อีกกรณีตัวอย่างที่ต้องมาให้ความรู้เกี่ยวกับปะการังอีกครั้ง หลังเพจ ขยะมรสุมออกมาร้องเรียนกรมอุทยานฯ ว่ามีเรือนำเที่ยวพาลูกทัวร์ไปดำน้ำ จนปะการังเสียหาย วอนตรวจสอบ
เป็นอีกกรณีที่ควรได้รับการประชาสัมพันธ์อีกครั้งเกี่ยวกับความสำคัญของปะการัง โดนเฉพาะในประเทศไทย เพราะเมื่อไม่นานมานี้ เพจ ขยะมรสุม ᴍᴏɴsᴏᴏɴɢᴀʀʙᴀɢᴇ ᴛʜᴀɪʟᴀɴᴅ ได้โพสต์ร้องเรียนกลุ่มอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ว่ามีกรุ๊ปทัวร์ของบริษัทแห่งหนึ่งนำกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาดำน้ำชมปะการังและทำปะการังเสียหายในเขตอุทยาน รวมถึงมีเรือใบส่วนตัวที่สามารถระบุเลขเรือได้เข้าไปจอดในพื้นที่อุทยานและชนปะการังจนเสียหายเช่นเดียวกัน
ดังนั้น เรามาลองดูทั้ง 2 กรณีนี้กันหน่อยดีกว่า ว่าผิดกฎหมายอย่างไรบ้าง สปริงนิวส์ได้โทรไปสัมภาษณ์ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับข้อกฎหมายลงโทษกรณีคุกคามปะการังในเขตอุทยาน ประกอบข้อมูลจากกรมอุทยานทางทะเลและชายฝั่ง ได้ข้อมูลดังนี้
ปะการัง เป็นสัตว์คุ้มครองของไทย
สำหรับปะการังในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง กล่าวคือ ปะการังมีกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครอง ซึ่งมีหลายฉบับ ครอบคลุมการคุ้มครองตั้งแต่ตัวปะการังไปจนถึงซากปะการัง ดังนั้น เราต้องปฏิบัติต่อปะการังให้เหมือนกับสัตว์ตัวหนึ่ง โดยกฎหมายคุ้มครองปะการังที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
- พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง พ.ศ.2482
ดังนั้น กรณีของการท่องเที่ยวและคุกคามปะการังข้างต้น จึงผิดกฎหมายบางประการที่กล่าวไป โดยข้อห้ามเกี่ยวกับปะการังคือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เพจดังเผยภาพ ปะการังพังยับ เขตอุทยานหมู่เกาะพีพี คาดจากเรือท่องเที่ยว
สัตหีบ-แสมสาร น่าห่วง โรคแถบสีเหลือง ระบาด ปะการัง เสียหายหนัก เร่งคัดแยกออก
Deep Learning หนุนอาสาสมัครทั่วโลก ช่วยปกป้อง แนวปะการังใหญ่ที่สุดของโลก
ยูเนสโก ชี้ Great Barrier Reef ของออสเตรเลียถูกฟอกขาวจนเสี่ยงอันตราย
บทลงโทษของผู้ที่ฝ่าฝืน
กรณีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวดำน้ำพร้อมกับเรือของบริษัทนำเที่ยว ไกด์ไม่ชี้แจงหรือแจ้งข้อห้ามให้แก่นักท่องเที่ยวก่อนลงดำน้ำและนักท่องเที่ยวที่ลงไปดำน้ำชมปะการังแล้วทำปะการังแตกหักเสียหายหรือหยิบกลับไป ล้วนมีโทษทางกฎหมายทั้งสิ้น
*หากผู้แจ้งสามารถระบุตัวนักท่องเที่ยวได้และระบุบริษัทนำทัวร์ได้
หากเป็นกรณีของเรือส่วนบุคคลที่ออกเรือเองและลงสมอจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง ไม่ว่าจะในเขตอุทยานหรือนอกอุทยาน ก็มีความผิดทั้งสิ้น กรมอุทยานสามารถส่งต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาต่อไปเช่นเดียวกับบริษัทนำเที่ยวเหมือนกัน
ดังนั้น ไม่ว่าความผิดจะเกิดนอกเขตอุทยานหรือในเขตอุทยานล้วนมีความผิดทั้งสิ้น และประชาชนคนไทยสามารถร่วมกันเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ได้ผ่านสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362
ความสำคัญของปะการังต่อระบบนิเวศ
ปะการัง เปรียบเสมือนสัตว์ชนิดหนึ่งของท้องทะเล โดยเฉพาะในเขตน้ำตื้นที่แสงส่องถึง ปะการัง คือ แนวหินปูนใต้ทะเล เป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายชนิด อีกทั้งยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ช่วยนำหินปูนมาพอกพุนสะสมจนทำให้เกิดแนวปะการังขนาดใหญ่ เช่น สาหร่ายหินปูน หอยที่มีเปลือกแข็ง ฯลฯ ด้วยโครงสร้างของมันทำให้มันอยู่ทนในคลื่นใต้น้ำได้ แต่ไม่ทนต่อน้ำหนักของมนุษย์ได้
แนวปะการัง แม้จะมีความซับซ้อนแต่ก็เป็นเสมือนเมืองใต้น้ำและบ้านสำหรับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลนานาชนิด เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ กุ้ง หอย ดาวทะเล ปลิงทะเล ฟองน้ำ ปะการังอ่อน กัลปังหา หนอนทะเล สาหร่ายทะเล เป็นต้น และเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลกใต้ทะเล
ความสำคัญของปะการังไม่เพียงแค่เป็นล้านให้กับสัตว์น้ำได้อาศัยเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งอาหารให้กับสัตว์ เป็นแนวปกป้องชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่นและกระแสน้ำ และเป็นแหล่งกำเนิดเม็ดทรายที่เรา ๆ ใช้เดินใช้วิ่งกันอยู่ทุกวันนี้ รวมไปถึงช่วยสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวของประเทศด้วย
ประเทศไทยมีพื้นที่แนวปะการังทั้งสิ้น 149,182 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่ชายฝั่ง 17 จังหวัด จากการสำรวจแนวปะการังในประเทศไทยของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบปะการัง 273 ชนิด จาก 18 วงศ์ 71 สกุล ส่วนใหญ่เป็นแนวปะการังที่ก่อตัวริมชายฝั่งของเกาะหรือตามชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ (fringing reef) นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังชายฝั่งบางส่วน และแนวปะการังบริเวณกองหินใต้น้ำโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ห่างไกลจากฝั่งและน้ำลึก ๆ ที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจ
แต่ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาว และเกิดการเสื่อมโทรมจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ทำให้เกิดปรากฎการปะการังฟอกขาวที่กระจายตัวเป็นวงกว้าง ส่งผลโดยตรงกับสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำทั้งหมด ดังนั้น ท่องเที่ยวกันด้วยความเคารพธรรมชาติ อย่าหยิบ จับ ล่า หรือขาย สัตว์น้ำและปะการัง เพื่อคงระบบนิเวศให้สมบูรณ์ต่อไป
ที่มาข้อมูล
tis-museum