สุดเจ๋ง ! นักวิจัยกองทุนววน. หนุนทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงพัฒนาแผ่นฟิล์มกินได้ย่อยสลายได้ โดยใช้โปรตีนไฮโดรไลเซส ยืดอายุอาหาร-สินค้าเกษตรได้4เดือน
โดยผลงานวิจัยชิ้นโบว์แดงชิ้นนี้เป็นความร่วมมือของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ได้สนับสนุนทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พัฒนาแผ่นฟิล์มกินได้และย่อยสลายได้ โดยใช้โปรตีนไฮโดรไลเซส เพื่อใช้ห่อหุ้มอาหาร โดยมีจุดเด่นดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สุสานฝังศพใต้ต้นไม้” พิธีศพแบบใหม่ ให้ร่างย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้
ขวดน้ำรักษ์โลก ย่อยสลายได้เร็วกว่าพลาสติก 200 เท่า ทำจากวัสดุธรรมชาติ
รองเท้าแตะย่อยสลายได้ กลายเป็นปุ๋ยใน 6 เดือน ชาวแฟชั่นสายรักษ์โลกต้องเลิฟ!
ดร.ครองศักดา ภัคธนกนก อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง เปิดเผยถึงผลงานวิจัยการศึกษาการใช้โปรตีนไฮโดรไลเซสเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของสารเคลือบถนอมอาหารชนิดโปรตีนบริโภค ทีมงานได้ร่วมกันพัฒนาสูตรและกรรมวิธีการผลิตแผ่นฟิล์มกินได้และย่อยสลายได้สำหรับประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรและครัวเรือน โดยกำลังพัฒนาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นฟิล์มห่อหุ้มอาหารและสินค้าเกษตร เพื่อลดการใช้พลาสติก รวมถึงสูตรและกรรมวิธีการผลิตสารละลายโปรตีนเคลือบผิวสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพในการลดการคายความชื้น และป้องกันการรบกวนของแมลงได้ในระดับหนึ่ง
ปัจจุบันการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนในอย่างกว้างขวางทั่วโลก การลดใช้พลาสติกอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องนำวัสดุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติมาใช้ให้มากที่สุด คณะวิจัยและจึงร่วมกันพัฒนาสารเคลือบและแผ่นฟิล์มชนิดบริโภคและย่อยสลายได้ในธรรมชาติที่ผลิตจากเจลาตินเป็นส่วนผสมหลัก และเติมโปรตีนไฮโดรไลเซสจากหลายแหล่ง อาทิ นม สาหร่าย และกากถั่วเหลือง โดยนำโปรตีนดังกล่าวไปผ่านกระบวนการย่อยให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลงด้วยเอนไซม์โปรติเอส แล้วผสมกับกลีเซรอลเพื่อเชื่อมผสานให้เกิดเป็นโพลิเมอร์ โดยต้นแบบที่ได้มี 2 แบบ คือ ของเหลวหนืดเพื่อใช้เคลือบ และ แผ่นฟิล์ม
หัวหน้าโครงการวิจัยระบุว่า การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับแผ่นฟิล์มกินได้และย่อยสลายได้ในธรรมชาติส่วนใหญ่ใช้แป้งเป็นส่วนผสมหลัก ด้วยคุณสมบัติของโพลิเมอร์จากแป้งทำให้ฟิล์มมีความเหนียวและยืดหยุ่น ขณะที่ฟิล์มจากโปรตีนมีคุณสมบัติด้อยกว่าในทุกแง่มุม แต่งานวิจัยได้ค้นพบว่า เปปไทน์โปรตีนไฮโดรไลเซสสามารถช่วยเพิ่มการละลาย ทำให้การจัดเรียงโมเลกุลในขณะสร้างโพลิเมอร์มีความสมบูรณ์มากขึ้น สารเคลือบมีความหนืด โปร่งใส และยึดเกาะที่ผิวของผลไม้ได้เป็นอย่างดี หากเติมสารเติมแต่งในกระบวนการผลิตพลาสติก และปรับสภาวะการเตรียมที่เหมาะสม จะทำให้ขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นสูง
ด้านผศ.รพีพรรณ กองตูม และ ดร.รินรำไพ พุทธิพันธ์ นักวิจัยร่วมโครงการ กล่าวว่า ฟิล์มต้นแบบมีลักษณะใกล้เคียงกับฟิล์มพลาสติกจนแยกไม่ออกด้วยสายตา เมื่อนำไปจำลองสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรในห้องปฏิบัติการและในพื้นที่จริง พบว่า
ทั้งนี้หากนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง โดยเริ่มต้นจากภาคครัวเรือน ชุมชน และขยายไปสู่ภาคอุตสาหกรรม จะช่วยลดการใช้พลาสติกได้มหาศาล