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี
อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
อ่างเก็บน้ำลำตะคองและมูลบน จังหวัดนครราชสีมา
อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี
อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง
รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางมีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) จึงได้แจ้งให้ 23 จังหวัด ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง อย่างใกล้ชิด และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า
รวมถึงติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซมแนวคันกั้นน้ำบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำพร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำ และจัดการจราจรทางน้ำให้เหมาะสม พร้อมทั้งให้จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรกลสาธารณภัยและชุดปฏิบัติการเข้าประจำพื้นที่เสี่ยง ให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันที หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้จังหวัดดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ สถานการณ์ภัย และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียมความพร้อมมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น หากได้รับความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึง สายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป