ใครที่คิดจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เพื่อหนีค่าไฟแพง ค่าไฟขึ้น อีกทั้งเป็นพลังงานสะอาดที่เทรนด์โลกกำลังมา ต้องฟังทางนี้ เพราะบ้านไหนที่จะติดโซลาร์รูฟท็อป 200 กิโลวัตต์ขึ้นไป จะต้องติดอุปกรณ์แรพพิดชัทดาวน์เพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะเริ่ม1 ก.ค. 66 นี้
หลายบ้านกำลังคิดที่จะติดโซลาร์รูฟท็อป เพื่อหาทางประหยัดไฟ และเข้าสู่พลังงานสะอาด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษ์โลก และเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าบ้านไหนที่จะติดโซลาร์รูฟท็อป 200 กิโลวัตต์ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 66 นี้ เป็นต้นไปจะต้องติดอุปกรณ์แรพพิดชัทดาวน์เพื่อความปลอดภัย ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มัดรวมสินเชื่อรักษ์โลก! กู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ - ซื้อรถ EV มีธนาคารไหนบ้าง?
สานฝัน ! คนอยากลดค่าไฟ ออมสินให้กู้เงินติดหลังคาโซลาร์เซลล์ ผ่อนต่ำ
กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว เร่งขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
โดยล่าสุดสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย จัดเสวนาติดตั้งแรพพิด ชัทดาวน์ นำโดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ“ ทั้งนี้เพื่อการผลักดันให้ประชาชนเข้าถึงการใช้พลังงานสะอาดด้วยการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป” ในงานเสวนา “โซลาร์ รูฟทอป และอบรมการติดตั้ง แรพพิด ชัทดาวน์ ตามมาตรฐานวสท.” จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย โดยมีนายภูวดล สุนทรวิภาต
สำหรับการจัดเสวนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการติดตั้ง แรพพิด ชัทดาวน์ (Rapid Shut down) สำหรับอาคารที่ติดตั้งโซลาร์ รูฟทอป ให้กับสมาชิกสมาคมฯ ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาธารณชน ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดว่าตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป อาคารที่ติดตั้งโซลาร์รูฟทอป 200 กิโลวัตต์ขึ้นไปต้องติดตั้งอุปกรณ์แรพพิด ชัทดาวน์ เพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก่อนหน้านี้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) มีการลงนามในประกาศเงื่อนไขการอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุมสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ที่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง rapid shutdown
ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2566 นี้เป็นต้นไป ซึ่งโครงการใหม่ที่ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหลัง 1 ก.ค. 2566 เป็นต้นไป จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไม่ทำตามคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)สามารถพิจารณาไม่ออกใบอนุญาตให้ได้เนื่องจากไม่เป็นไปตามมาตรฐานของวสท.โดยประกาศดังกล่าวจะเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก