จากกรณี เหตุระเบิดและเพลิงไหม้เรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ กรณีนี้ ย่อมมี มลพิษทางอากาศ ในรัศมีบริเวณนั้น และอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้คนละแวกนั้นด้วย มาดูกันว่า มีวิธีการอย่างไรบ้างในการป้องกัน และ บรรเทาอากาศ หากต้องเจอพิษร้ายจากมลพิษทางอากาศแบบนี้
จากกรณี เหตุระเบิดและเพลิงไหม้เรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ จอดซ่อมอยู่ยังไม่ทราบสาเหตุ ในเขตพื้นที่ อบต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ในช่วงเวลา 09.00 น. วันนี้ (17 ม.ค. 66) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล อย่างไรก็ตาม จากเหตุครั้งนี้ ที่แน่นอนคือก็คือ อาจจะมีมลพิษทางอากาศในรัศมีบริเวณนั้น และอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้คนละแวกนั้น
สำหรับ เหตุระเบิดและไฟไหม้เรือบรรทุกน้ำมัน นั้น เกิดขึ้นกับเรือ ชื่อ สมุธซี 22 ซึ่งมีน้ำมันดีเซลตกค้างจากการเดินเรือ จอดซ่อมบำรุงภายในอู่ต่อเรือ บริษัท รวมมิตรด็อคยาร์ด จำกัด ในพื้นที่ ม.8 ต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเหตุให้มีผูบาดเจ็บหลายสิบราย โดยเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเร่งฉีดน้ำสกัดเพลิง แต่เพลิงยังปะทุอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แรงระเบิดยังทำให้บ้านที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหาย ขณะที่้เสียงระเบิดดังไกลไปในรัศมีหลายสิบกิโมงเมตร
ภาพวินาทีระเบิด ด่วน! เรือบรรทุกน้ำมันระเบิด ไฟลุก มีคนเจ็บ เมืองแม่กลอง @EasternFire2016 @Traffic_1197 @fm91trafficpro @js100radio pic.twitter.com/Dx65hr3btd
— ชมรมอาสาสมัครดับเพลิงภาคตะวันออก (@EasternFire2016) January 17, 2023
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากเหตุเรือบรรทุกน้ำมันระเบิด
การที่ น้ำมันระเบิดและมีการเผาไหม้นั้น จะมีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ควันดำ เขม่าฝุ่นขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอน สารเบนซิน โทลูอีน และไซลีน
สารมลพิษทางอากาศที่ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ มีก๊าซต่างๆ อาทิ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมด ล้วนมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองผิวหนัง
วิธีการป้องกัน เมื่อต้องอยู่ใกล้ บริเวณไฟไหม้น้ำมัน
โดย เว็บไซต์ พบแพทย์ pobpad.com ได้ระบุว่า หากเกิดเหตุไฟไหม้น้ำมัน ในบริเวณใกล้เคียง ต้องขอให้ประชาชน สวมหน้ากาก ใช้ผ้าชุบน้ำปิดหน้า-จมูกป้องกัน เพื่อป้องกันตัวเองจากพิษควันให้มากที่สุด เพราะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาพบว่ามลพิษทางอากาศส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายประการ เช่น โรคเกี่ยวระบบทางเดินหายใจอย่างหอบหืดหรือความผิดปกติในการทำงานของปอด โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด การคลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่การเสียชีวิต นอกจากนี้ ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศภายนอกยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย
บรรเทาอาการจากมลพิษทางอากาศอย่างไร ?
มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อร่างกายและอาจทำให้เกิดอาการไอ จาม เจ็บ คัดจมูก และน้ำมูกไหล ซึ่งในเบื้องต้น อาจบรรเทาได้ด้วยวิธีดัง ต่อไปนี้
กลั้วคอและล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
น้ำเกลือทางการแพทย์มีฤทธิ์ทำความสะอาด และให้ความชุ่มชื้นกับเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกและลำคอ ซึ่งช่วยชะล้างสารก่อการระคายเคืองที่อยู่ในจมูกและลำคอและลดอาการระคายเคืองได้ หากมีอาการระคายคอ มีน้ำมูก หรือคัดจมูก อาจใช้วิธีนี้บรรเทาเบื้องต้นได้
ใช้ยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เป็นยาที่ช่วยลดการยับยั้งการหลั่งของสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ เมื่อร่างกายได้รับสารก่ออาการแพ้ อย่างฝุ่น ควัน หรือสารเคมี
ใช้ยาลดน้ำมูก
ยาลดน้ำมูก (Decongestants) อาจช่วยบรรเทาอาการมีน้ำมูกและลดอาการบวมของเนื้อเยื่อในโพรงจมูกที่เป็นสาเหตุของอาการคัดจมูกได้ ยาลดน้ำมูกมีทั้งแบบเม็ดและแบบสเปรย์พ่นจมูก
ใช้ยาแก้ไอ
การสูดดมมลพิษต่อเนื่องกัน อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองภายในระบบทางเดินหายใจจนทำให้เกิดอาการไอ โดยในเบื้องต้นอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยากดอาการไอ (Antitussive) หากมีอาการไอไม่มีเสมหะที่เกิดจากการระคายเคืองทั่วไป
นอกจากนี้ การระคายเคืองภายในลำคออาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการติดเชื้อและทำให้มีเสมหะร่วมกับอาการไอด้วย จึงอาจเลือกใช้ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) อย่างยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) 2.25 กรัมต่อวัน ยาบรอมเฮกซีน (Bromhexine) ครั้งละ 8-16 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ยาเอ็นอะซิทิลซิสเทอิน (N-Acetyl-Cystein) หรือ NAC 600 มิลลิกรัมต่อวัน ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความข้นเหนียวของเสมหะและช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น แต่ปริมาณดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย ทั้งนี้ ยังมียาขับเสมหะ (Expectorants) ที่ช่วยขับเสมหะได้เช่นกัน
ในปัจจุบันยาแก้ไอมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะแบบเม็ด แบบน้ำ รวมไปถึงแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ ซึ่งยาชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำอาจช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมตัวยาได้ง่ายและนำไปใช้ได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดขนาดใหญ่หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการดูดซึมได้
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากยาแต่ละชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในการใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการระคายคอหรือเจ็บคอที่ไม่รุนแรงก็สามารถใช้สเปรย์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร อย่างดอกคาโมไมล์ ยูคาลิปตัส มะกรูด หรือเปปเปอร์มิ้นต์ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือระคายเคืองภายในคอ ซึ่งอาจช่วยให้การทำงานหรือการทำกิจกรรมระหว่างวันดำเนินได้อย่างราบรื่น สเปรย์พ่นคอมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ผู้ที่มีข้อสงสัยควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้งานเสมอ