ทำไมพลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยในศรีลังกาถึงไม่ได้กลับบ้านสักที วราวุธอัปเดต จะได้กลับบ้านแน่นอนปลายเดือนมิถุนายน หากไม่เกิดข้อผิดพลาดอื่น ๆ
พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยในศรีลังกา ซึ่งเป็นสัตวเชื่อมสัมพันธ์ประเทศไทย-ศรีลังกา เมื่อปีพ.ศ. 2544 และมีประเด็นข้อเรียกร้องถึงอาการบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจย่ำแย่ของช้างหลังถูกใช้งานหนักทุกปีจนเกือบพิการ ซึ่งทีมข่าวสปริงนิวส์ได้สัมภาษณ์นายวราวุธ ศิลปอาชา ถึงกระบวนการนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับบ้านว่าถึงไหนแล้ว?
นายวราวุธ ศิลปาอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อธิบายว่า กำหนดการเดินทางของพลายศักดิ์สุรินทร์ คือปลายเดือนมิถุนายนนี้ มั่นใจว่าจะได้กลับบ้านตามกำหนดนี้แน่นอน หากไม่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาใหม่ชี้ ที่อยู่อาศัยของช้าง 2 ใน 3 ทั่วเอเชียหายไปแล้ว เพราะมนุษย์
เปิดสถิติคดีป่าไม้ คดีสัตว์ป่า ปีงบฯ66 มีมากน้อยเพียงใด ? อาการน่าห่วงไหม !
พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยในศรีลังกา ถูกใช้งานจนเกือบพิการ รอวันกลับบ้าน
ก่อนหน้านี้ที่ยังไม่สามารถนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับได้ทันที เป็นเพราะ การเจรจาระหว่างประเทศ เพราะพลายศักดิ์สุรินทร์ ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของไทยแล้ว เพราะเรายกให้เป็นช้างของศรีลังกาเรียบร้อยแล้ว การจะนำกลับมานั้นต้องมีการเจรจา
ซึ่งเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนมาเราก็ส่งผู้เชี่ยวชาญไปดู รวมถึงส่งควาญช้างที่เป็นเจ้าของไปด้วย จากการพบกันครั้งแรก ช้างจำเสียงควาญช้างได้และมีน้ำตาไหล ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจที่เขาต้องเจ็บปวด
สถานการณ์ช้างไทย ช้างเอเชียปี 2022 พี่ใหญ่แห่งพงไพร ใครเล่าจะเก๋าเท่าพี่
เผยภาพ ช้างไพลินวัย 71 ปี แบก นทท. 25 ปี กระดูกสันหลังยุบ เศร้าถึงขั้วหัวใจ
และอีกปัญหาหนึ่งคือการขนส่งกลับ ก่อนหน้านี้ขนส่งไม่ได้เพราะ ช้างมีอาการตกมัน และหลังจากนั้น เบื้องต้นได้หาวิธีการนำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับบ้านหลากหลายทางควบคู่ไปด้วย เช่น ทางเรือ แต่เรือก็ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ อาจทำให้ช้างเพลียเหนื่อยจนอาจตายได้
ส่วนเครื่องบิน ก็มีปัญหาเพราะกรงที่ใส่ช้างมีขนาดใหญ่กว่าตัวช้าง และไม่สามารถนำเข้าใต้ท้องเครื่องบินได้ จึงต้องมองหาเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่พอ เช่น เครื่องบนขนส่งอาวุธทางการทหาร ซึ่งบนโลกนี้มีไม่กี่ลำและต้องจอง แต่ตอนนี้เราจองได้แล้วและได้คิวปลายเดือนมิถุนายนนี้ จึงคาดการณ์ได้ว่า พลายศักดิ์สุรินทร์จะได้กลับบ้านแน่ ๆ ปลายเดือนมิถุนายนนี้ โดยจะมีควาญช้าง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลตลอดการเดินทาง ซึ่งคาดว่าใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมงจึงจะถึงไทย