NASA เปิดเผยภาพถ่ายจากยาน "มาร์ส รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter) แสดงให้เห็นพื้นผิวดาวอังคาร โดยพบมีร่องรอยเป็นลักษณะคล้ายรูปหน้าหมี มีลักษณะเป็นหัวรูปทรงวงกลม
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ นาซา NASA เปิดเผยภาพถ่ายจากยาน "มาร์ส รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter) แสดงให้เห็นพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่ง ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดเป็นลำดับที่ 2 ของระบบสุริยะ โดยพบมีร่องรอยเป็นลักษณะคล้ายรูปหน้าหมี มีลักษณะเป็นหัวรูปทรงวงกลม ที่คาดว่าเป็นพื้นผิวแตกหัก อาจเกิดจากการตกตะกอนของลาวาหรือโคลน เหนือหลุมอุกกาบาตที่ฝังอยู่
ขณะที่ ด้านในมีส่วนที่เป็นปากปล่องดูคล้ายตา และมีเนินเขาที่ยุบตัวเป็นโครงสร้างพื้นผิวรูปทรงตัว V ที่ดูคล้ายปากและจมูกของหมี โดยภาพนี้ถ่ายไว้ได้เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จากกล้องความละเอียดสูง (High Resolution Imaging Experiment) หรือ HiRISE
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ที่เรียกว่า "แพริโดเลีย" (Pareidolia) เพราะ สมองของมนุษย์ค้นหาภาพในความทรงจำที่ใกล้เคียงที่สุดมาอธิบายการมองเห็นรูปทรงต่างๆ ที่เราไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรว่ามันคืออะไร ทำให้ สิ่งที่เราเห็นจากดาวอังคารนั้น มีรูป คล้ายหมี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ยานโคจรรอบดาวอังคาร "มาร์ส รีคอนเนสเซนซ์ ออร์บิเตอร์" เข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคาร ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2549 โดยโคจรครบ 1 รอบทุก 112 นาที ที่ระยะความสูงจากระดับพื้นผิวบริเวณขั้วใต้ 255 กิโลเมตร และขั้วเหนือ 320 กิโลเมตร ขณะที่กล้อง HiRISE อันทรงพลังก็ได้ทำการบันทึกภาพรายละเอียดต่างๆ บนพื้นผิวดาวอังคาร โดยสามารถถ่ายออกมาได้ชัดเจน แม้วัตถุหรือพื้นผิวจะมีขนาดรายละเอียดเล็กๆเพียง 1 เมตร.
สำหรับ ดาวอังคารนั้น แม้นักวิทยาศาสตร์ จะยังค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารไม่พบ แต่ข้อมูลใหม่ ๆ จากการสำรวจทำให้พวกเขาเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า อย่างน้อยในอดีตหลายพันล้านปีก่อน จะต้องเคยมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้แน่ แต่พวกมันอาจมีพฤติกรรมทำลายตัวเองจนต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด
ภายในช่วงทศวรรษหน้า มนุษย์อาจได้มีโอกาสไปเหยียบดาวอังคารและทำการสำรวจหาร่องรอยสิ่งมีชีวิตโบราณได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์ว่าสมมติฐานข้างต้นเป็นความจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการพบร่องรอยของมีเทนบนดาวอังคาร ซึ่งเชื่อว่าอาจเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตแล้ว
ดร. บอริส ซอเทอรีย์ ผู้นำทีมวิจัยจากสถาบัน IBENS ของฝรั่งเศส กล่าวสรุปว่า “องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ให้กำเนิดชีวิต สามารถพบได้ทั่วไปในจักรวาล จึงมีความเป็นไปได้ว่าสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นอยู่เสมอในดวงดาวทั้งหลาย แต่หากสิ่งมีชีวิตนั้นไม่สามารถรักษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตเอาไว้ได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว”
ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ มีผู้เสนอให้ดึงคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักเก็บไว้ในชั้นน้ำแข็งและใต้พื้นผิวดาวอังคารขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกแบบเดียวกับที่โลกเป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะทำให้ดาวอังคารมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ภายหลังผลวิจัยของนาซากลับพบว่า ดาวอังคารมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เพียงพอที่จะใช้เปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศของมันเอง ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีของมนุษย์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถจะทำเรื่องดังกล่าวได้