svasdssvasds

กระบวนการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมเก่าเป็นกระป๋องใหม่ ทำยังไงบ้าง?

กระบวนการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมเก่าเป็นกระป๋องใหม่ ทำยังไงบ้าง?

ชุบชีวิตกระป๋องอลูมิเนียมเก่ากันเถอะ! รู้หรือไม่ กระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วสามารถนำกลับมารีไซเคิลกลายเป็นกระป๋องใบใหม่ได้ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงหนึ่งเดียวในอาเซียน

การวนลูปกระป๋องที่ใช้งานแล้วให้กลับมาใช้งานได้อีกเรื่อย ๆ ถือเป็นอีกแนวทางขั้นสุดในการทำให้ขยะในสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น หลายคนเวลามีขยะในมือมักทิ้งลงถังขยะไปเลย โดยไม่มีการคัดแยกหรือทิ้งให้ถูกถัง ดังนั้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้สิ่งแวดล้อมของเราไม่สะอาดและไม่สวยงามเอาซะเลย

ขยะที่ถูกทิ้งไปอย่างไม่ใยดี ส่วนใหญ่ปลายทางมีอยู่แค่ 3 ที่หลักคือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หลุมฝังกลบและท้องทะเล เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ขยะของเราจะไปอยู่ปลายทางใดข้างต้นบ้าง และมันได้กลายเป็นปัญหาขยะทะเลและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ บนบก รวมถึงกลับมาทำลายสุขภาพมนุษย์ได้ด้วย

ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อมเลย ย่อยสลายยากอีกต่างหาก Cr. Pixarbay ดังนั้น นวัตกรรมที่สามารถนำขยะกลับมาใช้งานได้ใหม่ถือเป็นนวัตกรรมชั้นสุด ที่ทำให้ขยะในสิ่งแวดล้อมมีระบบการจัดการที่ดีขึ้นและทำให้สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ยั่งยืนขึ้น บทความนี้จึงพาไปรู้จักกระบวนการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ ว่ามีกระบวนการอย่างไรบ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

*ก่อนทิ้งกระป๋องจากบ้านเรือนทั่วไป กรุณาทิ้งของเหลวภายในก่อน ล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง บีบให้แบน และจัดส่งหรือทิ้งลงถังขยะรีไซเคิลได้เลย ผู้รวบรวมรายย่อยจะมาเก็ยไปส่งให้โรงงานรับซื้อขนาดใหญ่ เพื่อคัดแยกสิ่งปนเปื้อน และบีบอัดให้เป็นก้อนส่งต่อโรงงานรีไซเคิล

กระบวนการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมเก่าเป็นกระป๋องใหม่ ทำยังไงบ้าง?

  • ขั้นตอนที่ 1 หั่นย่อยเศษอลูมิเนียมให้เล็กลง (Shredding) จากก้อนใหญ่ ๆ ที่ส่งมาก่อนหน้านี้ เพื่อตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนในกระป๋องอลูมิเนียมอีกครั้ง
  • ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบสิ่งปะปนผ่านสายพานแม่เหล็กขนาดใหญ่เพื่อป้องกันเหล็กในกระป๋องสเปรย์ และเศษวัสดุอื่น ๆ เช่น เศษไม้ เศษพลาสติก ดินหรือทราย เป็นต้น
  • ขั้นตอนที่ 3 ขจัดสีและทำความสะอาดทั้งภายนอกภายในด้วยเตาเผา (De-lacquering) โดยจะใช้ความร้อนจากระบบ Gasification หรือการเปลี่ยนสีกระป๋อง และหากมีเศษหม้หรือพลาสติกอื่น ๆ หลุดมา สิ่งเหล่านั้นจะได้กลายเป็นเชื้อเพลิงกลับเข้าเตาเผาอีกครั้ง ลดการใช้พลังงานลงไปได้อีก และยังทำให้คุณสมบัติทางเคมีของกระป๋องอลูมิเนียมมีความเหมาะสมด้วย
  • ขั้นตอนที่ 4 สับและบดให้ละเอียด (Grinding) นำไปร่อนเพื่อแยกฝาและกระป๋องออก เนื่องจากกระป๋องและฝามีอลูมิเนียม 2 ชนิด คุณสมบัติต่างกันรวมอยู่
  • ขั้นตอนที่ 5 บีบอัดและรีดให้เป็นแผ่นหนาคล้ายเหรียญ
  • ขั้นตอนที่ 6 ส่งโรงงานหลอมและขึ้นรูปเป็นแผ่นอลูมิเนียม
  • ขั้นตอนที่ 7 ในการหลอม (Melting)จะใช้อุณหภูมิที่ 700 องศาเซลเซียส และเติมส่วนผสมเพิ่ม เช่น อลูมิเนียมบริสุทธิ แมกนีเซียม และซิลิคอน เพื่อให้ได้คุณสมบัติของอลูมิเนียมที่เหมาะสม โดยใช้วัสดุรีไซเคิล 70%
  • ขั้นตอนที่ 8 หล่อขึ้นรูปเป็นแท่ง (Slab Casting) และขัดให้ผิวเรียบ (Scraping) ทำให้เนียนสม่ำเสมอ
  • ขั้นตอนที่ 9 เพิ่มความร้อนลงไปอีกเพื่อรีดเป็นแผ่นบาง ๆ และม้วนให้เป็นม้วนอลูมิเนียม (Aluminium Coil) ด้วยเครื่อง Rolling Machine 4 ที่สามารถรีดแท่งอลูมิเนียมหนัก 30 ตันและหนาประมาณ 50 มิลลิเมตรให้บางเหลือเพียง 50 มิลลิเมตรได้ ส่วนม้วน Aluminium Coil ที่มีความยาว 20 กิโลเมตร สามารถนำไปผลิตกระป๋องใหม่ได้มากถึง 1,250,000 ใบเลยทีเดียว เสร็จแล้วก็เคลือบผิวเพื่อขจัดคราบไขมันและทำให้ผิวกระป๋องทนต่อการสึกกร่อน
  • ขั้นตอนที่ 10 ส่งต่อให้โรงงานผลิตกระป๋อง เช่น ตัวกระป่อง ฝา และห่วงดึง ให้กลายเป็นกระป๋องใบใหม่

ต้องบอกก่อนเลยว่า เทคโนโลยีนี้ เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงของ UACJ โรงงานที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสุดยอดในการผลิตวัตถุดิบอลูมิเนียม ซึ่งประเทศไทยของเราเป็นเพียงประเทศเดียวในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการนำกระป๋องอลูมิเนียมมารีไซเคิลใช้งานได้ใหม่ และเป็นหนึ่งในประเทศในเอเชีย นอกจากญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ที่มีการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้

ดังนั้น ใครที่อ่านบทความนี้จบแล้ว ผู้เขียนก็ขอความร่วมมือให้ก่อนทิ้งกระป๋องอย่าลืมนึกถึงการรีไซเคิลนี้ และหมั่นเก็บล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง และบีบให้แบนก่อนนำไปทิ้งถังขยะรีไซเคิล หรือส่งโดยตรงไปยัง Thai Beverage หรือแม้กระทั่งส่งตาให้ซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่าก็สามารถทำแบบนี้ได้เหมือนกัน แถมอาจได้ราคาดีด้วย มาช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันนะ

ที่มาข้อมูล

aluminiumloop

Thai Beverage Recycle

related