'อ.อ๊อด' วีรชัย พุทธวงศ์ และ ยืนยันต้นหอมสีฟ้า ที่โด่งดังในโลกออนไลน์ ไม่ใช่การย้อมสี แต่เป็นสีจากสารกำจัดเชื้อรา ชื่อว่า แมนโคเซบ หากล้างให้สะอาด กินได้ปกติ แต่ก็ถือว่าต้อง "สิ้นเปลือง" ทรัพยากรมากขึ้นต่อกรณีนี้
กลายเป็นประเด็นไวรัลในโลกออนไลน์ ในทุกๆแพลตฟอร์ม เมื่อ มีคลิป ชายคนหนึ่งใช้ มือลูบมัดต้นหอมในแผงค้าผักภายในตลาดแห่งหนึ่ง พร้อมผายมือโชว์ให้ดูว่ามีสีฟ้าติดมือมาด้วย ในคลิปยังระบุด้วยว่า ขอให้ผู้บริโภคระวังการกินด้วย ต้นหอมมัดละ 30 บาท เป็นต้นหอมสายพันธุ์ใหม่ผสมสีมาด้วย ลูบแล้วมีสีฟ้าติดมา มันคือสารอะไร เกิดอะไรขึ้นกับต้นหอม การล้างผักให้สะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภคควรทำอย่างไร
@kot_4d ฝากถึงผู้บริโภคด้วยนะครับ💀💀💀💀💀#มาเป็นเพื่อนกันเถอะ #ติดตามมาติดตามกลับ #คนบึงกาฬเด้อ🤣 #ตลาดสี่มุมเมืองรังสิต ♬ เสียงต้นฉบับ - kot_4d
อย่างไรก็ตาม เรื่อง ต้นหอมสีฟ้า นั้นมีคำตอบแล้ว โดย อาจารย์อ๊อด รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ประธานหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลต่อคลิปไวรัลในโลกออนนไลน์ดังกล่าว ว่าเป็นสีจาก แมนโคเซบ ซึ่งเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยในรายละเอียดนั้น สารแมนโคเซบ มีสีเหลือง ฟ้า เขียว แล้วแต่ละยี่ห้อ และแหล่งผลิต เป็นสารชนิดที่สัมผัสภายนอก ตกค้างนาน 7-14 วัน สามารถล้างให้สะอาด โดยแช่น้ำเกลือ ด่างทับทิม หรือเบกกิงโซดา ก็กินได้ตามปกติ นั่นหมายความว่า หากผู้บริโภคเลือกซื้อผักที่มีสาร แมนโคเซบ ติดมา ก็จะต้อง "สิ้นเปลือง" ทรัพยากรน้ำมากขึ้น ในการล้างสาร แมนโคเซบ ให้สะอาด ก่อนที่จะบริโภคได้อย่างปลอดภัย
ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ให้ความเห็นว่า สีฟ้าพวกนี้เป็นสารเคมีทางการเกษตร เช่น สารป้องกันเชื้อรา ที่เขาใช้ฉีดพ่นบนพืชผักอย่างต้นหอม ซึ่งแม้จะไม่ค่อยมีความเป็นพิษ แต่ก็ควรจะล้างออกให้มากๆ
แนวทางแก้ไข ต้นหอมสีฟ้า
หากจะมองในมุมมอง Keep The World แล้ว เกษตรกรที่ปลูกพืชผัก แล้วใช้ แมนโคเซบ ในการป้องกันเชื้อรานั้น อาจจะหาวิธีแก้ไข ด้วยการ จัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) ซึ่งแนวทางนี้ จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม ถือว่า เป็นการลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดระดับปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ